หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

วิพากษ์ประวัติศาสตร์ "แบบไทยๆ”


แต่ “ประวัติศาสตร์ไทย” นั้นมักจะเป็นประวัติศาสตร์ที่ถูกตัดตอน คือเอามานำเสนอแค่ด้านเดียว เป็นประวัติศาสตร์แบบ “ราชาชาตินิยม” ศูนย์กลางเรื่องอยู่ที่พระมหากษัตริย์ อยู่ที่ชนชั้นปกครอง ไม่เห็นความสำคัญของราษฎร

โดย NTW.

คำว่า “ประวัติศาสตร์” นั้น ถ้าจะกล่าวแล้วก็คือเรื่องราวในอดีต ที่มนุษย์ได้กระทำไว้ จะโดยตั้งใจหรือไม่ มันก็คือ “ประวัติศาสตร์” ข้าพเจ้าเชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านก็คงจะไม่ค่อยชอบวิชาประวัติศาสตร์มากนัก ซึ่งก็เป็นสิทธิของตน แต่ถ้ามองในอีกด้านหนึ่งแล้ว เมื่อไม่รู้อดีต(ประวัติศาสตร์) ย่อมไม่เข้าใจปัจจุบัน และความเป็นไปของอนาคต การเรียนรู้ประวัติศาสตร์นั้นจะทำให้เราเข้าใจในความดำรงอยู่ของสังคม ปัจจุบัน ปัญหาต่างๆ และเมื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยกระบวนวิธีทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีเหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์แล้วก็จะ คาดคะเนอนาคตที่จะเกิดขึ้นได้ ว่าเป็นเช่นไร? อย่างไร?

แต่ “ประวัติศาสตร์ไทย” นั้นมักจะเป็นประวัติศาสตร์ที่ถูกตัดตอน คือเอามานำเสนอแค่ด้านเดียว เป็นประวัติศาสตร์แบบ “ราชาชาตินิยม” ศูนย์กลางเรื่องอยู่ที่พระมหากษัตริย์ อยู่ที่ชนชั้นปกครอง ไม่เห็นความสำคัญของราษฎร ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม นี้ให้ข้อมูลแต่ด้านเดียว ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมนั้น มักจะได้รับการเอาใจใส่จากชนชั้นปกครอง ให้เรียนรู้ประวัติศาสตร์เช่นเรื่อง เสียดินแดน ๑๔ครั้ง, เขาพระวิหารเป็นของไทย อะไรประมาณนี้ หรือแม้กระทั่งเนื้อเพลงชาติที่ร้องกันทุกวันนี้ ถ้าตั้งคำถามแล้วจะโดนหาว่าเป็นคนไทยหรือเปล่า? ประวัติศาสตร์แบบนี้นั้นมักจะสอนให้ซาบซึ้งและ “กล่อมประสาท” ไปวันๆ กล่อมประสาทจนไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น

“ในขณะที่เราเรียกร้องให้ระบบการศึกษาผลิตคนที่คิดเป็น เรากลับเรียกร้องให้เยาวชนเสพประวัติศาสตร์เป็นยากล่อมประสาทหนักเข้าไปอีก” (ธงชัย วินิจจะกูล)

การเรียนประวัติศาสตร์ไทยตอนนี้ นั้นเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่เป็น “หลักวิทยาศาสตร์” สอนให้ท่องจำอย่างเดียว และบิดเบือนสัจจะอย่างรุนแรงในสายสำนักพวกอนุรักษ์นิยม ที่เข้ามาครอบงำความรู้ในด้านนี้ ประวัติศาสตร์ไทยแบบ “ราชาชาตินิยม” นั้นสมควรจะถูกตั้งคำถาม และวิพากษ์วิจารณ์ได้ นี้ไม่ได้ขัดต่อกรอบคิด “ศีลธรรมอันดีงามของไทย” แต่อย่างใด ในเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์

“ถ้าประกาศปวารณาตนเป็นพุทธศาสนิกชน และไม่สามารถยอมรับวัฒนธรรมวิพากษ์วิจารณ์และการตั้งคำถามได้แล้ว ถือว่านับถือมายา เดรัจฉานวิชชา มิจฉาทิฐิ หาเป็นพุทธศาสนิกชนไม่” (ตามทัศนะข้าพเจ้า)

ศาสนาพุทธนั้น ผู้คนมักอ้างว่าเป็นศาสนาแห่งเหตุ-ผล แล้วถ้ามิอาจวิพากษ์วิจารณ์ได้แล้ว สังคมไทยที่อ้างว่าเป็นพุทธนั้น ก็มิใช่พุทธ(หรืออาจเป็น พุทธแบบไทยๆ)แต่เป็นมิจฉาทิฐิ(ความเห็นที่ผิด)” และก็ยังทำให้พระบรมศาสดาที่ตัวเองยกย่องนับถือนักหนาแปดเปื้อนหรือไม่จริง?

“ประวัติศาสตร์แบบที่ 'ไม่ต้องคิด' เป็นส่วนหนึ่งของจารีตประเพณีอันดีงามของไทยประวัติศาสตร์ที่บอกว่า 'รัฐก่ออาชญากรรม' 'ความรักชาติ ศาสน์กษัตริย์' ทำให้คนบ้าคลั่งเสียสติเหมือนคนเสพยาบ้า แล้วฆ่าคนอื่นได้อย่างทารุณ(ดูภาพเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙) (ธงชัย วินิจจะกูล)

สุดท้ายแล้ว ขอฝากข้อความจากปัญญาชน ๓ ท่าน เพื่อสะท้อนสังคมในปัจจุบันได้ดี และเตือนใจให้พวกอนุรักษ์นิยมเลิก “คลั่งชาติ” มานิยม “มนุษยชาติ” แทนจะดีกว่าไหม?
 
“สิ่งใดบังคับให้เทิดทูนสักการะ สิ่งใดลวงให้ซาบซึ้งน้ำตาไหล สิ่งใดถูกตั้งคำถามและตรวจสอบมิได้ สิ่งนั้นคือมายา-อวิชชา-มิจฉาทิฐิ” (มุกหอม วงษ์เทศ)
  
“การ ศึกษาประวัติศาสตร์ตามจารีตของไทยไม่ได้มีไว้เพื่อยกระดับการคิดการใช้สมอง ของประชากร ไม่ได้มุ่งหมายผลิตปัจเจกชนที่อิสระ หัวแข็ง ไม่ยอมเชื่ออะไรง่ายๆ”  (ธงชัย วินิจจะกูล)
 
“ก็มนุษย์นั้น ถ้าไม่มั่นในสัจจะ และไม่มุ่งในความยุติธรรมเสียแล้ว อาจเลวกว่าเดรัจฉานก็ได้ มิใช่หรือ” (สุลักษณ์ ศิวรักษ์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น