หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ครบรอบ 35 ปี 6 ตุลา 2519
ผ่านไป 35 ปีแล้ว คนฆ่าผู้บริสุทธิ์ในเหตุการณ์วันนั้นยังเสวยสุขอยู่เลยค่ะบ้านนี้เมืองนี้


รูปภาพ

นี่คือภาพที่อดีตช่างภาพหนังสือพิมพ์ผู้หนึ่งในสมัยนั้นนำมาโพสต์ลงพร้อม
กับเล่าว่า... นี่คือภาพที่ติดตามาจนทุกวันนี้ เพราะเพียงไม่กี่วินาทีของภาพนี้
เขาและเธอสองคนนี้ก็ถูกรุมทุบตีจนสมองเละอยู่ตรงหน้าหอประชุมใหญ่นั่นเอง
...............................................................

บางประโยคและบางข้อความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม

“จำเป็นต้องใช้ระเบิด เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตยให้คงอยู่ในประเทศสืบต่อไป”
(เผด็จ ดวงดี ที่ปรึกษากลุ่มกระทิงแดง. สยามจดหมายเหตุ ปีที่ 1 , 2519 : 152)

“การฆ่าคนเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถือเป็นบุญกุศลเหมือนฆ่าปลาแกงใส่บาตรพระ”
(กิตติวุฒโฑภิกขุ. น.ส.พ.จัตุรัส ปีที่ 2 ฉบับที่ 51 วันที่ 27 มิถุนายน 2519: 28-32 )

“จอมพลถนอมกลับเข้ามาในประเทศครั้งนี้เพื่อเยี่ยมอาการป่วยของบิดา
และไม่มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองอย่างใดเลย....... นักศึกษาอย่าก่อความวุ่นวาย
มิฉะนั้นแล้วอาจจะต้องมีการประหารสักสามหมื่นคน เพื่อให้ชาติบ้านเมืองรอดพ้นจากภัย”
(การออกอากาศของสถานีวิทยุยานเกราะ. ประชาชาติ. 20 กันยายน 2519 : 1)

“ขณะนี้มีกลุ่มคนก่อความไม่สงบ ได้ดำเนินการไปในทางที่จะทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ในกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้ มีการนำธงชาติคลุมตัวละครแสดงเป็นคนตายที่ข้างถนนหน้ารัฐสภา
มีการใช้สื่อมวลชนที่มีแนวโน้มเอียงเช่นเดียวกับผู้ก่อความไม่สงบ ลงบทความ หรือเขียนข่าว
ไปในทำนองที่จะทำให้เกิดช่องว่างในบวรพุทธศาสนา มีนักศึกษาผู้หนึ่งทำเป็นผู้ถูกแขวนคอ
โดยผู้ก่อความไม่สงบที่มีใบหน้าคล้ายกับพระราชวงศ์ชั้นสูงองค์หนึ่ง พยายามแต่งใบหน้าเพิ่มเติมให้เหมือน”

“ชมรมวิทยุเสรีคัดค้านการกระทำดังกล่าวในทุกๆ กรณี ขอให้รัฐบาลจัดการกับผู้ทรยศเหล่านี้โดยเร็วที่สุด
เพื่อป้องกันการนองเลือดอันอาจจะเกิดขึ้น หากให้ประชาชนชุมนุมกันแล้วอาจมีการนองเลือดขึ้นก็ได้”
(ชมรมวิทยุเสรี. แถลงการณ์ สถานีวิทยุยานเกราะ 5 ตุลาคม 2519 : เวลาประมาณ 20.35 น.)

“พี่ ๆ ตำรวจครับ กรุณาหยุดยิงเถิดครับ เราชุมนุมกันอย่างสันติ เราไม่มีอาวุธ ตัวแทนของเรา
กำลังเจรจาอยู่กับรัฐบาล อย่าให้เสียเลือดเนื้อไปมากกว่านี้เลย กรุณาหยุดยิงเถิดครับ”

ผมจำได้ว่าตัวเองพร่ำพูดอย่างนี้นับร้อยครั้งในเช้าวันพุธ (วันที่ 6 ตุลาคม 2519-ผู้เขียน) นั้น
ผมพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อที่สมองจะได้ไม่ต้องคิด รู้แต่เพียงว่าต้องมีเสียงจากเวทีให้นานที่สุด
ไม่ต้องคิดอะไรไปมากกว่านั้น และเอาเข้าจริง ผมก็ไม่สามารถคิดอะไรได้มากกว่านั้น
(ธงชัย วินิจจะกูล, สารคดี ปีที่ 12 ฉบับที่ 140 เดือนตุลาคม 2539)


“ตำรวจได้ใช้ปืนกล ลูกระเบิดมือ ปืนไร้แรงสะท้อน ระดมยิงนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
นักศึกษาหลายคนถูกจับตัวและถูกราดน้ำมันเบนซินแล้วจุดไฟเผา คนอื่นๆ บ้างก็ถูกซ้อม
บ้างก็ถูกยิงตาย “ผู้อยู่ในธรรมศาสตร์ขอร้องให้ตำรวจหยุดยิง ตำรวจก็ไม่หยุด
ขอให้หยุดชั่วคราวเพื่อให้ผู้หญิงที่อยู่ในมหาวิทยาลัยมีโอกาสหนีออกไป ตำรวจก็ไม่ฟัง”
(สำนักข่าวอินเตอร์นิวส์ ผู้พิมพ์วารสารอินเตอร์เนชั่นแนล บุลเลทิน)

“หน่วยปราบปรามพิเศษต่างก็กราดปืนกลใส่ตัวอาคารและส่วนอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย
พวกแม่นปืนที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษใช้ปืนไรเฟิลแรงสูงยิงเก็บเป็นรายตัว
ตำรวจพลร่มกลุ่มหนึ่งสวมหมวกเบเร่ต์ดำ เสื้อแจ๊คเก็ตดำคลุมทับชุดพรางตาสีเขียว
ได้ยิงไปที่อาคารต่างๆ ด้วยปืนไร้แรงสะท้อนยาว 8 ฟุต ซึ่งปกติเป็นอาวุธต่อสู้รถถัง
ส่วนตำรวจคนอื่นๆ ก็ยิงลูกระเบิดจากเครื่องยิงประทับไหล่ ไม่มีเวลาใดเลยที่ตำรวจ
จะพยายามให้นักศึกษาออกมาจากที่ซ่อนด้วยแก๊สน้ำตา หรือเครื่องควบคุมฝูงชน
แบบมาตรฐานอื่นๆ” ช่างภาพตะวันตกคนหนึ่งที่ชาญสนามมา 4 ปีในสงครามเวียดนามกล่าวว่า
“พวกตำรวจกระหายเลือด มันเป็นการยิงที่เลวร้ายที่สุดที่ข้าพเจ้าเคยเห็นมา”
(เลวิส เอ็ม ไซมอนส์ รายงานในหนังสือพิมพ์ ซานฟรานซิสโก ครอนิเกิล, วันที่ 7 ตุลาคม 2519)

“ด้วยความชำนาญในการสื่อข่าวการรบในอินโดจีนแล้ว ข้าพเจ้าสามารถบอกได้ว่าเสียงปืนที่ได้ยินนั้น
90% ยิงไปในทิศทางเดียวกัน คือยิงใส่นักศึกษา บางครั้งจึงจะมีกระสุนปืนยิงตอบมาสักนัดหนึ่ง
(นีล ยูลิวิค ผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่อยู่ในเหตุการณ์รายงานในหนังสือพิมพ์ เดอะ รียิสเตอร์,
วันที่ 8 ตุลาคม 2519)

“ได้มีกลุ่มบุคคลซึ่งประกอบด้วยนิสิตนักศึกษาบางกลุ่มได้ทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
อันเป็นการเหยียบย่ำจิตใจคนไทยทั้งชาติ โดยเจตจำนงทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการคอมมิวนิสต์ ที่จะเข้ายึดครองประเทศไทย เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุม
ก็ต่อสู้ด้วยอาวุธอันร้ายแรงที่ใช้ในราชการสงคราม โดยร่วมมือกับผู้ก่อการร้ายชาวเวียดนาม
ต่อสู้เจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย ประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก”

(แถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 1 วันที่ 6 ตุลาคม 2519)

“ข้าพเจ้าตั้งคำถามกับเพื่อนคนหนึ่ง (ที่ถูกจับกุมจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ในคืนวันที่ 6 ตุลาคม-ผู้เขียน)
ว่า รู้สึกเสียใจไหมที่มาติดคุกโดยไม่รู้อนาคตแบบนี้ เขาตอบข้าพเจ้าว่า ไม่เลย ,
ทำไมผมจะต้องเสียใจด้วย ในเมื่อพวกเราไม่ได้ทำผิดอะไร ผมควรจะดีใจเสียอีก
ในวันนี้จะต้องได้รับผลตอบแทนที่ดีงามแน่นอน สักวันหนึ่งในอนาคตข้างหน้า
ลูกหลานจะได้เติบขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่สวยสดงดงาม พวกเขาจะไม่ต้องถูกบังคับให้เข้าสู่
สนามของการแข่งขันชิงดีชิงเด่นเพื่อเอาตัวเองรอด โดยการเหยียบผู้อื่นลงไป
พวกเขาจะไม่ต้องเติบโตขึ้นมา เพื่อเผชิญหน้ากับความอดอยากยากจน ความหิวโหย
และการถูกทอดทิ้ง พวกเขาจะมีชีวิตที่ดีกว่า”

(สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. “มหาวิทยาลัยของฉัน”, มหาวิทยาลัยของฉัน, องค์การนักศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539 : 66-67)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น