หน้าเว็บ

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สำนึกรัฐบาลอียิปต์ สะท้อนสำนึก(บาง)รัฐบาลไทย

แม้การลาออกของ คณะรัฐบาลอียิปต์ ที่นำโดย นายอัสซาม ซาราฟ นายกรัฐมนตรีอียิปต์ จะมีขึ้นหลังการชุมนุมใหญ่อีกครั้ง ของประชาชนชาวอียิปต์
 
เป็นการลาออกหลังมีกลุ่มผู้ชุมนุมเสียชีวิตไปแล้ว 33 คน และยังมีผู้บาดเจ็บอีกนับพันคน
 
ท่ามกลางการประกาศ ของ โมฮัมเมด ฮาเกซี โฆษกรัฐบาล ที่ประกาศถ้อยแถลงดังกล่าว ผ่านสำนักข่าวมีนา ระบุว่า "รัฐบาล ของนายกรัฐมนตรีอัสซาม ชาราฟ ยื่นใบลาออกต่อ (คณะผู้ปกครอง) สภาทหารสูงสุดแล้ว แต่เนื่องด้วยกรณีแวดล้อมอันยากลำบากที่ประเทศกำลังเผชิญ รัฐบาลจะยังคงทำงานต่อไปจนว่าใบลาออกจะได้รับการอนุมัติ"



การตัดสินใจดำเนินการดังกล่าว จะเป็นเพียงแค่การเจาะช่องระบายแรงดันความโกรธแค้นจากประชาชนชาวไอยคุปต์เหล่านี้
 

เพราะยังมีอีกหนึ่งเป้าหมายใหญ่ ที่มีการระบุว่า “สภาทหารสูงสุด” ยังเป็น “เบื้องหลัง” ที่สร้างความไม่พอใจในการปกครองประเทศ เนื่องจากประชาชนยังคงต้องการ “ประชาธิปไตย” ที่ใสสะอาด และอยากให้การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 28 พฤศจิกายน เป็นไปอย่างโปร่งใส ซึ่งถือเป็นศึกเลือกตั้งครั้งแรกนับตั้งแต่การปฏิวัติโค่นล้มประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา....

เพื่อจะหาทางบีบให้ “ชนชั้นปกครอง” ลดช่องว่างความเป็นอยู่ลงมาบ้าง เพราะดินแดนแถบนั้นอุดมไปด้วย “ทองคำสีดำ” ที่เป็นแหล่งสร้างทรัพย์สมบัติให้ชนชั้นผู้ปกครองร่ำรวยกันอย่างล้นเหลือกับธุรกิจน้ำมันที่กวาดเงินจากทั่วโลกเข้าตัวเอง
 
แต่เมื่อประชาชนถูกเอาเปรียบ และถูกกดขี่ จึงทำให้การประท้วงลุกฮือเกิดขึ้น
 
ก็ไม่ต่างไปจากประเทศไทย ที่มีการเมืองบนความแตกต่าง ทั้งความคิด และความเป็นอยู่ กับคนสีหนึ่ง กับฝ่ายหนึ่งที่มีอีกสี





และเมื่อวันหนึ่งมีการชิงความได้เปรียบ ด้วยการ “อุ้ม” กลุ่มการเมืองบางกลุ่ม เพื่อเพิ่มจำนวนนับ ให้เกิดการสลับขั้วในการตั้งรัฐบาลเกิดขึ้น จนทำให้ นายอภิสทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้นั่งเก้าอี้ตัวนี้สมใจ กระทั่งนำไปสู่การชุมนุมเรียกร้องสิทธิ และต่อต้านอำนาจนอกระบบที่เข้ามาแทรกแซง ภายใต้การนำของ กลุ่มแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ในเหตุการณ์ “สงกรานต์เลือด” ในเดือน เม.ย.2552 จนต่อเนื่องไปถึงการชุมนุมใหญ่อีกครั้งของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน เผด็จการแห่งชาติ ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ที่บริเวณแยกราชประสงค์


 


 
และเป็นรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่เข้าบริหารจัดการปัญหามวลชนชุมนุมครั้งนี้ ด้วยการใช้ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. เข้าดำเนินการ ภายใต้การประกาศใช้พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี นั่งแท่นเป็นประธาน ศอฉ. มี พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา อดีตผบ.ทบ. เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบ และมีคนที่โผล่หน้าผ่านโทรทัศน์บ่อยๆ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด เป็นโฆษก ศอฉ.

 
และการสลายการชุมนุมครั้งนั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปถึง 91 ศพมีทั้งนักข่าวช่างภาพจากต่างประเทศ ผู้บาดเจ็บอีกจำนวนมาก

(อ่านต่อ)
http://news.voicetv.co.th/thailand/23954.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น