หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

'ประชาธิปไตยของขอทาน' (?)
 

นักปรัชญาชายขอบ


 
                                สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

กรณีศาลตัดสินจำคุก “อากง” 20 ปี ในความผิด ม.112 เนื่องจากส่งข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และพระราชินีผ่าน SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือของเลขาฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้เกิดการตั้งคำถามอย่างกว้างขวาง เช่น 

1) ทำไมการทำผิดด้วย “คำพูด” หรือ “ข้อความ” จึงต้องติดคุกถึง 20 ปี หากกฎหมายมีไว้เพื่อรักษา “ความยุติธรรม” เราจะอธิบายอย่างไรว่าการทำผิดกับการลงโทษในกรณีดังกล่าวมีความยุติธรรม อย่างไร ไม่ใช่เพียงอธิบายไม่ได้ว่ามันยุติธรรมอย่างไรแก่ผู้ถูกลงโทษเช่นอากงเป็น ต้นเท่านั้น มันยังอธิบายไม่ได้ในทางหลักการว่า การที่รัฐออกกฎหมายให้ลงโทษประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างหนักเกิน ไปเช่นนี้มันยุติธรรมแก่ประชาชนทั้งประเทศอย่างไร และยังอธิบายไม่ได้ด้วยว่าทำไมสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจึงสมควรได้ รับการปกป้องให้ดำรง “สถานะอันศักดิ์สิทธิ์” บน “ความอยุติธรรม” ที่ประชาชนต้องแบกรับอย่างหนักหนาสาหัสเช่นนี้

2) ข้อความที่ศาลตัดสินว่าหมิ่นประมาททำให้พระมหากษัตริย์และพระราชินีอาจถูก เกลียดชัง และกระทบต่อความมั่นคงของราชอาณาจักรนั้น เป็นข้อความที่สาธารณชนไม่มีโอกาสได้รับรู้เลย เป็นแค่ข้อความที่ส่งไปทางโทรศัพท์มือถือส่วนตัวของบุคคลผู้หนึ่งเท่านั้น และไม่มีประจักษ์พยานว่าอากงเป็นผู้ส่งข้อความนั้นจริง ผู้พิพากษาอาศัยเพียงพยานแวดล้อมก็สรุป “เจตนาภายใน” เพื่อตัดสินจำคุกชายชราสุขภาพแย่ถึง 20 ปี จึงเกิดคำถามต่อการใช้ดุลพินิจของศาลไทยเป็นอย่างยิ่งว่า สังคมจะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าดุลพินิจของศาลยึด “ความยุติธรรม” แก่ประชาชนอย่างสูงสุดเป็นหลัก

นั่นคือปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯ กับระบบตุลาการที่คนจำนวนไม่น้อยรู้สึกอายต่อชาวโลก สื่อและนักวิชาการต่างชาติเขามองอย่างตระหนกและงวยงงว่า ในยุคที่โลกเน้นความสำคัญของ “สิทธิมนุษยชน” มากขนาดนี้ ประเทศที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยอย่างไทยยังมีกฎหมายแบบนี้ มีดุลพินิจของศาลออกมาแบบนี้ได้อย่างไร

นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำถาม แต่ยังมีคำถามที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันคือ คำถามต่อบทบาทของ “ผู้นำ นปช.” ดังที่สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ตั้งคำถามข้างต้น

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/11/38052

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น