หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พุทธศาสนาไม่มีศีลธรรมทางสังคม?

เวลาที่นักคิดตะวันตกพูดถึง “ศีลธรรมทางสังคม” (social morality) เขาหมายถึง ศีลธรรมที่อยู่บนรากฐานของ “ปรัชญาสังคม” (social philosophy) บางอย่าง ซึ่งหมายความว่า ศีลธรรมทางสังคมจะต้องวางอยู่บนรากฐานของปรัชญาสังคมบางอย่างเสมอ
 
และหลักการทางปรัชญาสังคมสมัยใหม่คือ หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม ฉะนั้น มโนทัศน์ (concept) เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม นั่นเอง คือรากฐานของศีลธรรมทางสังคม

"และอีกอย่างคือ ธรรมะที่นิยมสอนๆ กันอยู่ในปัจจุบัน ก็มักจะเน้น “ธรรมะทำใจ” ซึ่งเป็นเรื่องปัจเจกบุคคลเป็นด้านหลัก สังคมเกิดความขัดแย้งก็ให้ทำใจปล่อยวางตัวกูของกู ไม่ให้โกรธกัน ให้รักกัน ให้เมตตาต่อกัน วิกฤตธรรมชาติก็ให้ทำใจ ฯลฯ

ซึ่งที่จริงธรรมะทำใจถ้าทำได้ก็ดีอยู่หรอกครับ แต่ว่าความยุติธรรมไม่ใช่ธรรมะหรือ การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค เป็นต้นไม่ใช่ธรรมะหรือ ถ้าใช่ทำไมพระสงฆ์และชาวพุทธทั่วไปจึงไม่มีวัฒนธรรมการต่อสู้เพื่อ “ธรรมะเชิงสังคม” เหล่านี้เลย

แล้วที่ป่าวประกาศอยู่ตลอดเวลาว่า พระพุทธเจ้าสอนสัจธรรมที่แท้จริง สอนความจริง ความถูกต้อง จะมีประโยชน์อะไร ในเมื่อสังคมพุทธแห่งนี้เองกลับมีกฎหมายอย่าง ม.112 ซึ่งเป็นกฎหมายห้ามพูดความจริงที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบอำนาจสาธารณะ เพื่อรักษาความถูกต้องโปร่งใส เสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรมของสังคม ทำไมไม่เห็นพระปัญญาชน พระเอ็นจีโอ พระเซเลบริตี้ หรือ “กูรูทางพุทธศาสนา” คนใดเลยที่โปรสัจจะ ความจริง ความถูกต้อง ออกมาเรียกร้องให้แก้ ม.112 (เป็นต้น) บ้าง

พูดก็พูดเถอะครับ ขอแถมอีกหน่อย คือ  ผมชักเกิด “ซาโตริ” กับไอเดียเสื้อข้างล่างนี้ครับ




ว่ามันสะท้อน “ศีลธรรมทางสังคม” ที่เข้ากับสถานการณ์ทางการเมืองและสภาวะทางศีลธรรมในสังคมปัจจุบันอย่างลึก ซึ้งถึงราก ถ้าวันหนึ่งข้างหน้า มีคนจำนวนหนึ่งใส่เสื้อนี้ไปเยี่ยมพรรคประชาธิปัตย์ กองทัพบก กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ...ผมว่ามันอาจจะเปลี่ยนสังคมได้อย่างเกินความคาดหมาย และเปลี่ยนได้ดีกว่า “ธรรมะทำใจ” อย่างแน่นอน!."



(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/11/37792

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น