หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การกำหนดผู้มีสิทธิฟ้องคดีมาตรา 112 ต้องเป็นสำนักราชเลขาธิการเท่านั้น - อธิบายโดยลำดับเหตุผลอย่างไร?

 
   พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล


ตามที่ "นิติราษฎร์" จัดทำร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา คราว แถลงการณ์ข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2554 ข้อวิพากษ์วิจารณ์ได้แพร่หลายในสังคม กระทั่งขณะนี้คือปลายปี มีประเด็นโต้แย้งข้อเสนอฯ ของนิติราษฎร์ ในเรื่อง "ผู้มีอำนาจร้องทุกข์กล่าวโทษ" ความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย ต่อบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่า เหตุใด อำนาจร้องทุกข์กล่าวโทษ ควรจำกัดให้ สำนักราชเลขาธิการ ? (ซึ่ง "นิติราษฎร์" นำเสนอไว้ใน ข้อเสนอฯ ประเด็นที่ 7) [1]
ท่านทั้งหลายอาจพิจารณาได้จากการมอบหมายอำนาจหน้าที่หรือภารกิจตามกฎหมายของ สำนักราชเลขาธิการ ในฐานะเป็น "ส่วนราชการ" ซึ่งมีสถานะเป็น "กรม" เพื่อสำรวจอำนาจหน้าที่ภายในสำนักราชเลขาธิการ หรือ "หน่วยงานภายในบังคับบัญชา" ของสำนักราชเลขาธิการ ซึ่งปรากฎในระบบกฎหมายไทยอยู่แต่เดิมแล้ว ต่อไป
ดังกล่าวแล้วว่า ตามระบบกฎหมายไทยถือว่า "สำนักราชเลขาธิการ" มีสถานะเป็น "กรม" ตามมาตรา 8 ฉ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2543 [2] การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักราชเลขาธิการ ต้องตราเป็นกฎกระทรวง พร้อมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการนั้นๆ (กฎกระทรวง เป็นผลิตผลจากการใช้อำนาจของรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าฝ่ายปกครองระดับสูงสุด ตามพระราชบัญญัติที่มอบหมายอำนาจ)


มาตรา 8 ฉ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2543

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38472

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น