โศกนาฏกรรมซ้ำสอง
ประเด็นเรื่องการจ่ายเงินชดเชยให้กับ เหยื่อความรุนแรงทางการเมืองในเหตุการณ์ตั้งแต่ 2549-2553 ยังเป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ทั้งของชาวบ้านทั่วไป และนักการเมืองด้วยกัน
มีความเห็นที่น่าสนใจชนิดแย้งกันสุดปลายอยู่ 2 มุม
ตัวแทนของแต่ละมุมมีดังนี้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
"หาก นิยามการเยียวยา ว่าเป็นเหยื่อจากนโยบายรัฐบาล ก็ต้องรวม 5,000 คน ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และอีก 2,000 คน จากฆ่าตัดตอนยาเสพติดด้วย รัฐบาลที่แล้วเยียวยาเหยื่อจากเหตุการชุมนุม โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับภาคใต้ มีความเสมอภาคชัดเจน อีกทั้งหลักการเยียวยาต้องไม่ให้คนที่จงใจทำผิดกฎหมาย
"ไม่เห็น เหตุผลทำไมผู้เสียภาษีต้องจ่ายเงินให้คนที่จงใจเอาระเบิดไปขว้าง เอาปืนไปยิง เผาทำลายสถานที่ราชการ แต่ถ้าเป็นคนที่มาโดยบริสุทธิ์แล้วโดนลูกหลง หรือไม่เกี่ยวข้องกับคนทำผิด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
"แต่ต้องดูความเหมาะสมและครอบคลุมด้วย การเยียวยาในส่วนผู้เสียชีวิตหลายคน ก็เสียชีวิตจากการทำผิดกฎหมายชัดเจน
"รัฐบาลชุดที่แล้วไม่จ่ายเงินชดเชยให้คนที่เสียชีวิตจากการประกอบระเบิด เพราะเป็นการทำผิดกฎหมาย"
มุมต่อมา
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย หนึ่งในแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
"การ ตั้งโจทย์ว่าเป็นการเยียวยาเฉพาะกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นความคิดคับแคบเกินไป ทุกคนทุกสีเสื้อที่บาดเจ็บและสูญเสีย ต้องได้รับการเยียวยา ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ "
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1326807319&grpid=&catid=02&subcatid=0207
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น