หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

คัดค้านการเยียวยาเท่ากับคัดค้านความก้าวหน้าของ “จริยธรรมทางสังคม”

คัดค้านการเยียวยาเท่ากับคัดค้านความก้าวหน้าของ “จริยธรรมทางสังคม”


Profile picture

โดยสุรพศ ทวีศักดิ์

เป็นเรื่องที่ไม่เกินความคาดหมาย สำหรับการออกมาคัดค้านการเยียวยาผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ พิการ จากการสลายการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548 ถึง 2553 ตามมติคณะรัตมนตรี เพราะฝ่ายที่คัดค้านคือพรรคประชาธิปัตย์ หมอตุลย์ และ/หรือฟากตรงข้ามคนเสื้อแดง พรรคเพื่อไทย ที่มักคัดค้านบนจุดยืนของความเป็นฝักฝ่ายอยู่แล้ว ส่วนเหตุผลที่นำมาอ้างก็เป็นเหตุผลที่ “เบาหวิว” และ “เข้าตัวเอง” ตามเคย

เช่นที่ว่าทำไมต้องเอาเงินภาษีประชาชนตั้ง 2,000 ล้าบาท ไปปูนบำเหน็จให้ “พวกเดียวกัน”  (หมายความว่า ปชป.ใช้ภาษีประชาชนร่วม 6,000 ล้านบาท สลายการชุมนุมจนทำให้ “พวกอื่น”ตาย 92 ศพ บาดเจ็บร่วม 2,000 คน เป็นสิ่งที่ชอบธรรม?)
 
ทำไมการเยียวยาจึงไม่ครอบคลุมกรณี 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 35 ฆ่าตัดตอนยาเสพติด กรือเซะ ตากใบ (อันนี้ อ.พวงทอง ตอบไปแล้วว่า ถ้า ปชป.เห็นว่าสิ่งที่สร้างสรรค์เช่นนี้ควรจะทำ ตอนที่ตนเองมีอำนาจทำไม่ไม่คิดจะทำ พอคนอื่นจะทำแล้วมาคัดค้านทำไม)
 
ส่วนที่ว่า ทำไมต้องไปจ่ายให้ให้พวกผู้ก่อการร้าย เผาบ้านเผาเมือง วางระเบิด ฯลฯ (ก็ต้องถามว่า ตอนที่ ปชป.เป็นทั้งผู้กล่าวหา เป็นทั้งผู้มีอำนาจรัฐนั้น ได้จับ “ผู้ก่อการร้าย” ที่ว่าแฝงตัวอยู่ในที่ชุมนุมคนเสื้อแดง 500 คน ได้กี่คน ที่ตาย บาดเจ็บ พิการ พิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เผาบ้านเผาเมืองกี่คน)
 
แต่ที่น่าตั้งข้อสังเกตไว้เป็นพิเศษคือ บรรดาผู้ที่ออกมาคัดค้านต่างเคยอวดอ้าง “คุณธรรมจริยธรรม” และความเป็น “คนดี” ของตนเองในการต่อสู้ทางการเมือง และประณามฝ่ายตรงข้ามว่าไร้จริยธรรม
 
ฉะนั้น การคัดค้านการเยียวยาจึงสะท้อนถึงความเป็นคนมีคุณธรรมจริยธรรม หรือความเป็น “คนดี” ของพวกเขาอย่างชัดแจ้งว่า ความมีคุณธรรมจริยธรรม หรือความเป็นคนดีของพวกเขามี “ความหมาย” อย่างไร

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/01/38816

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น