หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อุดมการณ์เบื้องหลังระบบยุติธรรมในการบังคับใช้ ม. 112

อุดมการณ์เบื้องหลังระบบยุติธรรมในการบังคับใช้ ม. 112


Profile picture

โดยนักปรัชญาชายขอบ


ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในใจเมื่อผมร่าง “คำให้การคดี 112” จบลง คือความรู้สึกว่า “สิทธิ เสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเองกำลังถูกคุกค
 
เพราะผมเชื่อมั่นว่า เมื่อเราอยู่ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เราย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
 
ที่ผมรู้สึกเช่นนี้ เพราะผมเห็นว่า ผมกำลังเผชิญกับ “ความอยุติธรรม”
 
ความอยุติธรรมที่ว่านี้คือ การแจ้งความและข้อกล่าวหาสะท้อนถึงการ “บิดเบือน” ความหมายของข้อความที่ผมโพสต์แสดงความเห็นท้ายบทความทางวิชาการ ซึ่งเป็น “ข้อความที่ถูกต้องตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข” อยู่แล้ว ให้มีความหมายใหม่ตามความต้องการของผู้ตีความที่ “ใส่ความหมายตามการตีความของตนเองลงไปเพื่อเอาผิดตาม ม. 122 ให้ได้”
 
ขอยกตัวอย่างเทียบเคียงให้เห็น สมมติในการถกเถียงทางวิชาการในประเด็นว่า “จะจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของสมเด็จพระสังฆราชในสังคม-การเมืองไทยอย่างไร?” แล้วผมก็เสนอไป 9 ข้อ ซึ่ง 9 ข้อนี้ผมประสงค์ให้เป็น “ข้อเสนอเชิงปฏิรูป” หมายความว่า เป็นข้อเสนอที่ให้ “คงหลักการที่ดีอยู่เดิม” บางอย่างไว้ และเปลี่ยนแปลงบางอย่าง
(อ่านต่อ)
http://networkedblogs.com/umHpc?a=share

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น