หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความคิดเห็นเรื่อง′ประชาธิปไตย′ ของผู้นำสยามเมื่อ พ.ศ.2455

ความคิดเห็นเรื่อง′ประชาธิปไตย′ ของผู้นำสยามเมื่อ พ.ศ.2455

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

วันที่ 24 มิถุนายน ปีนี้เป็นวันครบรอบ 80 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศสู่ "ระบอบประชาธิปไตย" โดยคณะราษฎร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475

หากแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยในประเทศเกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้นหลายปี

ที่ มีหลักฐานเป็นเรื่องเป็นราวคือความพยายาม เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2455 หรือ การปฏิวัติ ร.ศ.130 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

หาก คณะ ร.ศ.130 ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากผู้นำสูงสุดเพียงผู้เดียวที่สืบทอดอำนาจด้วย การแต่งตั้ง สู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งแนวทางขณะนั้นคือ "รีพับลิก" แบบฝรั่งเศส, จีน, อเมริกา ฯลฯ หรือ "ลิมิตเต็ด มอนากี้" แบบอังกฤษ, ญี่ปุ่น ฯลฯ

แม้การปฏิวัติจะไม่บรรลุผล แต่ความคิดเรื่องระบอบประชาธิปไตยก็แจ้งเกิดบนเวทีการเมืองสยาม ถึงจะเป็นของผิดกฎหมายก็ตาม

เหตุการณ์ ผ่านไปจะครบ 100 ปี ในเดือนเมษายนนี้ ก็คงผ่านไปเหมือนเหตุการณ์อื่นๆ หาก ณัฐพล ใจจริง ค้นคว้าเอกสารหลายฉบับที่ทำให้เราท่านได้เห็นความคิดของผู้นำฝ่ายต่างๆ ในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ในบทความชื่อว่า "สยามบน′ทางสองแพร่ง′ : 1 ศตวรรษของพยายามปฏิวัติ ร.ศ.130"

ความเห็นของผู้นำในคณะ ร.ศ.130 ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองแบ่งเป็น 2 แนวคิด คือ รีพับลิก และลิมิตเต็ด มอนากี้ 

 

(อ่านต่อ) 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1328587262&grpid=03&catid&subcatid

 

(ในพระราชนิพนธ์ "โคลนติดล้อ" บทที่ 7 เรื่อง ความจนไม่มีจริง พระองค์ทรงยืนยันว่า เงินมีประโยชน์สำหรับพสกนิกรของพระองค์เพียง 2 ประการเท่านั้น คือ "(1) เสียภาษีและ (2) เล่นการพนัน" (ตัวอย่างการดูถูกราษฎรของชนชั้นสูงที่มีมานาน)

งบประมาณรายรับการคลังสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ราว ๔๐ เปอร์เซนต์มาจากภาษีบาป ได้แก่ หวย-การพนัน, เหล้า, ฝิ่น ลูกค้าหลักได้แก่แรงงานจีนชายโสดอพยพขี้เหงา อันนี้อาจเป็นฐานที่มาของความเห็นข้างต้น)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น