หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สงครามเย็น "โลกไซเบอร์ต้นกำเนิดสงครามเย็นยุคใหม่"


สงครามเย็น "โลกไซเบอร์ต้นกำเนิดสงครามเย็นยุคใหม่" 


โลกไซเบอร์ต้นกำเนิดสงครามเย็นยุคใหม่


Posted Image



การปกป้องประโยชน์ของ ประชาชนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกำลังเป็นประเด็นสร้างความร้าวฉานระหว่าง ประเทศตะวันตกและตะวันออกที่อาจลามเป็นสงครามเย็น

การปกป้องประโยชน์ของพลเมืองของรัฐ กลายเป็นประเด็นแห่งความขัดแย้งระหว่างประเทศอยู่เนืองๆ ไม่เว้นแม้แต่การปกป้องประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ที่กำลังเป็นประเด็นที่สร้างความร้าวฉานระหว่างประเทศตะวันตก กับตะวันออก ซึ่งอาจจะลุกลามกลายเป็นสงครามเย็นในโลกแห่งความเป็นจริงกันเลยทีเดียว


เค้ารางของการก่อสงครามเย็นระหว่างค่ายตะวันตก กับค่ายตะวันออก เริ่มเห็นได้ชัดเจนขึ้น ในการประชุมความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ ที่จัดขึ้น ในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่มีการเชิญตัวแทนทางทหาร และพลเรือนของประเทศต่างๆทั่วโลก มาร่วมการประชุมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสร้างความร่วมมือในการรับมือกับภัย จากการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์จากโลกอินเตอร์เน็ต


ปัจจุบัน รัฐบาลหลายประเทศ ยกระดับอันตรายที่มาจากโลกไซเบอร์ขึ้น เป็นภัยทางการทหาร เช่นสหรัฐอเมริกา ได้ยกระดับความอันตรายดังกล่าวและถือว่าการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ของสหรัฐ เป็นภัยร้ายแรงระดับเดียวกับการก่อการร้าย ทั้งยัง จะมีการตอบโต้โดยใช้มาตรการรุนแรง รวมทั้งการใช้กำลังทางทหารเข้าตอบโต้


แต่ในการประชุมความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ ณ กรุงลอนดอนนั้น ทางการจีนแสดงความไม่พอใจ และ ไม่ใส่ใจที่จะให้ความร่วมมือกับประเทศตะวันตก ในการจัดการความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ โดยส่งตัวแทนภาคเอกชนเข้าร่วมการประชุมเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่มีตัวแทนทางการทหารเข้าร่วมประชุมด้วย


ทางการจีน ให้เหตุผลต่อบริษัทดีเฟนซ์ ไอคิว ผู้จัดการประชุมว่า ทางการจีนมีความสัมพันธ์ทางการทหารในระดับต่ำกับสหรัฐอเมริกา ดังนั้น การส่งตัวแทนทางการทหารเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ที่มีสหรัฐอเมริกา และ พันธมิตรเช่นอังกฤษ เป็นตัวตั้งตัวตี จึงไม่เป็นการสมควร


ขณะเดียวกัน รัสเซีย อดีตขั้วอำนาจตรงข้ามกับสหรัฐอเมริกาในสงครามเย็น เมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว ก็อ้างว่าไม่สามารถส่งตัวแทนเข้าประชุมได้เพราะผู้แทนประเทศไม่สามารถขอ วีซ่าเข้าอังกฤษได้ทัน


ทำให้ตัวแทนชาติตะวันตกได้แต่เจรจาระหว่าง กันเองโดยไม่มีเสียงสนับสนุน จากประเทศชั้นนำทางซีกโลกตะวันออก ซึ่งนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมความความร่วมมือป้องกันภัยจากโลกไซเบอร์ระหว่าง ชาติตะวันตก กับ ตะวันออกมาให้ความเห็นว่า บรรยากาศในที่ประชุมแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างด้านความคิดทางการเมืองต่อ เสรีภาพและอนาคตของอินเตอร์เน็ต


ท่ามกลางความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ของ พลเมืองของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา ที่จีนและ รัสเซียไม่มีทีท่าสนใจที่จะให้ความร่วมมือแม้แต่น้อย


ยิ่งเหตุการณ์ในปีที่แล้ว เมื่อมีแฮกเกอร์มือดี กล้าล้วงคออินทรีอเมริกัน ด้วยการเจาะระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัทล็อกฮีท มาร์ติน ซัพพลายเออร์ด้านอาวุธของกระทรวงกลาโหมและกองทัพสหรัฐอเมริกา บริษัทกูเกิล อิงค์ เจ้าของกิจการเสิร์ชเอนจิ้นอันดับหนึ่งของโลก ตลาดหุ้นนาสแดค และ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ


เช่นเดียวกับพันธมิตรอังกฤษที่ถูกมือดีเจาะ ระบบด้วยเช่นกัน ซึ่งชาติตะวันตกต่างชี้นิ้วไปยังจีน และ รัสเซียว่า เป็นต้นตอของแฮกเกอร์เหล่านั้น ผู้ชี่ยวชาญด้านการวางกลยุทธ์ระหว่างประเทศของสหรัฐถึงกับกล่าวโจมตีจีนว่า “กำลังทำจารกรรมข้อมูลด้านอุตสาหกรรมทุกรูปแบบเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศให้ เท่าเทียมกับตะวันตก” และ “สิ่งที่สึคัญก็คือจีนจะสร้างมาตรฐานการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาได้รวดเร็ว เท่าที่ชาติตะวันตกต้องการหรือไม่ เพื่อสร้างความเท่าเทียมด้านการใช้กฏหมายระหว่างกัน”


แต่จากท่าทีของจีน ในการไม่ส่งตัวแทนทางทหารเข้าประชุม ณ กรุงลอนดอนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้เชื่อได้ว่า จีน จะยังคงไม่สนใจคำขู่ของชาติตะวันตกต่อไป และจะยังคงเดินหน้าพัฒนาอุตสากรรมภายในประเทศ โดยไม่สนใจสร้างมาตรฐานเพื่อป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ที่ถือได้ว่าเป็น “หอกข้างแคร่” ในการพัฒนาอุตสาหกรรมแดนมังกร


และนั่นก็หมายความว่า สงครามเย็นระหว่างชาติตะวันตกที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำ กับขั้วโลกตะวันออก ที่มีจีน เป็นแกนนำ มีเค้ารางการก่อตัวชัดเจนยิ่งขึ้น และอาจจะทำให้โลกกลับไปสู่สภาพความตึงเครียดระหว่างสองขั้วอำนาจหลักที่วันๆ เอาแต่ขู่ว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์เข้าห้ำหั่นกันเมื่อกว่า 50 ปีที่แล้ว ก็เป็นได้


(ที่มา)
http://thai-ahr.org/2012/02/12/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น