หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

'กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล'เสนอปรองดอง นับหนึ่งที่กระบวนการยุติธรรม

'กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล'เสนอปรองดอง นับหนึ่งที่กระบวนการยุติธรรม



แถวหน้า: เสาวรส โพธิ์งาม (เสื่อเขียว), สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (เสื้อขาว), สุดา รังกุพันธ์ (เสื้อแดง),
ภรรยาอากง (เสื้อขาว), ภรรยาสุรชัย (เสื้อแดง)



25 มี.ค.55 กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลจัดกิจกรรมเสวนาบาทวิถี  "ปรองดองบนความอยุติธรรม...ทำเพื่อใคร?" หน้าศาลอาญารัชดา โดยมี ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ  อ.สุดา รังกุพันธ์  ทนายประเวศ ประภานุกูล ทนายเสาวรส โพธิ์งาม รวมทั้งญาติผู้ต้องขัง เช่น ภรรยาอากง ภรรยานายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ร่วมแสดงความเห็นต่อกระบวนการปรองดองของรัฐบาล รัฐสภา และรายงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า

ประเวศ ประภานุกูล ทนายความของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล นักโทษคดี 112 กล่าวว่า ข้อเสนอเรื่องการนิรโทษกรรมของสถาบันพระปกเกล้าบางข้อเป็นการนิรโทษกรรมให้ กับคนที่ยิงประชาชนเมื่อ 2 ปี ก่อนด้วย ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับการนิรโทษกรรมหลัง 6 ตุลาคม 2519 และ พฤษภาคม 2535  การนิรโทษกรรมหลัง 6 ตุลาคม19 เป็นการตัดตอนไม่ให้มีการสืบสวนไปถึงคนสั่งฆ่า  ปัจจุบันนี้ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น การปรองดองจึงเป็นคำพูดสวยหรู เป็นการริเริ่มของฝ่ายอำมาตย์ เพื่อให้เรายอมรับว่าตายฟรี ว่าเผาบ้านเผาเมือง ว่าไม่เอาผิดผู้สั่งฆ่า ให้เรายอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งตนเองไม่เห็นด้วย การปรองดองต้องเกิดขึ้นเมื่อความจริงปรากฏแล้ว คนสั่งยิงต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก่อน

เสาวรส โพธิ์งาม ทนายความและอาสาสมัครศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบกรณีสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53 (ศปช.) ซึ่งลงพื้นที่เก็บข้อมูลผู้ถูกจับกุม/ดำเนินคดี ให้ความเห็นต่อการปรองดองว่า ต้องมีความจริงว่า ใครเป็นผู้สังหารประชาชน  ต้องปล่อยนักโทษการเมือง โดยยกเลิกความผิดที่รัฐกล่าวหา เนื่องจากคดีอาญาเหล่านี้เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง เกิดจากอำนาจรัฐในเวลานั้นยัดข้อหา  และข่มขู่คุกคามให้รับสารภาพ  จากนั้น ศาลก็หยิบยกคำสารภาพในชั้นสอบสวนไปพิจารณาพิพากษาคดี

 

 

(อ่านต่อ)

http://www.prachatai.com/journal/2012/03/39814

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น