[คลิป] 'สมศักดิ์ เจียม' ดันปัญญาชนไทยคิดยาว-ทำใหญ่ "ปฏิรูปสถาบัน
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อภิปรายในงาน “แขวนเสรีภาพ” เสนอการแก้ไขเฉพาะม. 112 อย่างเดียวไม่พอ เสนอตั้ง “เครือข่ายนักวิชาการเพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” เน้นรณรงค์ปฏิรูปสถาบันรอบด้าน ชี้ถ้าไม่ยกเลิกองค์ประกอบอย่างมาตรา 8 ไทยก็ไม่มีทางเป็นประชาธิปไตย
18 มี.ค. 55 – ในงาน “แขวนเสรีภาพ” ซึ่งจัดโดยคณะนักเขียนแสงสำนึก ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว มีการจัดงานอภิปรายทางวิชาการในหัวข้อ Sovereign Community โดย
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ไทย คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้อภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์
และการรณรงค์เพื่อแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 มีเนื้อหาสาระดังนี้
(คลิกฟัง)http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=8Oef-NivvH4
(คลิกฟัง)http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=8Oef-NivvH4
สมศักดิ์
เปิดการอภิปรายด้วยการกล่าวถึงการจัดงานเผาพระเมรุที่ท้องสนามหลวงเนื่องจาก
การสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
ซึ่งมองว่าเป็นตัวดัชนีชิวัดความเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทยได้
จากการดูว่าประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์หรืออภิปรายเรื่องดังกล่าวในที่
สาธารณะได้หรือไม่ ถ้าหากว่าไม่ได้
ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นประชาธิปไตย
เพราะหากใช้มาตรฐานเดียวกันกับนักการเมือง เช่น
หากญาติของนักการเมืองเสียชีวิต แล้วมีการใช้เงินหลายพันล้านบาท
เพื่อที่จะใช้จ่ายเป็นค่าจัดงานศพ แล้ว เหล่านักวิชาการหรือภาคส่วนอื่นๆ
ก็จะคงจะทนไม่ได้ออกมาคัดค้านอย่างเป็นแน่แท้
หากแต่เมื่อเป็นเรื่องของสถาบันกษัตริย์ กลับไม่มีคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์
เช่นเดียวกับการนำเสนอข่าวพระราชสำนักใน
เวลาสองทุ่ม ไม่มีการนำเสนอข่าวสารที่ใด ที่เป็นการนำเสนอด้านเดียวเช่นนี้
และยังไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้อีก จึงแสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า
ในขณะนี้ประเทศไม่ได้เป็นประชาธิปไตย
เมื่อโยงเข้ามากับเรื่องการรณรงค์ของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อแก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112) ที่
เสนอให้แก้กฎหมายเพื่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ ได้
แต่ยังยกข้อยกเว้นไว้ถึงการด่าทอเสียหาย มองว่า
ในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าแปลก และตั้งคำถามว่า
ทำไมเมื่อเราคิดถึงเรื่องสถาบัน จึงต้องคิดถึงบรรทัดฐานอีกแบบหนึ่ง
แต่หากคิดถึงเรื่องนักการเมือง เราถึงด่าได้
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/03/39716
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น