หน้าเว็บ

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

"300 บาท ราชประสงค์ เขื่อนแม่วงก์ และเชคสเปียร์ต้องตาย"

"300 บาท ราชประสงค์ เขื่อนแม่วงก์ และเชคสเปียร์ต้องตาย"

 

อาจจะเพราะว่าตัวภาพยนตร์ไม่ได้ฉาย ปรากฏการณ์ของ "เชคสเปียร์ต้องตาย" เลยน่าจับตามองอาจจะยิ่งกว่าตัวภาพยนตร์เองอีก ถ้าพูดให้ง่ายและตรงที่สุด นี่คือหนังที่มีแนวคิดเอนเอียงไปทาง "เสื้อเหลือง" สร้างมาเพื่อประณาม "เสื้อแดง" -- เท่าที่สอบถามผู้ไปดูมาแล้ว และฟังบทสัมภาษณ์ของผู้กำกับ ("มาถึงวันนี้ แทนที่จะเป็นอันธพาลคลั่งเจ้าที่เราต้องกลัว เรามีกลุ่มคนบ้าคลั่งกลุ่มอื่นที่ไร้เหตุผลและนิยมความรุนแรงอย่างแท้จริง อันเป็นผลงานมหกรรมปั่นหัวโดยเครื่องจักรทักษิณ") -- ถูกแบนภายใต้รัฐบาล "เสื้อแดง" และก่อนที่จะกลายเป็นประเด็นทางการเมืองใหญ่โต ก็เป็นคนเสื้อแดงอีกนั่นเอง ที่ร่วมลงนามแถลงการณ์และแสดงความคิดเห็นต่อต้านการห้ามฉายภาพยนตร์เรื่อง นี้ จนในที่สุด ปฏิกริยาล่าสุดของทีมงาน ออกไปในเชิงว่าหนังเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ในภาษาอังกฤษมีคำศัพท์อยู่คำหนึ่งคือ "political platform" หรือ "เวทีการเมือง" หมายถึงพื้นที่หรือประเด็นที่ประชาชนอนุรักษนิยมฝ่ายขวา และหัวก้าวหน้าฝ่ายซ้าย นำมาใช้ถกเถียงกันได้ตลอด เช่นนโยบายเศรษฐกิจ ศาสนา จนถึงเรื่องปลีกย่อยอย่าง การทำแท้ง ภาวะโลกร้อน หรือการแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกัน เวลาฝรั่งเขาพูดกันติดปากว่า "เพื่อนกันไม่ควรทะเลาะกันเรื่องการเมือง" เขาก็หมายถึงเรื่องล่อแหลมจำพวกนี้แหละ โดยอาจไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่ต้องพาดพิงถึงนักการเมืองเลยก็ได้ เพราะในประเทศประชาธิปไตยตะวันตก การเมืองนั้นแทรกอยู่ในวัฒนธรรมอย่างแนบแน่น (เมื่อสี่ปีที่แล้ว ตอนบารัค โอบามากำชัยในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดี นักวิจารณ์การเมืองบางคนเรียกผลการเลือกตั้งนั้นว่า "ชัยชนะในสงครามวัฒนธรรม")

ปรากฏการณ์นี้ค่อนข้างใหม่สำหรับสังคมไทย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงสามสี่ปีให้หลัง เวทีการเมืองเวทีแล้วเวทีเล่าผุดขึ้นมาในสังคมที่แตกแยกเป็นสองสี -- ผู้เขียนไม่ขอเสียเวลาคร่ำครวญถึงความ "แตกแยก" นี้ เพราะผู้เขียนเชื่อว่า นี่เป็นเรื่องปรกติในสังคมที่กำลังก้าวไปบนหนทางประชาธิปไตยสมัยใหม่แบบพหุ นิยม (pluralism) -- ตัวอย่างที่ชัดเจนสุดคือสี่แยกคอกวัวและราชประสงค์ ซึ่งเป็นทั้ง "พื้นที่" ในทางกายภาพ และเป็น "เวที" ในทางการเมืองด้วย ตั้งแต่เหตุสลายการชุมนุมปี 53 ประเด็นนี้ก็ถูกทั้งมวลชนและนักการเมืองสองฝ่ายหยิบยกมาขับเคี่ยวกัน (ปรากฏการณ์น่าสนใจคือเมื่อพรรคประชาธิปัตย์เลือกใช้ราชประสงค์เป็นเวที ปราศรัยใหญ่ โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง เราเห็นได้ถึงความพยายามช่วงชิงการให้ความหมายทางการเมืองกับพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งจบลงที่ความพ่ายแพ้ย่อยยับของพรรคประชาธิปัตย์ ถึงขนาดถ้าใครจะพูดว่า นี่เป็นสาเหตุหนึ่งของผลการเลือกตั้ง ผู้เขียนจะไม่รู้สึกแปลกใจแม้แต่น้อย) 


(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/04/40113

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น