อ่านไต๋ปรองดอง"ใครจะทิ้งไพ่โง่"
การขับเคลื่อนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นับแต่ได้เป็นรัฐบาล พลิกกลับ 360 องศา หลังเดินเกมประนีประนอมกับฝ่ายชนชั้นนำ หวังให้ฝ่ายตรงข้ามยอมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศได้โดยไม่ต้องติดคุกผ่านการออกกฎหมายนิรโทษกรรม
ท่าทีที่เปลี่ยนไป ทำให้ “กลุ่มเสื้อแดงอิสระ” ที่ร่วมขบวนเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ต่างช้ำใจ พร้อมกับวิจารณ์พรรคเพื่อไทยลืมจุดยืนที่เคยประกาศจะต่อสู้กับอำมาตย์อย่างถึงที่สุด
ยุกติ มุกดาวิจิตร แกนนำคณะกรรมการรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 (ครก.112) จากกลุ่ม “แดงอิสระ” อีกสถานะหนึ่งยังเป็นอาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ่านเกมของ พ.ต.ท.ทักษิณ จากนี้จนถึงเป้าหมายสู่การนิรโทษกรรม จะสำเร็จหรือไม่ บนเงื่อนไขใด?
เขายอมรับว่า ภาพขณะนี้จะเรียกว่าเป็นการซูเอี๋ย หรือเกี้ยเซี้ยก็ได้ ระหว่างชนชั้นนำของฝ่าย นปช. เสื้อแดง หรือพรรคเพื่อไทย กับชนชั้นนำของฝ่ายนิยมเจ้า อนุรักษนิยมที่เมื่อก่อนเคยขับเคี่ยวกันผ่านสัญญาณหลายแบบ เช่น การที่พรรคเพื่อไทยขีดเส้นว่าห้ามแตะเรื่องการแก้มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และพยายามปัดข้อเสนอต่างๆ ของกลุ่มนิติราษฎร์ออกไป ทั้งที่แต่ก่อนพรรคเพื่อไทยก็เห็นด้วยกับข้อเสนอของนิติราษฎร์หลายเรื่อง การประนีประนอมกันอีกเรื่องคือ การตั้งเทคโนแครตมาแก้ปัญหาเรื่องน้ำ และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นประธาน โดยเชิญบุคคลต่างๆ ในฝ่ายอนุรักษนิยมที่เคยต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณเข้าร่วม มาตรการต่อมาที่เห็นคือ การย้ายผู้ถูกคุมขังจากเรือนจำทั่วไปมาสู่เรือนจำที่เรียกว่าเป็นนักโทษการ เมือง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่เชื่อว่าจะปูทางไปสู่การนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองใน ที่สุด
ข้อสงสัยที่ว่า การปรองดองครั้งนี้มีวาระซ่อนเร้นหรือไม่ แกนนำ “ครก.112” มองว่า มีการต่อรองกันจริงในลักษณะที่ว่า จะยังให้สถาบันประเพณีอยู่ในรูปแบบไหน แม้ว่ายังไม่มีการแก้ไขมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญาก็ตาม ซึ่งก็เป็นผลจากบทบาทของฝ่ายอนุรักษ์ที่ผ่านมา ที่ไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม จึงเกิดปฏิกิริยาตอบโต้ที่รุนแรง
“ขณะนี้ผมคิดว่าการต่อรองอยู่ที่ให้สถาบัน ประเพณีอยู่ในที่ทางอย่างเดิมและตีเส้นกันใหม่ให้ชัดเจน ขณะที่สถาบันการเมืองที่มีลักษณะก้าวไปสู่โลกาภิวัตน์มากขึ้น ก็จะไม่เข้าไปก้าวก่ายหรือรุกเข้าไปในพื้นที่ของสถาบันประเพณีมากมาย ถึงขั้นเปลี่ยนให้เป็นสัญลักษณ์โดยไม่ต้องทำอะไรเลย หรือว่ายกเลิกประเพณีทั้งหมด หรือทำให้น้อยลง
ผลที่เราเห็นคือ การแสดงออกของสถาบันประเพณีได้ปรับเปลี่ยนไป จะเห็นว่าไม่มีการแสดงพระราชดำรัสอย่างเป็นสาธารณะเหมือนที่เคยเกิดขึ้น เมื่อ 2-3 ปีก่อน แน่นอนยังมีการให้นายกฯ และคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ แต่ก็ยังอยู่ในขอบเขตที่ไม่มีใครได้รู้ข้อความที่แท้จริงว่ามีบทสนทนาที่ ชัดเจนอย่างไร ฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่อยู่ในกรอบของการเป็นสถาบันกษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย ที่ผมคิดว่าเข้าใกล้แบบสากลมากขึ้น
(อ่านต่อ)
http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น