หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บาดแผลพฤษภา ยุติธรรมอำมหิต

บาดแผลพฤษภา ยุติธรรมอำมหิต

 


 

งานรำลึกพฤษ ภา 53 ปีนี้เป็นปีแรก เพราะปีที่แล้วติดเลือกตั้ง แถมยังเป็นช่วงเวลาที่ใครบางคนเรียกร้องให้พี่น้องเสื้อแดงเสียสละรอบ 2 ทั้งที่คนตายยังไม่ได้รับความเป็นธรรม คนถูกจองจำยังไม่ได้รับอิสรภาพ เท่าที่ทราบตัวเลขจาก ศปช.ล่าสุดยังมีมวลชนติดคุกอยู่ 50 คน

THAILAND-POLITICS-PROTEST

การแสดงพลังของมวลชนนับแสนครั้งนี้จึงมีความหมาย ไม่ใช่แค่มาเช็งเม้ง แต่ต้องการทวงความยุติธรรมเป็นเป้าหมายสูงสุด
 
พฤษภา 53 เป็นบาดแผลฝังลึกในวิกฤติความขัดแย้ง ที่ทำให้ใครก็ “ปรองดอง” กันไม่ได้ง่ายๆ ไม่ใช่แค่ตัวเลขคนตาย บาดเจ็บ แต่เพราะเป็นการเคลื่อนไหวมวลชนที่มีคนเข้าร่วมมากที่สุดในประวัติศาสตร์การ เมืองไทย มากยิ่งกว่า 14 ตุลา 2516 และส่งผลสะเทือนกว้างขวางกว่า
 
พฤษภา 53 แตกต่างจากการลุกขึ้นสู้ทุกครั้งในอดีต เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่คนชนบทและคนจนเมือง ลุกฮือขึ้นมาไล่รัฐบาลของคนชั้นกลางชาวกรุง ที่ได้อำนาจมาโดยไม่ชอบธรรม “ม็อบไพร่” ก็คือการแสดงพลังทางชนชั้น ของผู้คนในชนบทมากมายมหาศาล ที่เรียกร้องต้องการความเท่าเทียมและศักดิ์ศรี
 
มวลชน 1 คนที่ราชประสงค์คือตัวแทนของคนอีกนับร้อยนับพันในชนบท ที่ส่งใจมาร่วม กระสุนแต่ละนัด เลือดแต่ละหยด บาดลึกลงไปในจิตใจคนนับสิบล้าน ที่ไม่ใช่เพียงฟังข่าวจากวิทยุหรือดูโทรทัศน์ แต่เป็นพ่อ แม่ พี่ป้าน้าอา ญาติมิตร คนบ้านเดียวกัน ที่ล้มตาย บาดเจ็บ ถูกจับกุมคุมขัง หรือรอดชีวิตกลับไปเล่าสู่กันฟังปากต่อปาก
 
พรรคเพื่อไทยจึงได้ชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในภาคเหนือตอนบน ภาคอีสาน และภาคกลางบางจังหวัด ซึ่งล้วนมีผู้คนมาชุมนุมที่ราชประสงค์
 
ชนชั้นนำ ตัดสินใจผิดพลาด ที่คิดว่าการใช้กำลังทหารปราบปราม จะสยบการต่อสู้ของมวลชนลงได้ ตรงกันข้าม พวกเขากลับทำให้มวลชนมากมายมหาศาล “ตาสว่าง” และกลายเป็นผู้เรียกร้องต้องการปฏิรูประบอบ เพื่อความยุติธรรมและเท่าเทียม จากเดิมที่เป็นเพียงการต่อสู้เพื่อปกป้องพรรคการเมืองที่พวกเขาเลือก
 
ถ้าเปรียบ เทียบง่ายๆ หลังเลือกตั้งปี 50 ในรัฐบาลสมัคร หากชนชั้นนำทั้งสองฝ่ายเกี้ยเซี้ยปรองดองกันอย่างไร กระแสต่อต้านก็คงไม่ร้อนแรงเท่าวันนี้ หรือแม้แต่หลังเมษายน 2552 หากฝ่ายอำมาตย์ตระหนักถึงความขัดแย้งที่ลุกลาม หาทางผ่อนคลายวิกฤติ สร้างความปรองดอง ก็อาจจะหา “ทางลง” ได้ง่ายกว่านี้

 
THAILAND-POLITICS-PROTEST


ที่พูดนี่ ไม่ได้โทษฝ่ายเดียว เพราะเมื่อพูดถึงเมษายน 2552 ก็มีนัยสำคัญคือ เป็นครั้งแรกที่ทักษิณลั่นวาทกรรม “โค่นอำมาตย์” โดยชี้หน้า พล.อ.เปรม ก่อนหน้านั้น อาจมีนักคิดนักเขียนนักวิชาการใช้คำว่าอำมาตย์กันมาเยอะ แต่เมษายน 2552 คือครั้งแรกที่ทักษิณพูดต่อหน้ามวลชน
 
แล้ววันนี้ทักษิณจะเปลี่ยนถ้อยคำได้อย่างไร
 
พฤษภา 53 ใช่ว่าแกนนำเสื้อแดงถูกต้องทั้งหมด เพราะพวกเขาควรยอมรับการเจรจา แต่จากที่ทำท่าจะยอมรับแล้ว กลับเปลี่ยนใจไม่ยอมสลายการชุมนุม กระนั้น รัฐบาลอภิสิทธิ์และกองทัพ ตลอดจนใครก็ตามที่อยู่เบื้องหลัง คือผู้รับผิดชอบหลัก ในการตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุม โดยใช้กระสุนจริง พร้อมกับมีสไนเปอร์ ซึ่งแม้จะอ้างว่าไม่ได้สั่งให้ยิงประชาชน แต่ผู้ออกคำสั่งเช่นนั้นย่อมเล็งเห็นอยู่แล้วว่า ภายใต้สถานการณ์ที่ตึงเครียด เผชิญหน้า หวาดระแวง อารมณ์ปะทุ กำลังทหารก็ส่องยิงแม้แต่มวลชนที่มีเพียงหนังสติ๊ก หรือกำลังเผายางรถยนต์
 
แล้ววันนี้ เราจะยอมให้มีการนิรโทษกรรมคนเหล่านี้ได้อย่างไร
 
กระบวนการอยุติธรรม
 
ความอำมหิต ของชนชั้นนำและรัฐบาลอภิสิทธิ์ ไม่ใช่เพียงการเข่นฆ่าปราบปรามมวลชนในที่ชุมนุม แต่ยังรวมถึงการไล่ล่าจับกุมมวลชนทั่วประเทศ ตามตัวเลขเท่าที่ ศปช.รวบรวมได้ 1,762 คน มวลชนเกือบทั้งหมดถูกตั้งข้อหาร้ายแรงเกินจริง และถูกจับกุมโดยละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น ไม่ให้พบทนาย ไม่ให้พบญาติ กระทั่งบีบบังคับให้รับสารภาพ โดยเฉพาะข้อหาเข้าร่วมการชุมนุมโดยฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน ที่โดนกันถ้วนทั่วทุกตัวคน มีโทษจำคุก 1 ปี หรือรับสารภาพลดเหลือ 6 เดือนโดยไม่รอลงอาญา
 

(อ่านต่อ)
http://www.voicetv.co.th/blog/1031.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น