หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เกาะติดการข่าว"มั่นคง" เจาะแผน2"ม็อบชนม็อบ" วัดใจ"ดัน-ถอย"กม.ปรองดอง

เกาะติดการข่าว"มั่นคง" เจาะแผน2"ม็อบชนม็อบ" วัดใจ"ดัน-ถอย"กม.ปรองดอง

 

 

ความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมือง 2 กรณีที่เชื่อมโยงกันอย่างปฏิเสธมิได้ คือกรณี การขวางการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ล่าสุดปิดทางขวางประตูรัฐสภาจนการประชุมวาระดังกล่าวเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

โดยกลุ่มพันธมิตรประกาศพร้อมรวมพลทุกเมื่อถ้ามีการพยายามบรรจุวาระพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ เข้าสภา

กับ อีกกรณี ศาลรัฐธรรมนูญให้ชะลอการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 ซึ่งฝ่ายหนุนคือ พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มพันธมิตร ส่วนฝ่ายต้านคือพรรคเพื่อไทยแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งกลุ่ม นปช.นำโดยนางธิดา ถาวรเศรษฐ เริ่มตั้งโต๊ะล่ารายชื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 8 คน ในวันนี้ (7 มิ.ย.) ที่หน้ารัฐสภา

ความเคลื่อนไหวเดินเกมการเมืองของ 2 ฝ่าย ทำให้หน่วยงานด้านความมั่นคงต้องเกาะติดด้านการข่าวอย่างต่อเนื่องทุกวัน

โดย หน่วยงานด้านความมั่นคงประเมินการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญ 8 คนของกลุ่ม นปช.ในวันนี้ว่า จากข้อมูลด้านการข่าว วิเคราะห์ว่ากลุ่ม นปช.จะมาประมาณ 20,000 คน โดยรถบัสและรถตู้มาจากหลายภูมิภาค อาทิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,000 คน ภาคตะวันออกและภาคกลาง 5,000 คน กรุงเทพฯ 2,000 คน ภาคใต้ 500 คน ภาคตะวันตก 200 คน และอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง โดยมีกำหนดกลับในเย็นวันเดียวกัน

ขณะ ที่วันเดียวกันกลุ่มพันธมิตรซึ่งหลักๆ คือสันติอโศก ปักหลักอยู่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้ามียอด 350 คน จะไม่เคลื่อนมาหน้ารัฐสภา โดยกลุ่มสันติอโศกมีกำหนดยุติการชุมนุมเบื้องต้นในวันที่ 10 มิถุนายน

ซึ่ง หน่วยงานด้านความมั่นคงประเมินว่าหากไม่มีปัจจัยแทรกซ้อนใดๆ ความรุนแรงก็ไม่น่าจะเกิด โดยปัจจัยแทรกซ้อนหลักที่กังวล คือ การบรรจุวาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ แต่เมื่อยังไม่มีการบรรจุวาระ จึงแน่นอนว่าไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรง

ส่วน การประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 8 มิถุนายน ที่บรรจุวาระเรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ กรณีรับคำร้องให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และให้รัฐสภาชะลอการดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พ.ศ.... ในวาระที่ 3 เอาไว้ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยนั้น หน่วยงานด้านความมั่นคงวิเคราะห์ว่า น่าจะมี ส.ส.ลุกขึ้นอภิปรายการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวาง อาทิ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และไม่น่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงใดๆ ด้านนอกรัฐสภา

รวม ถึงการประชุมรัฐสภา ในวันที่ 12-14 มิถุนายน เพื่อพิจารณากฎหมายฟอกเงินและการก่อการร้าย ก็ไม่น่าจะมีเหตุการณ์ความรุนแรงใดๆ เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานด้านความมั่นคงประเมินว่า หากยังมีการดึงดันที่จะพิจารณาดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติเข้าสภา การข่าวแจ้งว่ากลุ่มการเมืองอาจมีการขยับแผน 2 หลังจากแผนแรก "ฟาวล์" โดยการให้กลุ่มผู้ชุมนุมฟากรัฐบาลล้อมกรอบรัฐสภาไว้ เพื่อปิดกั้นขัดขวางการปิดล้อม

ประตูรัฐสภาของกลุ่มพันธมิตร และเปิดทางให้ขบวนรถ ส.ส.เข้าประชุมสภาได้สำเร็จ

 

(อ่านต่อ)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339135237&grpid=&catid=03&subcatid=0305

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น