หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สมชาย ปรีชาศิลปกุล: อภิรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีไทย 2475-2555

อภิรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีไทย 2475-2555

 

รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล

 

27 มิ.ย.55 เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุม มล.ตุ้ม ชุมสาย ณ อยุธยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนร่วมกับคณะนิติศาสตร์ และภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดเสวนาในหัวข้อ “80 ปีแห่งความย้อนแย้งของประชาธิปไตยไทย” โดยมี รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อภิปรายในหัวข้อ “อภิรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีไทย 2475-2555”


สมชายเริ่มต้นกล่าวถึงหัวใจสำคัญรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย หรือพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 ซึ่งมีอยู่สองประการ คือหนึ่ง เป็นรูปแบบการปกครองที่กษัตริย์อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครอง และสอง อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย

ต่อมารัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 ซึ่งว่ากันว่าเป็นฉบับที่ได้รับการยอมรับกันในหลายฝ่ายในชนชั้นนำไทย ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความคาดหวังว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะ “ยืนยงอยู่คู่กับสยามรัฐราชสีมาตราบเท่ากัลปาวสาน” เป็นความมุ่งหมายในช่วงเริ่มต้นรัฐธรรมนูญของไทย ในรัฐธรรมนูญหลังๆ อีกสองสามฉบับหลังจากนั้นก็จะเห็นเรื่องนี้ แต่รัฐธรรมนูญหลังจากนั้น โดยเฉพาะหลังทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา ความเข้าใจคือเราทราบกันดีว่ารัฐธรรมนูญไทยไม่มีทางกัลปาวสาน แค่ข้ามทศวรรษได้ก็เก่งแล้ว แต่ในช่วงเริ่มต้นรัฐธรรมนูญไทย อันนี้เป็นนัยยะสำคัญที่มีอยู่

แต่ในความเป็นจริงตั้งแต่ 2475-2525 ครบรอบ 50 ปี เรามีรัฐธรรมนูญแล้ว 13 ฉบับ และจากปี 2475-2555 ครบรอบ 80 ปีรัฐธรรมนูญ มี 18 ฉบับ จะพบว่าอายุเฉลี่ยของรัฐธรรมนูญในเมืองไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยยะ สำคัญ ประมาณ 4 ปีบวกลบนิดหน่อยต่อฉบับ เราจะบอกว่าเป็นความล้มเหลวของรัฐธรรมนูญในสังคมไทยหรือไม่

ปรากฏการณ์นี้นำไปสู่คำถามจำนวนมาก ในหมู่นักกฎหมายก็จะมองว่ารัฐธรรมนูญไทยไม่ได้เป็นกฎหมายสูงสุด หรือนักรัฐศาสตร์ก็ตาม รัฐธรรมนูญอยากจะฉีกเมื่อไรก็ฉีกได้ หรือรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็เสนอว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้มีน้ำยาหรือศักดิ์สิทธิ์เท่าที่ระเบียบในกรมกอง หน่วยงานราชการ หรือรัฐธรรมนูญถูกมองว่าเป็นเครื่องมือของชนชั้นนำในการแย่งชิงอำนาจทางการ เมือง เมื่อไรที่ใครไม่พอใจกฎกติกาที่มีอยู่ ก็ยึดอำนาจ และเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของตน

 

(อ่านต่อ)http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41293

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น