สงคราม ป้อมค่าย เบื้องหน้า "ปรองดอง" ประลอง กำลังกัน
กรณีที่พันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตย ยื่นคำขาดให้ถอนร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ
ออกก่อนการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญในวันที่ 1 สิงหาคม นั้น
เป็นไปเหมือนกับที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง สรุป
นั่นก็คือ "ลงมือเร็วไป"
คำว่า "เร็วไป" สะท้อนให้เห็นการเปิดเกมรุกหลังจากประเมินว่าได้ชัยชนะจาก 2 กลยุทธ์ต่อเนื่องกัน
1 กลยุทธ์สกัดกั้นการร่วมสำรวจชั้นบรรยากาศกับนาซา
1
กลยุทธ์สกัดกั้นการเดินหน้าร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
ตามมาตรา 291 ในวาระ 3 ผ่านกระบวนการตุลาการภิวัฒน์ของศาลรัฐธรรมนูญ
จึงไม่ลังเลที่จะเปิดเกมรุกต่อร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ
เป็น
การเปิดเกมรุกโดยที่ไม่เพียงแต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จะประเมินว่า
"ลงมือเร็วเกินไป" ประการเดียว หากที่สำคัญเป็นอย่างมาก คือ
มองเห็นแต่ด้านถอยของรัฐบาล ของพรรคเพื่อไทย
มิได้มองเห็นว่ากระบวนการถอยของรัฐบาล ของพรรคเพื่อไทย มิได้เป็นการถอยอย่างไร้กระบวนท่า มิได้ถอยอย่างหนียะย่ายพ่ายจะแจ
ถอยเพื่อรุก
ความ
มั่นใจเป็นอย่างยิ่งของรัฐบาลอันแสดงออกผ่าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
อันแสดงออกตอกย้ำโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ต่อร่าง
พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ คือ
1 ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติอยู่ในสภา
1 ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติทั้ง 4 ฉบับไม่ได้เสนอโดยรัฐบาล หากแต่เป็นการเสนอโดยสมาชิกแห่งรัฐสภา
"รัฐบาลจะไปถอนได้อย่างไร ไม่มีอำนาจและเป็นเรื่องของสภาและผู้อื่น"
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1343360381&grpid=01&catid=&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น