หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เหตุและผลจาก"นิติราษฎร์" ตั้ง"ตุลาการพิทักษ์ระบอบ รธน."

 

หมายเหตุ - ข้อเสนอจากงานเสวนาวิชาการเรื่อง ?การยุบศาลรัฐธรรมนูญและการจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ? โดยนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา

วรเจตน์ ภาคีรัตน์
หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน 
คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศาลที่ทั่วโลกจำเป็นต้องมีคือ ศาลยุติธรรม ส่วนศาลอื่นๆ จำเป็นหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าศาลนั้นๆ จำเป็นหรือไม่ การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ล่าสุดได้ขยายและพัฒนาอำนาจตัวเองไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากยังมีศาลในลักษณะเช่นนี้อีกต่อไป การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะไม่ทางเกิดขึ้นได้ ดังจะเห็นจากในมาตรา 68 ที่มีคนไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ แท้จริงต้องผ่านอัยการสูงสุดก่อน แล้วค่อยไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ

ถามว่าเมื่อมีการรวบรวมรายชื่อแล้วจะ สามารถถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ผมบอกได้เลยว่า คนที่มีอำนาจในการถอดถอนคือ วุฒิสภา ครึ่งหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง ต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้หมดวาระไป ก็จะมีคนอื่นที่เข้ามาแทน เป็นคนที่ไม่มีจุดยึดโยงกับประชาชน การกระทำของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อไม่นานมานี้ เป็นผลให้ประชาชนต้องมองหาทางออก เพื่อไม่ต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจแบบเดิมอีกต่อไป

เราจึง เสนอให้เลิกบทบัญญัติของศาลรัฐ ธรรมนูญในทุกมาตรา การแก้ไขที่คณะนิติราษฎร์เสนอนั้น เป็นการแก้ไขหรือเปิดทางชั่วคราวเพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถกระทำได้ โดยไม่มีการขัดขวางจากองค์กรใด จึงเป็นที่มาขององค์กรใหม่ที่เราต้องการสร้างขึ้น นั่นก็คือ คณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ เราเสนอให้มีการกำหนดที่มา อำนาจ ขอบเขต ของคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน

เมื่อเราเสนอให้ยก เลิกศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จะต้องสร้างคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นมา เป็นองค์กรที่มีความเชื่อมโยงกับประชาชน คณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญต้องมิขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเมื่อฟังคำสั่ง ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา เชื่อว่าเป็นคำสั่งที่ทำให้คนไทยมึนงงไปตามๆ กัน เพราะไม่สามารถเข้าใจได้ว่าศาลสั่งอะไร ในเรื่องดังกล่าว หากกลับไปยังเมื่อก่อนการเลือกตั้งจะเห็นว่าพรรคเพื่อไทยได้เสนอให้มีการ แก้ไขรัฐธรรมนูญตั้งแต่ต้น และหากย้อนกลับไปอีกก็จะเห็นอีกว่าความจริงรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 นั้น เป็นการให้ประชาชนลงประชามติไปก่อน แล้วค่อยกลับมาแก้ไขทีหลัง

ความ บกพร่องของศาลรัฐธรรมนูญคือ การรับพิจารณา จริงๆ แล้วไม่มีอำนาจแต่เป็นการขยายอำนาจของศาลเอง เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หากยอมรับการวินิจฉัยของศาล เมื่อมีกรณีเช่นเดียวกันเกิดขึ้นอีก ก็จะมีคนนำเรื่องไปฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีก และศาลก็จะใช้อำนาจเกินขอบเขตต่อไป

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม จากคำวินิจฉัยศาลบอกว่ามีอำนาจในการรับพิจารณา และหากมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะต้องมีการทำประชามติ ในคำวินิจฉัยไม่มีคำใดเลยที่บอกว่าห้ามลงมติในวาระ 3 ส่วนตัวคิดว่าจากคำวินิจฉัยดังกล่าว รัฐบาลควรเดินหน้าในวาระ 3 ได้ และต้องอาศัยความใจถึงในการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ

การที่มีตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่ง ได้ถอนตัวไม่ลงมติ ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อว่า หากมีการเดินหน้าในวาระ 3 ใครทำก็ต้องรับผิดชอบนั้น เพราะอาจจะผิดมาตรา 68 หรือไม่ ผมมองว่าแล้วศาลจะให้ทำอะไร เวลาศาลวินิจฉัยออกมาแล้วจะต้องมีความชัดเจนกับผู้คนที่เกี่ยวข้อง ถามว่าถ้าไม่ไปทำประชามติจะถือเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ ศาลก็ไม่ได้บอกเช่นนั้นเลย

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342409224&grpid=&catid=03&subcatid=0305

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น