จำนำ-จำนน คอลัมน์ เดินหน้าชน
โดย สราวุฒิ สิงห์เอี่ยม
กระแสวิพากษ์วิจารณ์โครงการรับจำนำข้าว
เปลือกยังกระหน่ำรัฐบาลต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่สื่อมวลชน ภาคเอกชน
และนักวิชาการไทยเท่านั้น สื่อมวลชนต่างชาติและองค์กรระหว่างประเทศ
ต่างก็ออกมาร่วมวงรุมสับโครงการนี้ว่ามีปัญหามากมาย
ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตกันอย่างกว้างขวาง สูญเสียงบประมาณมโหฬาร และอุตสาหกรรมข้าวไทยเสียหายมหาศาล
นายกฯปู-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกตัวว่าโครงการรับจำนำข้าวเป็นนโยบายที่ดี แต่ที่มีปัญหาเป็นเรื่องการปฏิบัติ
ถ้าเป็นการรับจำนำที่ยึดตามหลักการจริงๆ คือราคารับจำนำใกล้เคียงราคาตลาด และจำกัดปริมาณรับจำนำ ก็พอจะนับว่าเป็นโครงการที่ดีได้
แต่การกำหนดราคารับจำนำสูงถึงตันละ 1.5 หมื่นบาท และรับจำนำไม่จำกัดปริมาณ คงไม่อาจถือเป็นโครงการที่ดีได้แน่
แค่ ใช้ชื่อโครงการว่า "รับจำนำ" ก็ผิดแล้ว การตั้งราคารับจำนำไว้สูงมากขนาดนี้ ควรเป็นโครงการ "รับซื้อข้าวเปลือก" มากกว่า เพราะไม่มีชาวนาคนไหนไปไถ่ถอนแน่
ที่รัฐบาลอ้างว่าการกำหนดราคารับ จำนำไว้สูงเพื่อเพิ่มรายได้ให้ชาวนานั้น ถามว่ามีชาวนาตัวจริงเสียงจริงได้ผลประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากน้อยแค่ไหน
ส่วน ใหญ่จะตกอยู่กับชาวนาเทียม พ่อค้าและโรงสีมากกว่า จากการสวมสิทธิชาวนาด้วยการนำข้าวของตัวเองหรือข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมา จำนำแทน โดยออกใบประทวนปลอม
รวมทั้งยังมีการกดราคาด้วยการโกงตาชั่งน้ำหนักและความชื้นข้าวด้วย
ที่สำคัญกว่านั้นคือนโยบายเรื่องข้าว ต้องดูแลทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ให้น้ำหนักกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกินไป
จริง อยู่ว่าชาวนาควรต้องได้รับการดูแลมากกว่า แต่รัฐบาลไม่อาจละเลยกลุ่มอื่นๆ มิเช่นนั้นจะทำให้กลไกการค้าข้าวพัง และจะเสียหายกันทั่วหน้า
แรกๆ ชาวนา (บางส่วน) อาจจะยิ้มได้จากราคาจำนำ (ขาย) ที่สูง แต่ต่อไปจะยิ้มไม่ออก
เมื่อผู้ส่งออกข้าวไม่สามารถส่งออกข้าวได้ ผลจะย้อนกลับไปสู่ชาวนา
ช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ส่งออกได้แค่ 3.45 ล้านตัน ลดลงเกือบครึ่งจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นสัญญาณเตือนแล้ว
ตอนนี้ชาวนาอาจยังไม่รู้สึกเพราะรัฐบาลแบกรับสต๊อกข้าวเอาไว้กว่า 10 ล้านตัน แต่รัฐบาลไม่อาจจะแบกรับได้ตลอดไป
เมื่อรัฐบาลระบายข้าวออก จะทำให้ราคาตลาดโลกอ่อนตัวลงแน่
นอกจากนี้การรับจำนำข้าวที่เปิดกว้าง ทำให้ชาวนาไม่สนใจเรื่องคุณภาพข้าว แห่กันปลูกข้าวคุณภาพต่ำ ที่ให้ผลผลิตเร็วเพื่อรีบไปจำนำ
ต่อไปจะทำให้ไทยสูญเสียตลาดข้าวคุณภาพดี ขณะที่ข้าวคุณภาพต่ำก็จะขายไม่ออก เพราะราคาสูงกว่าคู่แข่ง
สุดท้ายผลเสียจะย้อนกลับมาที่ชาวนาเอง
ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตกันอย่างกว้างขวาง สูญเสียงบประมาณมโหฬาร และอุตสาหกรรมข้าวไทยเสียหายมหาศาล
นายกฯปู-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกตัวว่าโครงการรับจำนำข้าวเป็นนโยบายที่ดี แต่ที่มีปัญหาเป็นเรื่องการปฏิบัติ
ถ้าเป็นการรับจำนำที่ยึดตามหลักการจริงๆ คือราคารับจำนำใกล้เคียงราคาตลาด และจำกัดปริมาณรับจำนำ ก็พอจะนับว่าเป็นโครงการที่ดีได้
แต่การกำหนดราคารับจำนำสูงถึงตันละ 1.5 หมื่นบาท และรับจำนำไม่จำกัดปริมาณ คงไม่อาจถือเป็นโครงการที่ดีได้แน่
แค่ ใช้ชื่อโครงการว่า "รับจำนำ" ก็ผิดแล้ว การตั้งราคารับจำนำไว้สูงมากขนาดนี้ ควรเป็นโครงการ "รับซื้อข้าวเปลือก" มากกว่า เพราะไม่มีชาวนาคนไหนไปไถ่ถอนแน่
ที่รัฐบาลอ้างว่าการกำหนดราคารับ จำนำไว้สูงเพื่อเพิ่มรายได้ให้ชาวนานั้น ถามว่ามีชาวนาตัวจริงเสียงจริงได้ผลประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากน้อยแค่ไหน
ส่วน ใหญ่จะตกอยู่กับชาวนาเทียม พ่อค้าและโรงสีมากกว่า จากการสวมสิทธิชาวนาด้วยการนำข้าวของตัวเองหรือข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมา จำนำแทน โดยออกใบประทวนปลอม
รวมทั้งยังมีการกดราคาด้วยการโกงตาชั่งน้ำหนักและความชื้นข้าวด้วย
ที่สำคัญกว่านั้นคือนโยบายเรื่องข้าว ต้องดูแลทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ให้น้ำหนักกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกินไป
จริง อยู่ว่าชาวนาควรต้องได้รับการดูแลมากกว่า แต่รัฐบาลไม่อาจละเลยกลุ่มอื่นๆ มิเช่นนั้นจะทำให้กลไกการค้าข้าวพัง และจะเสียหายกันทั่วหน้า
แรกๆ ชาวนา (บางส่วน) อาจจะยิ้มได้จากราคาจำนำ (ขาย) ที่สูง แต่ต่อไปจะยิ้มไม่ออก
เมื่อผู้ส่งออกข้าวไม่สามารถส่งออกข้าวได้ ผลจะย้อนกลับไปสู่ชาวนา
ช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ส่งออกได้แค่ 3.45 ล้านตัน ลดลงเกือบครึ่งจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นสัญญาณเตือนแล้ว
ตอนนี้ชาวนาอาจยังไม่รู้สึกเพราะรัฐบาลแบกรับสต๊อกข้าวเอาไว้กว่า 10 ล้านตัน แต่รัฐบาลไม่อาจจะแบกรับได้ตลอดไป
เมื่อรัฐบาลระบายข้าวออก จะทำให้ราคาตลาดโลกอ่อนตัวลงแน่
นอกจากนี้การรับจำนำข้าวที่เปิดกว้าง ทำให้ชาวนาไม่สนใจเรื่องคุณภาพข้าว แห่กันปลูกข้าวคุณภาพต่ำ ที่ให้ผลผลิตเร็วเพื่อรีบไปจำนำ
ต่อไปจะทำให้ไทยสูญเสียตลาดข้าวคุณภาพดี ขณะที่ข้าวคุณภาพต่ำก็จะขายไม่ออก เพราะราคาสูงกว่าคู่แข่ง
สุดท้ายผลเสียจะย้อนกลับมาที่ชาวนาเอง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1344828028&grpid=&catid=02&subcatid=0200
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น