หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ใน ซิเรีย นักสังคมนิยมต้องสนับสนุนกบฏต่อรัฐบาลเผด็จการ

ใน ซิเรีย นักสังคมนิยมต้องสนับสนุนกบฏต่อรัฐบาลเผด็จการ

 

  
ภาพ: สมาชิก Free Syrian Army


การที่กองทัพเสรีซิเรียมีความสำคัญมากขึ้นจนกลายเป็นสงครามกลางเมือง เป็นสิ่งที่เราเข้าใจได้ ใครจะไม่ลุกขึ้นจับอาวุธเมื่อเห็นทหารของรัฐบาลถล่มพลเรือนอย่างไม่เลือกหน้าแบบที่รัฐบาลซิเรียทำ แต่มันสร้างปัญหา เพราะอำนาจหลักไปอยู่ในมือทหารปลดแอกแทนมวลชน มันลดความสำคัญของการนัดหยุดงานและยึดเศรษฐกิจ
  
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์


กบฏของประชาชนต่อรัฐบาลเผด็จการของ บาชา อัลอะสัด ในประเทศซิเรียได้กลายเป็นสงครามกลางเมือง และได้สร้างความสับสนเป็นอย่างมากในหมู่ผู้รักประชาธิปไตย นักเคลื่อนไหว และฝ่ายซ้ายทั่วโลก
    
บางคนอย่าง ทาริก อาลี นักสังคมนิยมชื่อดังเชื้อสายปากีสถาน หลงเชื่อว่ารัฐบาลของ  บาชา อัลอะสัด เป็นรัฐบาลที่ “ต้านจักรวรรดินิยม” เพราะบ่อยครั้งในอดีตมีจุดยืนตรงข้ามกับ สหรัฐ และยุโรปตะวันตก และได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียกับจีน แต่นั้นเป็นการมองข้ามธาตุแท้ของเผด็จการซิเรีย ซึ่งเข้าไปแทรกแซงการเมืองในประเทศรอบข้าง เช่น เลบานอน เพื่อระงับการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์และฝ่ายซ้าย และมันเป็นการมองข้ามการที่ประธานาธิบดีซิเรียมาจากการสืบทอดสายเลือดในระบบ ที่ป่าเถื่อน
การเข้าข้างมหาอำนาจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในความขัด แย้งระดับโลก ไม่ใช่การต่อต้านจักรวรรดินิยม แต่เป็นการอ่อนน้อมต่อจักรวรรดินิยมฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
    
สาเหตุหนึ่งที่หลายคนไม่ยอมสนับสนุนฝ่ายกบฏในซิเรีย ก็เพราะเขาอ้างว่าสหรัฐและนาโต้อยากฉวยโอกาสแทรกแซง และตอนนี้รัฐบาลล้าหลังสุดขั้วของซาอุก็กำลังส่งอาวุธเพื่อช่วยเหลือกบฏ แต่ประเด็นสำคัญที่เราต้องเข้าใจคือ กบฏส่วนใหญ่ในซิเรียที่ต้องการล้มล้างรัฐบาลของ บาชา อัลอะสัด ไม่ต้องการให้มหาอำนาจตะวันตกเข้ามาช่วยเหลือหรือแทรกแซง เพราะเขาทราบดีว่าในกรณีประเทศลิเบียมีการแทรกแซงทางทหาร เช่นส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิด ซึ่งแปลว่ายุโรปตะวันตกและสหรัฐสามารถช่วงชิงการปฏิวัติไป เพื่อสถาปนารัฐบาลใหม่ที่เป็นมิตรกับตะวันตก ซึ่งต่างจากกรณีการปฏิวัติในอียิปต์และตูนิเซียที่เป็นการปฏิวัติของมวลชน ที่ยังไม่จบ กบฏส่วนใหญ่ในซิเรียไม่อยากเป็นขี้ข้าใคร เขาอยากนำตนเอง
    
เอ็นจีโอสากลบางกลุ่มพยายามประณามความรุนแรงของ “ทั้งสองฝ่าย” ในซิเรีย แต่นั้นเป็นการมองข้ามการที่รัฐบาลซิเรียเป็นผู้ปราบปรามประชาชนอย่างป่า เถื่อนแต่แรก คาดว่าพลเรือนถูกฆ่าไปหลายหมื่น อาจถึงแสนด้วยซ้ำ มันไม่ต่างจากพวกเอ็นจีโอสลิ่มที่เรียกร้องให้ “ทุกฝ่าย” ยุติความรุนแรงที่ราชประสงค์เมื่อปี ๒๕๕๓ ในขณะที่ผู้ใช้ความรุนแรงมีแต่ฝ่ายทหาร

มัน ไม่ต่างจากกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่วิจารณ์กบฏในภาคใต้ การประณามแบบนี้เป็นการแอบเข้าข้างผู้กดขี่ที่ใช้ความรุนแรงต่อประชาชน เราชาวสังคมนิยมต้องฟันธงว่าผู้ถูกกดขี่ทั่วโลกมีสิทธิ์จับอาวุธเพื่อ ป้องกันตัวจากการเข่นฆ่าของฝ่ายชนชั้นปกครอง และความรุนแรงที่อาจเกิดจากการลุกขึ้นป้องกันตัว แตกต่างโดยสิ้นเชิงกับความรุนแรงป่าเถื่อนของชนชั้นปกครอง เราเลือกข้างครับ เราเลือกข้างพลเมืองธรรมดาที่ถูกกดขี่ ในขณะที่เอ็นจีโอและกลุ่มอื่นๆ ที่คล้ายกันเคยเลือกข้างรัฐประหาร
    
มีนักเคลื่อนไหวอีกส่วนหนึ่ง ที่มองว่ารัฐบาลซิเรียป่าเถื่อนที่สุด จนเราไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องเรียกร้องให้มหาอำนาจตะวันตกเข้ามาแทรกแซง อันนี้เป็นการโกหกตนเองมหาศาล เพราะรัฐบาลตะวันตกไม่เคยสนใจเรื่องประชาธิปไตยหรือเสรีภาพ แต่สนใจผลประโยชน์ของกลุ่มทุนต่างหาก และในขณะนี้แม้แต่สหรัฐกับอังกฤษก็ไม่มีปัญญาจะแทรกแซงแบบลิเบียได้ เพราะผูกพันกับสงครามอัฟกานิสถานและที่อื่น แต่ที่แย่สุดคือพวกนี้ดูถูกความสามารถของชาวซิเรียที่จะปลดแอกตนเอง

    
การที่นักสังคมนิยมมองว่า “ผู้ถูกกดขี่ทั่วโลกมีสิทธิ์จับอาวุธเพื่อป้องกันตัวจากการเข่นฆ่าของฝ่ายชน ชั้นปกครอง” ไม่ได้แปลว่าเราจะ “ส่งเสริม” การต่อสู้ด้วยอาวุธเป็นหลัก
    
ถ้าจะเข้าใจการกบฏปฏิวัติที่กำลังเกิดขึ้นท่ามกลางการนองเลือดในซิ เรีย เราต้องมองภาพรวมของการลุกฮือในตะวันออกกลางตั้งแต่ตูนิเซีย อียิปต์ ลิบเบีย เยเมน บาห์เรน ไปสู่ซิเรีย เพราะสภาพสังคมซิเรียเต็มไปด้วยความขัดแย้งที่คล้ายๆ กับที่อื่น เช่นการหันมาใช้นโยบายเสรีนิยมกลไกตลาดที่เพิ่มความเหลื่อมล้ำระหว่างคนส่วน ใหญ่กับคนรวย การที่สังคมแช่แข็งเป็นเผด็จการมานาน และการที่ผู้ที่ได้ประโยชน์เป็นพรรคพวกของผู้นำเป็นต้น

และเมื่อมี การเริ่มลุกฮือรัฐบาลก็พยายามปลุกให้คนเชื้อชาติหรือศาสนาที่แตกต่างกันขัด แย้งกันเพื่อแบ่งแยกและปกครอง ไม่ต่างจากอียิปต์ อย่างไรก็ตามฝ่ายกบฏมีเครือข่ายรากหญ้าที่แท้จริง เขาเรียกตัวเองว่า “กรรมการประสานงานในพื้นที่” (Local Coordinating Committees) และเขามีความพยายามมาตลอดในการสร้างความสามัคคีระหว่างชุมชนต่างศาสนาหรือเชื้อชาติ
    
นอกจาก “กรรมการประสานงานในพื้นที่” ในระดับรากหญ้าที่สามารถจัดการ ประท้วงของมวลชนผู้กล้าตายและการนัดหยุดงานในเมืองใหญ่แล้ว ยังมีอีกองค์กรหนึ่งที่เป็นองค์กรรากหญ้า นั้นคือ “กองทัพเสรีซิเรีย” (Free Syrian Army) ซึ่งกำลังต่อสู้กับกองทัพของรัฐบาล ส่วน “กรรมการแห่งชาติซิเรีย” (Syrian National Council) นั้นเป็นเพียงกรรมการที่แต่งตั้งตัวเองเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น ซึ่งประกอบไปด้วยนักการเมืองหุ่นเชิดของตะวันตก มันไม่มีความชอบธรรมใดๆ ในสายตาพลเมืองซิเรียส่วนใหญ่
    

นักสังคมนิยมเสนอตลอดว่าการปฏิวัติที่จะนำไปสู่ การที่ประชาชนเป็นใหญ่ได้นั้น ต้องอาศัยพลังมวลชนจำนวนมาก ไม่ใช่อาศัยกองทัพปลดแอกเป็นหลัก

การที่กองทัพเสรีซิเรียมีความสำคัญมากขึ้นจนกลายเป็นสงครามกลางเมือง เป็นสิ่งที่เราเข้าใจได้ ใครจะไม่ลุกขึ้นจับอาวุธเมื่อเห็นทหารของรัฐบาลถล่มพลเรือนอย่างไม่เลือก หน้าแบบที่รัฐบาลซิเรียทำ แต่มันสร้างปัญหา เพราะอำนาจหลักไปอยู่ในมือทหารปลดแอกแทนมวลชน มันลดความสำคัญของการนัดหยุดงานและยึดเศรษฐกิจ และกองทัพเสรีซิเรียต้องอาศัยอาวุธบางส่วนที่ประเทศอย่างซาอุส่งให้ และในโลกทุนนิยมไม่มีผู้มีอำนาจไหนที่ให้ความช่วยเหลือฟรีๆ ซาอุเป็นเผด็จการป่าเถื่อนล้าหลังที่กดขี่ประชาชนโดยเฉพาะสตรี และซาอุก็เคยส่งทหารไปปราบขบวนการประชาธิปไตยในบาห์เรนอีกด้วย


มวล ชนซิเรียจะมีเสรีภาพและประชาธิปไตยได้ก็ต่อเมื่อเขาลุกขึ้นสู้เอง นำตนเอง และพึ่งตนเอง คนก้าวหน้าทุกคนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเขาจะชนะและเผด็จการ บาชา อัลอะสัด จะถูกถีบลงถังขยะแห่งประวัติศาสตร์

(ที่มา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น