หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฏีการปฏิวัติถาวรของตรอทสกี้

ทฤษฏีการปฏิวัติถาวรของตรอทสกี้
 


ท่ามกลางการปฏิวัติ 1917 เลนิน เปลี่ยนใจใน “วิทยานิพนธ์ เมษายน 1917” โดยเสนอว่าการปฏิวัติที่กำลังจะเกิดขึ้นต้องนำไปสู่ขั้นตอนของสังคมนิยม ทันทีและนำโดยกรรมาชีพ ผ่านการสร้างรัฐกรรมาชีพ ซึ่งจะเห็นว่า เลนิน หันมาสนับสนุนจุดยืน “การปฏิวัติถาวร” ของ มาร์คซ์

โดย กองบรรณาธิการเลี้ยวซ้าย

คาร์ล มาร์คซ์ เสนอในปี 1850 (60 ปีหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส)ว่าความขัดแย้งหลักในสังคมเปลี่ยนไปจากความขัด แย้งระหว่างนายทุนกับขุนนาง ไปเป็นความขัดแย้งระหว่างกรรมาชีพกับชนชั้นปกครอง มาร์คซ์เขียนว่า...   
“ชน ชั้นกรรมาชีพเท่านั้นที่จะเป็นผู้ต่อสู้อย่างถึงที่สุดกับทุนนิยมจนได้รับ ชัยชนะ... และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อชนชั้นกรรมาชีพเข้าใจผลประโยชน์ของชนชั้น ตัวเองอย่างชัดเจน โดยสร้างพรรคการเมืองอิสระของกรรมาชีพเอง และไม่หลงเชื่อคำแนะนำจากพวกนายทุนน้อยประชาธิปไตยตอแหลที่เสนอว่า กรรมาชีพไม่ต้องมีพรรคของตนเอง... คำขวัญของกรรมาชีพจะต้องเป็น ‘ปฏิวัติให้ถาวรไปเลย!’” [Marx, K & Engels, F (1981) “Collected Works Vol X” pp 280-287, London.]

ก่อนการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 เลนิน แสดงจุดยืนในหนังสือ “สองยุทธวิธีของสังคมนิยมประชาธิปไตย” ว่าการปฏิวัติที่กำลังจะเกิดต้องนำโดยชนชั้นกรรมาชีพที่ทำแนวร่วมกับชาวนา แต่ในขั้นตอนแรก เนื่องจากความล้าหลังของประเทศรัสเซียที่มีชาวนา 130 ล้านคน เมื่อเทียบกับกรรมาชีพแค่ 3 ล้านคน การปฏิวัติจะสถาปนาระบบประชาธิปไตยทุนนิยมก่อน โดยมีนายทุนเป็นชนชั้นปกครอง หลังจากนั้นกรรมาชีพจะค่อยๆทำการปฏิวัติไปสู่สังคมนิยมในภายหลัง

แต่ท่ามกลางการปฏิวัติ 1917 เลนิน เปลี่ยนใจใน “วิทยานิพนธ์ เมษายน 1917” โดยเสนอว่าการปฏิวัติที่กำลังจะเกิดขึ้นต้องนำไปสู่ขั้นตอนของสังคมนิยม ทันทีและนำโดยกรรมาชีพ ผ่านการสร้างรัฐกรรมาชีพ ซึ่งจะเห็นว่า เลนิน หันมาสนับสนุนจุดยืน “การปฏิวัติถาวร” ของ มาร์คซ์

ในขณะที่ เลนิน เสนอให้กรรมาชีพปฏิวัติถาวรและสร้างสังคมนิยมในประเทศล้าหลังอย่างรัสเซีย ก่อนหน้านั้นในปี 1906 ลีออน ตรอทสกี ก็แสดงจุดยืนสนับสนุนการปฏิวัติถาวรของ มาร์คซ์ ในบทความชิ้นสำคัญที่เรียกว่า “การปฏิวัติถาวร”

ความสำคัญของทฤษฎีการปฏิวัติถาวรสำหรับสังคมไทย ในปัจจุบันคือ มันอธิบายว่าทำไมความขัดแย้งระหว่างทักษิณกับอำมาตย์ ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างนายทุนกับศักดินา และกรรมาชีพกับคนจนไม่ควรต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทุนนิยมเท่านั้น แต่ควรสู้อย่างต่อเนื่องเพื่อสังคมนิยม

หลายคนที่เคยศึกษานโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์ไทย(พ.ค.ท.) จะทราบดีว่า พ.ค.ท. ในอดีตถือนโยบายตาม สตาลิน และ เหมาเจ๋อตุง ที่เสนอว่าการปฏิวัติในประเทศไทยในขั้นตอนแรก จะต้องเป็นการปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตยทุนนิยม ไม่ใช่สังคมนิยม และชนชั้นกรรมาชีพจะต้องสร้างแนวร่วมและประนีประนอมกับชนชั้นนายทุน มันเป็นข้อเสนอที่พานักปฏิวัติสังคมนิยมในพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกให้ไปจงรัก ภักดีกับนายทุน เพื่อไม่ให้ชนชั้นนายทุนในประเทศต่างๆ ต่อต้านรัสเซีย มันนำไปสู่การประนีประนอมกับทุนนิยมตลาดเสรีอย่างที่เราเห็นในเนปาลหลังจาก ที่พรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมาเป็นรัฐบาลเมื่อไม่นานมานี้เอง และสำหรับขบวนการเสื้อแดง มันเป็นข้อเสนอให้กรรมาชีพและเกษตรกรทำแนวร่วมกับทักษิณโดยไม่เสนอนโยบายที่ จะเป็นประโยชน์กับชนชั้นตนเองเลย

ลีออน  ตรอทสกี สรุปเรื่องการปฏิวัติถาวรในปี 1928 ว่า

1. ในประเทศที่การพัฒนาระบบทุนนิยมล้าหลัง  โดยเฉพาะประเทศเมืองขึ้นหรือกึ่งเมืองขึ้น ทฤษฎีการปฏิวัติถาวรมีความสำคัญตรงที่ทำให้เห็นว่าการสร้างประชาธิปไตยและ เอกราชที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ภายใต้สังคมนิยมเท่านั้น และชนชั้นนำจะต้องเป็นชนชั้นกรรมาชีพ 

2. ปัญหาของระบบเกษตรกรรม และปัญหาของเอกราชในประเทศล้าหลัง มีผลทำให้ชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่มีบทบาทสำคัญ ถ้าไม่มีแนวร่วมระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชาวนาภาระของการปฏิวัติจะไม่บรรลุ ความสำเร็จ แต่แนวร่วมนี้จะต้องสร้างขึ้นภายใต้เงื่อนไขของการต่อสู้อย่างไม่มีวันประนี ประนอมกับอิทธิพลของนายทุนรักชาติเสรีนิยม

3. ไม่ว่าการปฏิวัติในประเทศหนึ่งจะมีขั้นตอนแตกต่างกันอย่างไร การสร้างแนวร่วมระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชาวนาต้องสร้างภายใต้การนำของ กรรมาชีพที่ก้าวหน้าที่สุด ซึ่งจัดตั้งโดยพรรคคอมมิวนิสต์

4. อำนาจของชนชั้นกรรมาชีพ จะต้องเผชิญหน้าอย่างรวดเร็วกับปัญหาต่างๆ ที่แก้ได้โดยวิธีเดียวเท่านั้นคือ การลดทอนสิทธิทรัพย์สินเอกชนของนายทุน ฉะนั้นกระบวนการประชาธิปไตยจะนำไปสู่การปฏิวัติถาวรเพื่อสร้างสังคมนิยม ทันที

5. การยึดอำนาจของชนชั้นกรรมาชีพไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการปฏิวัติ เพียงแต่เป็นจุดเริ่มต้นเท่านั้น การสร้างระบบสังคมนิยมทำได้ภายใต้เงื่อนไขการต่อสู้ทางชนชั้นเท่านั้น ทั้งในระดับชาติและระดับสากลพร้อมกัน การต่อสู้แบบนี้ ภายใต้สภาพโลกที่ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์แบบทุนนิยม มักจะนำไปสู่การระเบิดภายใน ในรูปแบบสงครามกลางเมือง และการระเบิดภายนอกในรูปแบบสงครามปฏิวัติ สภาพเช่นนี้เองชี้ถึงความ “ถาวร” ของการปฏิวัติสังคมนิยม ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนในประเทศล้าหลังที่พึ่งจะบรรลุการปฏิวัติประชาธิปไตย หรือในประเทศทุนนิยมเก่าแก่ที่มีประชาธิปไตยและระบบรัฐสภามานาน

6. ความสำเร็จของการปฏิวัติสังคมนิยมในขอบเขตประเทศเดียวเป็นไปไม่ได้ สาเหตุหนึ่งของวิกฤตปัจจุบันของสังคมทุนนิยมคือการที่พลังการผลิตปัจจุบัน ถูกจำกัดภายในขอบเขตของประเทศชาติไม่ได้ การปฏิวัติสังคมนิยมจะเกิดขึ้นในเวทีรัฐชาติแต่จะแผ่ขยายไปสู่เวทีสากลและจะ สำเร็จในเวทีโลก ฉะนั้นความ “ถาวร” ของการปฏิวัติสังคมนิยมมีมิติที่กว้างยิ่งขึ้นคือ สำเร็จได้ต่อเมื่อสังคมใหม่ได้รับชัยชนะทั่วโลก

7. การสรุปการพัฒนาของกระบวนการปฏิวัติโลกดังที่เขียนไว้ข้างต้นนี้ ทำให้เราสามารถยกเลิก “ปัญหา” ของประเทศที่ “สุกงอม” หรือประเทศที่ “ยังไม่พร้อม” ที่จะปฏิวัติสังคมนิยม ตามแนวคิดกลไกของ สตาลิน ระบบทุนนิยมได้สร้างตลาดโลกและได้แบ่งงานและการผลิตในระดับโลก ฉะนั้นระบบทุนนิยมจึงช่วยเตรียมเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกเพื่อการเปลี่ยน แปลงสังคมนิยม

8. ในประเทศต่างๆ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะมีอัตราความรวดเร็วที่ต่างกัน ในบางกรณีประเทศที่ล้าหลังอาจเกิดสังคมนิยมก่อนประเทศก้าวหน้า แต่การสร้างสังคมนิยมที่สมบูรณ์จะใช้เวลายาวนานกว่าถ้าเทียบกับประเทศพัฒนา

9. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้าง “สังคมนิยมในประเทศเดียว” ของ สตาลิน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปฏิกิริยาที่ต่อต้านประเพณีตุลาคม 1917 เป็นทฤษฎีเดียวที่ขัดแย้งอย่างถึงที่สุดกับทฤษฎีปฏิวัติถาวร การแบ่งงานกันทำในระบบเศรษฐกิจโลก การที่อุตสาหกรรมโซเวียดต้องพึ่งพาเทคโนโลจีต่างชาติ และการที่ระบบการผลิตของประเทศพัฒนาในยุโรปต้องพึ่งทรัพยากรและวัตถุดิบจาก เอเชีย ฯลฯ ทำให้การสร้างระบบสังคมนิยมที่มีเอกราชในประเทศเดียวเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ ได้


(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/02/blog-post_5945.html?spref=f

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น