หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

นานาทรรศนะ "ครม.ปู3"

นานาทรรศนะ "ครม.ปู3"




วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ

การ ปรับ ครม. เป็นดุลพินิจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งในทางการเมืองการปรับ ครม.ในครั้งนี้มีการดึงบุคลากรที่เป็นอดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 111 หลายคนมาอยู่ใน "ครม. ปู 3" ซึ่งเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ทางการเมือง มีความรู้ ความสามารถ อาทิ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล นายวราเทพ รัตนากร เป็นต้น ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่มีบุคคลดังกล่าวเข้ามาร่วม ครม.ชุดนี้ เพราะบุคคลที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรีใน ครม.ชุดนี้เป็นบุคคลที่ต้องมาขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเข้ามาจะทำให้รัฐบาลมีผลงานมากขึ้น ทั้งนี้ นับจากนี้อดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 111 กำลังจะเริ่มเข้ามามีบทบาทในรัฐบาลอย่างเป็นทางการขึ้นเรื่อยๆ

"ชื่อ ของ นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ ที่มีชื่อเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลเลือกบุคคลที่เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในเรื่องที่จะต้องเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายในด้านนั้นให้เป็นผู้ รับผิดชอบ แต่รายชื่อบุคคลที่สังคมยังตั้งคำถามว่าจะสามารถมาทำงานในหน้าที่นั้นได้ หรือไม่ก็ควรจะให้เวลาในการทำงานสัก 3 เดือนก่อน แล้วค่อยมาตั้งคำถามว่าบุคคลที่เข้ามานั้นมีความรู้ความสามารถหรือไม่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ"

ประเด็นที่สำคัญที่สุด ในการปรับ ครม.ในครั้งนี้คือรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย (พท.) จะทำอย่างใรให้ช่องว่างของระยะห่างความสัมพันธ์กับมวลชนคนเสื้อแดงไม่ห่างจน เกินไป จะต้องให้นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ว่าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค พท. ทำหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ดังกล่าวได้อย่างไม่มีข้อบกพร่อง

"ไม่ รู้ว่าการปรับ ครม.ในครั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีส่วนเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด แต่การจะตัดสินใจโดยคนคนเดียวคงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรที่จะวนเวียนอยู่กับ พ.ต.ท.ทักษิณ หาก พ.ต.ท.ทักษิณจะมีส่วนในการปรับ ครม.ก็จะต้องดูว่าบุคคลที่เข้ามามีความรู้ความสามารถ และความเหมาะสมหรือไม่ หัวใจสำคัญที่สุดคือการบริหารของรัฐบาลในเวลานี้ คือทำอย่างไรให้อดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 111 มวลชนกับมวลชนคนเสื้อแดง เข้ามาอยู่ในพรรค พท. และรัฐบาลเกิดความลงตัวที่สุด"


อัษฎางค์ ปาณิกบุตร
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์

การ ปรับ ครม.ครั้งนี้ต้องยอมรับว่าเป็นการรอมชอมที่ดีมาก หมายความว่า ได้ทั้งฝีมือที่ดีกว่าเดิม และความประนีประนอมในพรรค ข้อขัดแย้งแทบจะไม่มี สิ่งสำคัญก็คืออำนาจในการตัดสินใจเริ่มมาอยู่ที่

นายกฯยิ่งลักษณ์มาก ขึ้น ตัวพรรคเมื่อได้รับเลือกตั้งก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ เพราะอยู่ในสภามีอำนาจ ส่วนคนเสื้อแดงบทบาทถูกลดลงไป เช่นเดียวกับอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ที่เคยมีอำนาจมาก แต่ตอนนี้มีน้อยลง สังเกตจากการที่สมาชิกบ้านเลขที่ 111 เข้ามาในคณะรัฐมนตรีครั้งนี้น้อยมาก หรือแม้แต่คุณจตุพร พรหมพันธุ์ ก็ยังเข้ามาไม่ได้ ทั้งๆ ที่อดีตนายกฯทักษิณพูดไว้แล้ว ถามว่าจะมีการกระทบกระทั่งกันไหม ก็คงกระทบสักพักแล้วก็ค่อยๆ หายไป

ตัวบุคคลที่เข้ามาจะเสริมด้าน บริหารมากขึ้น เพราะเป็นคนที่มีประสบการณ์และค่อนข้างไว้ใจได้ มืออาชีพมากขึ้น มือฝึกหัดน้อยลง แต่การเปลี่ยนบางคนหรือบางกระทรวงทั้ง 3 ครั้งก็ไม่เป็นผลดี เพราะแสดงให้เห็นว่านโยบายพรรคไม่ได้มองงานกับประชาชนเป็นหลัก ตรงนี้ก็อาจจะมีคนแย้งขึ้นมาได้ หรืออาจพูดได้เลยว่าในการปรับ ครม. 3 ครั้งนี้ พรรคเพื่อไทยไม่สนใจเรื่องผิดฝาผิดตัวเลย เอาคนไปฝึกหัดทั้งนั้นเลย ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน คิดว่าเมื่อเป็นรัฐมนตรีแล้วเรียนรู้เอง หรือเอาใครมาก็เป็นได้ ซึ่งไม่ถูก เพราะจะทำงานช้า และมีปัญหากับข้าราชการประจำ

หากกล่าวโดยเปรียบ เทียบการปรับทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมา ชุดนี้แข็งที่สุด ในแง่ตัวชื่อเสียง ตัวบุคคล และประสบการณ์การทำงาน แต่สิ่งที่บกพร่องมากที่สุดทั้ง 3 ครั้งก็คือไม่สนใจประชาชนเท่าที่ควร คนที่จะทำงานเพื่อประชาชน ยังไม่ชัดเจน ส่วนใหญ่ปรับเพื่อการเมืองเป็นหลัก ปรับเพื่อประชาชนเป็นรอง ผมคิดว่าสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ควรเข้ามามากกว่านี้ เช่น คุณจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นคนมีฝีมือ และเหมาะจะนั่งกระทรวงศึกษาธิการ หรือคุณพงศ์เทพ เทพกาญจนา ก็ควรจะได้ดูแลกระทรวงยุติธรรม หรือคุณภูมิธรรม เวชยชัย เหมาะจะทำงานด้านบริหาร แบบนี้จะไม่ผิดฝาผิดตัว

สุขุม นวลสกุล
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์

การ ปรับ ครม.ครั้งนี้ดีขึ้นหรือไม่ดีขึ้น คงยังตอบยาก เพราะว่าการปรับครั้งนี้ไม่ได้เป็นเพราะรัฐบาลเลวลง แต่เป็นเพราะแรงกดดันภายในพรรค และเพราะการเจรจาต่อรอง แม้แต่ตัวท่านนายกฯเองก็ยังมีความพอใจในคณะรัฐมนตรีชุดเก่าอยู่ด้วยซ้ำไป

ถาม ว่าการปรับครั้งนี้เป็นการเสริมจุดบกพร่องตรงไหน เสริมงานการเมืองหรือการบริหาร ตรงนี้ผมมองว่าไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ เพียงแต่ว่าคนเหล่านี้ถูกมองอยู่แล้วว่าถ้ามีการปรับเขาต้องเข้ามาแน่ๆ ต้องเข้าใจว่าเป็นสมบัติผลัดกันชม แต่ก็ได้คนซึ่งเคยมีบทบาทมาก่อน อย่างพวกเก่าที่กลับเข้ามา ที่เคยเป็นรัฐมนตรี ดูแข็งกว่าชุด "ปู 2" แต่ก็มีคนใหม่ที่เราไม่รู้จัก เช่น นายประเสริฐ บุญชัยสุข

"อดีต นายกฯทักษิณเองยังคงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอยู่เป็นธรรมดา เพราะเขาเป็นเจ้าของพรรค เพียงแต่ว่าตอนนี้ผู้จัดการใหญ่คือนายกฯยิ่งลักษณ์ รู้สึกว่าตอนนี้จะเสียงดังขึ้น และมีส่วนในการกำหนดด้วย ท่านยังยืนหยัดคุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง คุณปลอดประสพ สุรัสวดี เอาไว้ได้ หรือแม้แต่คุณเฉลิม อยู่บำรุง ก็ยังอยู่ เพราะคนเหล่านี้ทำงานเข้าขา และเป็นที่พอใจของนายกฯยิ่งลักษณ์"


ตัน ภาสกรนที
เจ้าของธุรกิจน้ำดื่มชาเขียว แบรนด์"อิชิตัน"

เห็นด้วยกับการปรับ ครม.โดยการนำคนใหม่ๆ

เข้ามา การทำงานทุกอย่างต้องมีการเปลี่ยน

แปลง ส่วนจะดีหรือไม่ในอนาคตต้องติดตามผลงานกันต่อไป และการเปลี่ยนแปลงทำให้ทุกอย่างดีขึ้น หากใครทำงานไม่ดี เปลี่ยนได้อีกในอนาคต อะไรที่อยู่นานๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ดี พอเปลี่ยนแปลงแล้วจะมีอะไรใหม่ๆ และตำแหน่งทางการเมืองเป็นเรื่องบริการประชาชนอย่าไปติดยึด การเมืองเดี๋ยวไปเดี๋ยวมา เป็นการอาสา

ในเชิงธุรกิจอยากได้อะไรใหม่ อยากได้คนที่มีประสบการณ์ทางการเมือง มีความสามารถเข้ามาในการเมือง ประเทศต้องการคนใหม่ๆ ที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ใหม่ๆ ต้องมีสองอย่างประกอบกัน ทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ ข้อดี คนรุ่นเก่า มีประสบการณ์ในการทำงาน แต่คนรุ่นใหม่ มีวิสัยทัศน์มีวิธีการแบบใหม่ๆ ที่เหมาะกับปัจจุบันสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงทุกวัน เมืองไทยกำลังจะมี 3จี หากเป็นคนรุ่นเก่า อาจไม่เข้าใจเทคโนโลยี ไม่เข้าใจพฤติกรรมบริโภค
 

ธนิต โสรัตน์
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ภาพรวม สำหรับเอกชนถือว่ารับได้ ไม่เลวกว่าเดิม และดูแล้วอาจดีกว่าเดิมก็ได้ โดยเฉพาะในส่วนของรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ เพราะหลายกระทรวงได้มือทำงานคนเก่าๆ กลับเข้ามา เช่น นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายวราเทพ รัตนากร เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ

เมื่อชำแหละรายกระทรวงพบว่ารัฐบาล ตัดสินใจถูกแล้วที่ไม่เปลี่ยนนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพราะเข้าใจการทำงานเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องการส่งออก และจำนำข้าว โดยการส่งออกปี 2556 เป็นเรื่องท้าทายกว่าปีนี้ เพราะคาดว่าเศรษฐกิจจะต่ำสุด ดังนั้น ประเทศไทยต้องรับมือให้ดี ตัวเลขส่งออกต้องอยู่บนฐานความจริง ไม่สูงเกินไปเหมือนปีนี้ อีกทั้งนายบุญทรงยังรู้ปัญหาเรื่องการจำนำข้าวและเข้าใจขั้นตอนมากที่สุด หากเปลี่ยนรัฐมนตรีแล้วปัญหาตามมา ท่านใหม่อาจปัดให้พ้นตัวแล้วอ้างว่าไม่ได้

สั่งการ

ขณะที่ กระทรวงคมนาคมถือว่าถูกใจที่เป็นนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เพราะดูเป็นคนเก่ง รู้รายละเอียดของงาน เชื่อว่าจะบริหารงบประมาณกระทรวงประมาณ 4-5 แสนล้านบาทได้ ทั้งนี้ มีงานด้านโลจิสติกส์ที่รอให้แสดงผลงาน อาทิ รถไฟความเร็วสูงจะเกิดที่ไหนบ้างเพราะเอกชนยังสับสน แผนขยายสนามบินเพราะดอนเมืองแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ท่าเรือแหลมฉบังที่แออัดมากต้องให้รัฐบาลแก้ไข การที่นายชัชชาติเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ มีความสด เชื่อว่าจะไม่ทำให้ตัวเองต้องเสียหายง่ายๆ"

สำหรับกระทรวงพลังงาน เชื่อว่านายพงษ์ศักดิ์จะเข้าใจถึงแนวทางบริหาร ทั้งน้ำมัน ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ซึ่งรัฐบาลควรสนับสนุนให้ใช้ในรถบรรทุก รถที่เก่าอาจช่วยเรื่องอุปกรณ์ ส่วนเรื่องไฟฟ้าไทยต้องชัดเจนว่าจะพึ่งพาพลังงานแหล่งใด เพราะปัจจุบันพึ่งพิงต่างประเทศเกินไป เช่นพม่า เป็นต้น โดยพม่าอาจเลือกขายไฟให้ประเทศอื่นหากได้ประโยชน์มากกว่า

กระทรวง อุตสาหกรรมไม่คุ้นเคยจึงไม่สามารถวิจารณ์ได้ ต้องรอดูผลงานก่อน แต่อยากให้ดำเนินนโยบายให้สอดคล้องเพราะปีนี้คำขอส่งเสริมการลงทุนคาดว่าจะ ถึง 1 ล้านล้านบาท แต่หากนักลงทุนยื่นขอตั้งโรงงานแล้วติดปัญหาเรื่องการอนุญาต กระทรวงต้องพิจารณา คณะกรรมการกลั่นกรองโรงงานมีความจำเป็นแค่ไหน

"ราย ชื่อ ครม.ปู 3 รับได้ แต่สำคัญกว่านั้นคือต้องทำงานร่วมกัน เดินหน้าบริหารประเทศ ไม่ใช่มัวแต่เล่นการเมืองของบรรดารัฐมนตรีที่เป็นนักการเมือง เช่น แสดงตัวว่าคุยกับนายกรัฐมนตรีโดยตรง หรือต่อสายถึงนายใหญ่ได้"


สมชาย พรรัตนเจริญ
นายกสมาคมค้าส่ง-ปลีก ไทย

การ ปรับ ครม.ครั้งนี้ดูแล้วไม่มีอะไรใหม่ เป็นการปรับตอบแทนเพื่อให้บุคคลที่เคยหมดสิทธิทางการเมือง ในบ้านเลขที่่่ 111 กลับเข้ามาอีก เป็นการลดแรงกระเพื่อมทางการเมือง ให้แต่ละกลุ่มมีตำแหน่ง อีกทั้ง เพื่อให้ผลประโยชน์ประสานกัน

ส่วนรัฐมนตรีเดิม ที่เคยดำรงตำแหน่งได้มีการโยกสลับไปอยู่กระทรวงอื่น ไม่มีอะไรใหม่เช่นกัน จึงมีคำถามว่าสุดท้ายแล้วประเทศได้อะไร

อย่าง ไรก็ตาม ประชาชนที่นั่งดูอยู่ จะเป็นผู้ให้คำตอบได้ดีว่า ครม.ชุดใหม่ที่ปรับครั้งนี้ยี้หรือไม่ยี้ เป็นการปรับเพื่อประโยชน์ของประเทศหรือปรับเพื่อใคร และประชาชนจะเป็นผู้ติดตามตัดสินว่าผลงานแต่ละกระทรวงของรัฐมนตรีเข้าตาหรือ ไม่ อยากได้คนที่มีความรู้ มีความสามารถเข้ามาบริหาร เพราะขณะนี้้ประเทศไทยผจญกับวิกฤตหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก จึงต้องมีคนมีความรู้ เป็นคนกล้าตัดสินใจ ต้องลดบางอย่างเพื่อให้ประเทศไปต่อได้

 
(ที่มา)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1351306305&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น