ก้าวต่อไปของ "ครก." เมื่อ "สภา" ไม่รับ "ม.112"
39,185 คน คือ
จำนวนประชาชนผู้ร่วมลงชื่อเพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ
"กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ซึ่ง "คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112)"
อาทิ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, นิธิ เอียวศรีวงศ์, พวงทอง ภวัครพันธุ์, เวียงรัฐ
เนติโพธิ์, ยุกติ มุกดาวิจิตร, วันรัก สุวรรณวัฒนา, วาด รวี
และเครือข่ายภาคประชาชน ร่วมกันยื่นให้กับ วิสุทธิ์ ไชยณรุณ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 ตัวแทนประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม
พ.ศ.2555
หลังจากเดินหน้ารณรงค์อย่างเข้มข้นตั้งแต่กลางเดือนมกราคม จนนักวิชาการ นักคิด นักเขียนที่ออกมาให้ความรู้และคำอธิบายแก่ประชาชนได้รับทั้งอ้อมกอดและ กำปั้น
เกิด "ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์" ที่สั่นสะเทือนสังคมไทยอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง
ล่าสุด เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์รัฐสภาได้เผยแพร่เอกสารสรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ระบุว่า
ได้สั่งจำหน่ายเรื่องการเข้าชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของนายชาญวิทย์ พร้อมด้วยประชาชน 30,383 คน
ขณะเดียวกัน นิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาในฐานะรักษาการประธานสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น ได้ทำความเห็นระบุว่า เรื่องดังกล่าว
ไม่ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 163 ว่าด้วยเรื่องการเสนอชื่อของประชาชนที่กำหนดให้สามารถแก้ไขกฎหมายได้เพียง 2 หมวดเท่านั้น คือ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ แต่การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เกี่ยวข้องกับหมวด 2 ของรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องพระมหากษัตริย์
ความพยายามขับเคลื่อนแก้ไข ม.112 โดยภาคประชาชนอย่างต่อเนื่องกว่า 5 เดือน จึงมีอันต้องตกไป
พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในสมาชิกคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 กล่าวว่า ประชาชนที่สนับสนุน และกลุ่มนักวิชาการรู้สึกผิดหวัง แม้จะไม่คิดว่าการยื่นแก้ไขมาตรา 112 จะราบรื่น หรือเป็นไปอย่างง่ายดาย แต่ก็ยังหวังว่ารัฐสภาน่าจะให้โอกาสกับตัวแทนจาก ครก.112 หรือคณะนิติราษฎร์ซึ่งเป็นผู้ร่างกฎหมายนี้ ไปให้คำอธิบาย
"เมื่อเขาบอกว่าไม่เข้าข่ายกฎหมายที่อยู่ในหมวดสิทธิและ
เสรีภาพ ทางสภา โดยท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือตัวแทน
ควรมาถกกับเราว่าคำว่าสิทธิเสรีภาพของพวกเขาหมายถึงอะไรกันแน่
การปัดตกโดยไม่พยายามจะอธิบาย
ทำความเข้าใจว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนมีขอบเขตอย่างไร มีความหมายอย่างไร
มันแสดงความคับแคบของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีหน้าที่ปกป้องระบอบ
ประชาธิปไตย ที่มีหัวใจสำคัญคือสิทธิเสรีภาพของประชาชน"
นักวิชาการผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญของ ครก.112 กล่าว
และบอกอีก ว่า ปัจจุบันบุคคลในวงการตุลาการตระหนักถึงปัญหาและระมัดระวังมากเกี่ยวกับ ม.112 มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดคดี "อากง sms" ซึ่งมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เป็นผลเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันตุลาการโดยตรง แต่ถึงแม้จะดูเหมือนสถานการณ์การใช้ ม.112 จะดีขึ้น มีการยกฟ้องในหลายๆ คดี แต่ยังเป็นเฉพาะกรณี จึงไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนโดยทั่วไป การแก้ไข ม.112 ยังเป็นสิ่งจำเป็น
"ครก.112 ต้องมีการปรึกษาหารือกันอีกครั้งว่าจะทำอะไรได้บ้าง แต่มาถึงวันนี้ก็ยอมรับว่ายากที่เราจะทำอะไรต่อไป อาจจะต้องเป็นการรณรงค์ในเชิงให้ความรู้ ใช้กำลังที่มีอยู่ไปในการให้ความเข้าใจกับประชาชน มากกว่าที่จะมุ่งไปที่การแก้กฎหมายอย่างเดียว" พวงทองกล่าว
ขณะที่ ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า ร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยคณะนิติราษฎร์ ซึ่ง ครก.112 เสนอไป ได้เขียนใบปะหน้าถึงประธานรัฐสภา แสดงเหตุผลไว้ทั้งหมดว่าเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนในหลายประเด็น อาทิ
1.กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา เช่น จำคุก ปรับ เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ดังนั้น โดยหลักแล้วกฎหมายอาญาแทบจะทุกเรื่องเข้าข่าย หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพ ในรัฐธรรมนูญได้ทั้งหมด
2.กฎหมายอาญามาตรา 112
เป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น กล่าวคือ
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หมายถึง ทุกคนสามารถแสดงออกซึ่งความคิดเห็นได้
ในลักษณะเดียวกับกฎหมายหมิ่นประมาทที่บุคคลแสดงความคิดเห็นได้ทั้งหมด
ยกเว้นบางเรื่องซึ่งเป็นการหมิ่นประมาท ก็จะมีโทษตามแต่กรณี
3.เนื้อหา ของกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่เป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน ซึ่งในรัฐธรรมนูญเขียนไว้ในมาตรา 29 กล่าวคือ ถ้าจะมีมาตรการหรือกฎหมายใดๆ มาจำกัดสิทธิและเสรีภาพต้องทำไปพอสมควรแก่เหตุ ไม่มากจนเกินไป
"การ ที่เราเปิดให้เข้าชื่อแก้ ม.112 เป็นหนทางที่พยายามปฏิรูปกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์และกฎเกณฑ์ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้โดยใช้ช่องทาง ตามรัฐธรรมนูญ หรือพูดง่ายๆ ว่าใช้ช่องทางตามระบบ ใช้ช่องทางสันติ และทำตามกำลังที่เรามี เพราะเรารู้ว่านักการเมืองไม่กล้าริเริ่มเรื่องพวกนี้ แต่สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้มาก็แสดงให้เห็นว่าทุกประตูปิดหมด
"หมาย ความว่า สังคมนี้ โดยเฉพาะองค์กรและคนในองค์กรที่อยู่ในระบบพร้อมใจกันหยุด เป็นสัญญาณว่ากระบวนการเปลี่ยนผ่านอย่างสันติมันตันไปหมดแล้ว เขาต้องการให้เรื่องเงียบๆ จบๆ ไป แต่ปัญหาคือมันสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้อง" นักกฎหมายมหาชนจากคณะนิติราษฎร์กล่าว
ด้าน วาด รวี นักเขียน และสมาชิก ครก.112 แสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กของตน กล่าวถึงจดหมายจากรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งแจ้งว่า ประธานสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า "การแสดงความคิดเห็นของบุคคลอันเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย มาตรา 45 ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 8"
และ การกำหนดโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่เป็นการละเมิดต่อเสรีภาพในร่างกาย ไม่เป็นการทรมาน การทารุณกรรม เพราะเป็นเพียงการกำหนดกรอบอัตราโทษขั้นสูง ขั้นต่ำ และการลงโทษเป็นดุลพินิจของศาลในการพิจารณาตามความร้ายแรงและความชั่วร้ายใน การกระทำความผิด
ทั้งนี้ วาด รวี ได้แสดงเหตุผลโต้แย้ง 2 ประการ คือ
หนึ่ง... โดยหลักของประเทศประชาธิปไตยสากลที่มีกษัตริย์ มาตราในลักษณะเดียวกับมาตรา 8 เป็นเพียงการประกาศให้รู้ว่าประเทศราชอาณาจักร แต่กษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ...กษัตริย์ในฐานะ "สถาบัน" หรือ "องค์กรทางการเมือง"ย่อมจะต้องอยู่ภายใต้หลักของความโปร่งใส ตรวจสอบวิจารณ์ได้ เช่นเดียวกับสถาบันอื่นในสังคมประชาธิปไตย การตีความของประธานรัฐสภาไม่อาจยอมรับได้โดยมาตรฐานของความเป็นประชาธิปไตย สากล...
สอง... อัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอาญามาตรา 112 "ละเมิด" สิทธิ เสรีภาพอย่างร้ายแรง เพราะเป็นอัตราโทษที่ ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำผิด? (ซึ่งเป็นการกระทำโดยวาจา) การยืนยันแบบกำปั้นทุบดินว่า ไม่เป็นการทรมานหรือทารุณกรรม เพราะเป็นการใช้ดุลพินิจของศาลตามความร้ายแรงของการกระทำผิด เป็นคำตอบที่ "ไร้สำนึก" โดยสิ้นเชิง...
"ถ้ารัฐสภาซึ่งเป็นองค์กรตัวแทนของ ประชาชนเป็นห่วง "การเมือง" ยิ่งกว่า "หลักการ" อย่างที่เป็นอยู่นี้ สถานการณ์สิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตยในไทย คงต้องตกระกำลำบากกันต่อไป" วาด รวี ระบุทิ้งท้าย
ทั้งหมดนี้ เป็นความคิดความเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขประมวลอาญา มาตรา 112 ซึ่งมีปัญหาทั้งในแง่ตัวบทกฎหมาย การบังคับใช้ และถูกฉวยใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งกันทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ นับแต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา
เป็นแรงกระเพื่อมหลังจาก "ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์" ค่อยๆ แผ่วหายไปจากความรับรู้และความสนใจของสังคม
ส่วน จะเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิ เสรีภาพ โดยภาคประชาชนที่กำลังถูกกลบหายไปอยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็งทางการเมืองไทยอีก ครั้งหรือไม่
ต้องติดตาม...
3.เนื้อหา ของกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่เป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน ซึ่งในรัฐธรรมนูญเขียนไว้ในมาตรา 29 กล่าวคือ ถ้าจะมีมาตรการหรือกฎหมายใดๆ มาจำกัดสิทธิและเสรีภาพต้องทำไปพอสมควรแก่เหตุ ไม่มากจนเกินไป
"การ ที่เราเปิดให้เข้าชื่อแก้ ม.112 เป็นหนทางที่พยายามปฏิรูปกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์และกฎเกณฑ์ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้โดยใช้ช่องทาง ตามรัฐธรรมนูญ หรือพูดง่ายๆ ว่าใช้ช่องทางตามระบบ ใช้ช่องทางสันติ และทำตามกำลังที่เรามี เพราะเรารู้ว่านักการเมืองไม่กล้าริเริ่มเรื่องพวกนี้ แต่สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้มาก็แสดงให้เห็นว่าทุกประตูปิดหมด
"หมาย ความว่า สังคมนี้ โดยเฉพาะองค์กรและคนในองค์กรที่อยู่ในระบบพร้อมใจกันหยุด เป็นสัญญาณว่ากระบวนการเปลี่ยนผ่านอย่างสันติมันตันไปหมดแล้ว เขาต้องการให้เรื่องเงียบๆ จบๆ ไป แต่ปัญหาคือมันสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้อง" นักกฎหมายมหาชนจากคณะนิติราษฎร์กล่าว
ด้าน วาด รวี นักเขียน และสมาชิก ครก.112 แสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊กของตน กล่าวถึงจดหมายจากรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งแจ้งว่า ประธานสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า "การแสดงความคิดเห็นของบุคคลอันเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย มาตรา 45 ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 8"
และ การกำหนดโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่เป็นการละเมิดต่อเสรีภาพในร่างกาย ไม่เป็นการทรมาน การทารุณกรรม เพราะเป็นเพียงการกำหนดกรอบอัตราโทษขั้นสูง ขั้นต่ำ และการลงโทษเป็นดุลพินิจของศาลในการพิจารณาตามความร้ายแรงและความชั่วร้ายใน การกระทำความผิด
ทั้งนี้ วาด รวี ได้แสดงเหตุผลโต้แย้ง 2 ประการ คือ
หนึ่ง... โดยหลักของประเทศประชาธิปไตยสากลที่มีกษัตริย์ มาตราในลักษณะเดียวกับมาตรา 8 เป็นเพียงการประกาศให้รู้ว่าประเทศราชอาณาจักร แต่กษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ...กษัตริย์ในฐานะ "สถาบัน" หรือ "องค์กรทางการเมือง"ย่อมจะต้องอยู่ภายใต้หลักของความโปร่งใส ตรวจสอบวิจารณ์ได้ เช่นเดียวกับสถาบันอื่นในสังคมประชาธิปไตย การตีความของประธานรัฐสภาไม่อาจยอมรับได้โดยมาตรฐานของความเป็นประชาธิปไตย สากล...
สอง... อัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอาญามาตรา 112 "ละเมิด" สิทธิ เสรีภาพอย่างร้ายแรง เพราะเป็นอัตราโทษที่ ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำผิด? (ซึ่งเป็นการกระทำโดยวาจา) การยืนยันแบบกำปั้นทุบดินว่า ไม่เป็นการทรมานหรือทารุณกรรม เพราะเป็นการใช้ดุลพินิจของศาลตามความร้ายแรงของการกระทำผิด เป็นคำตอบที่ "ไร้สำนึก" โดยสิ้นเชิง...
"ถ้ารัฐสภาซึ่งเป็นองค์กรตัวแทนของ ประชาชนเป็นห่วง "การเมือง" ยิ่งกว่า "หลักการ" อย่างที่เป็นอยู่นี้ สถานการณ์สิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตยในไทย คงต้องตกระกำลำบากกันต่อไป" วาด รวี ระบุทิ้งท้าย
ทั้งหมดนี้ เป็นความคิดความเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขประมวลอาญา มาตรา 112 ซึ่งมีปัญหาทั้งในแง่ตัวบทกฎหมาย การบังคับใช้ และถูกฉวยใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งกันทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ นับแต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา
เป็นแรงกระเพื่อมหลังจาก "ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์" ค่อยๆ แผ่วหายไปจากความรับรู้และความสนใจของสังคม
ส่วน จะเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิ เสรีภาพ โดยภาคประชาชนที่กำลังถูกกลบหายไปอยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็งทางการเมืองไทยอีก ครั้งหรือไม่
ต้องติดตาม...
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น