การเมืองบนท้องถนนของจีน ปัญหาทีทรรศน์ของภาครัฐ-พรรค
fรอบปี ค.ศ.2011 ที่ผ่านมา ทางการจีนบันทึกสถิติว่ามี
"เหตุการณ์มวลชน" (ประท้วง บนท้องถนน) ทั่วประเทศประมาณ 180,000 ครั้ง
เฉลี่ยวันละเกือบ 500 ครั้ง สูงกว่าสถิติเมื่อปี ค.ศ.2008 ถึงสองเท่าครึ่ง!
(http://mondediplo.com/2012/09/08rivals )
ขณะเดียวกัน งบประมาณรักษาความมั่นคงภายในประเทศของจีนก็ไต่ขึ้นสูงถึง 514 พันล้านหยวนในปี ค.ศ.2010 เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ.2009 ถึง 16% (และงบด้านนี้ของปี 2009 ก็เพิ่ม ขึ้นจากปี ค.ศ.2008 ถึง 8.9% มาแล้ว) ทำให้มันอยู่ในระดับเดียวกับงบประมาณป้องกันประเทศ จากภัยภายนอกของจีนเลยทีเดียว! (http://www.monde-diplomatique.fr/2011/07/JUN/20764 )
ทำไมการ เมืองบนท้องถนนของจีนจึงปะทุลุกลามออกไปราวประกายไฟไหม้ลามทุ่งเช่นนี้? งบคุมม็อบมหาศาล (เฉลี่ยราว 500 หยวนต่อหัวประชากรจีนแต่ละคน) ไม่ได้ผลเลยหรือไร?
บทวิเคราะห์ที่สรุปประมวลจากโครงการวิจัยเรื่อง "สู่สังคมวิทยาจีนสำหรับอารยธรรม คอมมิวนิสต์" (http://chinaperspectives.revues.org/801 ) ของทีมนักวิชาการแห่งคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยซินหัว กรุงปักกิ่ง ได้รวบยอดความคิดเกี่ยวกับสถานการณ์สังคมจีนปัจจุบันไว้ 3 มิติ กล่าวคือ:
1) การพัฒนาเศรษฐกิจรวดเร็ว (แม้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยในอเมริกา และยุโรปบ้าง)
2) เสถียรภาพทางการเมืองวางใจได้ (แม้จะเกิดกรณีขับโค่นโปซีไหลเลขาธิการพรรค เทศบาลนครจุงกิงกับภรรยาและข่าวลือรัฐประหารตามมาเมื่อต้นปีนี้)
ทว่า 3) ความขัดแย้งทางสังคมที่แหลมคมกลับปรากฏขึ้น ถึงแม้ความเป็นไปได้ที่มัน จะนำไปสู่ความวุ่นวายทางสังคมขนานใหญ่จะยังน้อยอยู่ก็ตาม
พวก เขาเห็นว่าถึงเวลาต้องสร้าง "ธรรมาภิบาลเชิงสถาบัน" เพื่อจัดการความขัดแย้งทาง สังคมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและสิ้นเปลืองน้อยลงอย่างจริงจังแล้ว โดยตั้งอยู่บนฐานการยอมรับ นับรวมผลประโยชน์ทางสังคมอันหลากหลายเข้ามา หากรั้งรอ ลังเลหรือถ่วงเวลาเนิ่นช้าออกไปอีก อาจกลายเป็นความผิดพลาดครั้งประวัติศาสตร์ได้
พวกเขาชี้ว่าการจัดการ ความขัดแย้งทางสังคมของภาครัฐ-พรรคจีนที่ผ่านมาตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ กล่าวคือ รัฐบาลทุกระดับชั้นทุ่มเททรัพยากรบุคคล วัตถุและการเงินมากขึ้นทุกทีเพื่อรักษาเสถียรภาพไว้ กระนั้นก็ตามความเป็นปฏิปักษ์และความขัดแย้งทางสังคมกลับเพิ่มทวีขึ้น ยิ่งพยายามรักษาเสถียรภาพมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งค้ำประกันเสถียรภาพได้น้อยลงเท่านั้น แน่ล่ะว่ามีมูลเหตุทางภาววิสัยของความขัดแย้งที่เชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจ ตลาดอยู่จริง แต่การประท้วงที่เพิ่มขึ้นก็เกิด จากขาดการครุ่นคิดเกี่ยวกับความจำเป็นต้องมีตัวแบบใหม่ในการจัดการความขัด แย้งด้วย
ขณะเดียวกัน งบประมาณรักษาความมั่นคงภายในประเทศของจีนก็ไต่ขึ้นสูงถึง 514 พันล้านหยวนในปี ค.ศ.2010 เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ.2009 ถึง 16% (และงบด้านนี้ของปี 2009 ก็เพิ่ม ขึ้นจากปี ค.ศ.2008 ถึง 8.9% มาแล้ว) ทำให้มันอยู่ในระดับเดียวกับงบประมาณป้องกันประเทศ จากภัยภายนอกของจีนเลยทีเดียว! (http://www.monde-diplomatique.fr/2011/07/JUN/20764 )
ทำไมการ เมืองบนท้องถนนของจีนจึงปะทุลุกลามออกไปราวประกายไฟไหม้ลามทุ่งเช่นนี้? งบคุมม็อบมหาศาล (เฉลี่ยราว 500 หยวนต่อหัวประชากรจีนแต่ละคน) ไม่ได้ผลเลยหรือไร?
บทวิเคราะห์ที่สรุปประมวลจากโครงการวิจัยเรื่อง "สู่สังคมวิทยาจีนสำหรับอารยธรรม คอมมิวนิสต์" (http://chinaperspectives.revues.org/801 ) ของทีมนักวิชาการแห่งคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยซินหัว กรุงปักกิ่ง ได้รวบยอดความคิดเกี่ยวกับสถานการณ์สังคมจีนปัจจุบันไว้ 3 มิติ กล่าวคือ:
1) การพัฒนาเศรษฐกิจรวดเร็ว (แม้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยในอเมริกา และยุโรปบ้าง)
2) เสถียรภาพทางการเมืองวางใจได้ (แม้จะเกิดกรณีขับโค่นโปซีไหลเลขาธิการพรรค เทศบาลนครจุงกิงกับภรรยาและข่าวลือรัฐประหารตามมาเมื่อต้นปีนี้)
ทว่า 3) ความขัดแย้งทางสังคมที่แหลมคมกลับปรากฏขึ้น ถึงแม้ความเป็นไปได้ที่มัน จะนำไปสู่ความวุ่นวายทางสังคมขนานใหญ่จะยังน้อยอยู่ก็ตาม
พวก เขาเห็นว่าถึงเวลาต้องสร้าง "ธรรมาภิบาลเชิงสถาบัน" เพื่อจัดการความขัดแย้งทาง สังคมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและสิ้นเปลืองน้อยลงอย่างจริงจังแล้ว โดยตั้งอยู่บนฐานการยอมรับ นับรวมผลประโยชน์ทางสังคมอันหลากหลายเข้ามา หากรั้งรอ ลังเลหรือถ่วงเวลาเนิ่นช้าออกไปอีก อาจกลายเป็นความผิดพลาดครั้งประวัติศาสตร์ได้
พวกเขาชี้ว่าการจัดการ ความขัดแย้งทางสังคมของภาครัฐ-พรรคจีนที่ผ่านมาตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ กล่าวคือ รัฐบาลทุกระดับชั้นทุ่มเททรัพยากรบุคคล วัตถุและการเงินมากขึ้นทุกทีเพื่อรักษาเสถียรภาพไว้ กระนั้นก็ตามความเป็นปฏิปักษ์และความขัดแย้งทางสังคมกลับเพิ่มทวีขึ้น ยิ่งพยายามรักษาเสถียรภาพมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งค้ำประกันเสถียรภาพได้น้อยลงเท่านั้น แน่ล่ะว่ามีมูลเหตุทางภาววิสัยของความขัดแย้งที่เชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจ ตลาดอยู่จริง แต่การประท้วงที่เพิ่มขึ้นก็เกิด จากขาดการครุ่นคิดเกี่ยวกับความจำเป็นต้องมีตัวแบบใหม่ในการจัดการความขัด แย้งด้วย
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352430553&grpid=&catid=12&subcatid=1200
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น