หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยว่าด้วย “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” หรือ “อำนาจก่อตั้งระบอบการเมือง”

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยว่าด้วย “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” หรือ “อำนาจก่อตั้งระบอบการเมือง”

 


เมื่อคราวที่ศาลรัฐธรรมนูญ “สกัดกั้นขัดขวาง” การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับนั้น ผมได้เขียนเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับ “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” หรือ “อำนาจก่อตั้งระบอบการเมือง” (Pouvoir constituant) ไว้ในเฟซบุ๊คของผมจำนวนมาก

เมื่อกาลเวลาผ่านไป หากเราต้องการค้นหาข้อความเหล่านั้น ก็อาจทำได้ยากลำบาก หรือหากเจ้าของเฟซบุ๊คอยากย้อนกลับไปหาชีวิตในยุค Pre-Facebook (อย่างเช่นห้วงเวลานี้) ข้อความเหล่านั้น ก็จะหายตามไปด้วย

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงคัดลอกและปรับปรุงข้อความต่างๆที่เกี่ยวกับ “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” หรือ “อำนาจก่อตั้งระบอบการเมือง”  ที่ปรากฏในเฟซบุ๊คของผม และนำมาบันทึกลงไว้ในบล็อก

...

๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ 

อำนาจเป็นปรากฏการณ์ในทุกสังคม สังคมการเมืองหนึ่ง มีความสับสนวุ่นวาย นำอำนาจไปผูกไว้กับตัวคน คนที่เป็นหัวหน้าตาย ก็จะเกิดความวุ่นวาย แย่งชิงอำนาจกัน มนุษย์จึงคิดค้น innovation ใหม่ขึ้น คือ การทำให้อำนาจนั้นกลายเป็นสถาบัน อำนาจที่ถูกทำให้เป็นสถาบัน คือ "รัฐ"

รัฐ เป็นสิ่งสมมติ แต่สิ่งสมมตินั้นกลับมีพลัง เพราะ มันคืออำนาจ เมื่อรัฐเป็นสิ่งสมมติ ไม่มีแขนขา ไม่มีกาย ก็ต้องมีคนเข้ามาใช้อำนาจแทนรัฐ แล้วใครจะเป็นผู้ทรงอำนาจในรัฐนั้น? ใครจะเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจในนามรัฐ? ความสัมพันธ์ขององค์กรต่างๆในรัฐจะเป็นอย่างไร? ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนจะเป็นอย่างไร? 

ปัญหาเหล่านี้ ก็ต้องมาตกลงกันว่า สังคมการเมือง หรือรัฐนั้น จะมีกรอบอย่างไร มีกติกาอย่างไร มีการจัดวางโครงสร้างขององค์กรต่างๆอย่างไร พูดให้ชัด คือ การตกลงก่อตั้งระบอบการเมือง ระบบกฎหมายขึ้นนั้นเอง

กรอบนั้นเราเรียกว่า "รัฐธรรมนูญ"

อำนาจที่ก่อตั้งระบอบการเมือง ระบบกฎหมาย รัฐธรรมนูญ นั้น เราเรียกว่า "อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ"

ดังนั้น อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ จึงสูงสุดเด็ดขาด เป็นล้นพ้น ไม่มีข้อจำกัดใดๆทั้งสิ้น เพราะ เป็นอำนาจที่อยู่ในสภาวะก่อนมีรัฐธรรมนูญ ก่อนมีระบอบการเมือง ก่อนมีระบบกฎหมาย อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ จึงก่อตั้งระบอบการเมืองแบบใดก็ได้ แต่ในยุคปัจจุบัน อยู่ในโลกเสรีประชาธิปไตย อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ จึงก่อตั้งรัฐธรรมนูญ ระบอบการเมือง ระบบกฎหมาย ให้เป็นแบบเสรีประชาธิปไตย

ปัญหาที่ตามมา ใครคือ ผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ? 

ประเทศไทย นับแต่ ๒๔๗๕ คือ ประชาชน (ข้อนี้อาจถกเถียงกันได้ว่าเป็นของกษัตริย์ร่วมด้วยหรือไม่)

(อ่านต่อ)
http://blogazine.in.th/blogs/piyabutr-saengkanokkul/post/3755 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น