หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิเคราะห์ TPP (2): การกลับมาอีกครั้งของ FTA ไทย-สหรัฐฯ กับผลกระทบขั้นกว่า

วิเคราะห์ TPP (2): การกลับมาอีกครั้งของ FTA ไทย-สหรัฐฯ กับผลกระทบขั้นกว่า

 

 

 

เสวนาวิชาการ ‘วิเคราะห์ TPP ประเทศไทยต้องเตรียมตัวอย่างไร’ ภาคประชาชนเผยพูดเรื่อง TPP ต้องพูดถึงสหรัฐฯ เหตุ! ผลได้ของไทยอยู่แค่ที่สหรัฐฯ ชี้มิติภาคการเงิน TPP ย้ายปัญหาจาก ‘ทุนผูกขาด ธ.ไทย’ สู่การเอาเงินไปฟื้นฟูสหรัฐฯ ทั้งแจงข้อกังวลหลัก ‘การเข้าถึงยา-สิทธิบัตรพันธุ์พืช’

วันที่ 17 พ.ย.55 แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ ‘วิเคราะห์ TPP ประเทศไทยต้องเตรียมตัวอย่างไร’ ณ ศศนิเวศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อชี้แจงรายละเอียดของข้อห่วงใยต่างๆ ต่อความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ก่อนที่จะแถลงข่าวร่วมของผู้นำไทยและสหรัฐฯ สำหรับทิศทางความร่วมมือดังกล่าว

‘TPP’ การกลับมาอีกครั้งของ FTA ไทย-สหรัฐ

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ในบริบทสังคมไทย TPP คือการเริ่มต้นใหม่ของ FTA กับสหรัฐฯ ซึ่งส่วนตัวคิดว่าเป็น FTA ที่สังคมไทยหวั่นเกรงมากที่สุดเท่าที่เคยทำมา หากย้อนไปในการชุมนุมที่เชียงใหม่ ผู้ชุมนุมประมาณ 6,000 คนจากจำนวนนับหมื่นมาจากเครือข่ายผู้ติดเชื้อ และอีกประมาณ 3,000 คน มาจากเครือข่ายเกษตรกร เพราะเล็งเห็นว่าจะเห็นผลกระทบอย่างสำคัญต่อภาคเกษตรในเรื่องทรัพย์สินทาง ปัญญาที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม โดยเฉพาะสิทธิบัตรในพันธุ์พืช-สัตว์ และการคุ้มครองสิทธิของบริษัทเมล็ดพันธุ์ที่มากไปกว่าข้อตกลงภายใต้ WTO โดยขณะนั้นคนในรัฐบาลไทยรักไทยและสถาบันทางวิชาการอย่าง TDRI ต่างก็ออกมาแสดงความหวั่นเกรงในประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งเรื่องยาและสิทธิบัตรในเมล็ดพันธุ์ด้วย

(อ่านต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น