หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จุดอ่อน-ข้อดี และ′ประชาธิปไตย′ ในรัฐธรรมนูญ 2550

จุดอ่อน-ข้อดี และ′ประชาธิปไตย′ ในรัฐธรรมนูญ 2550



 
หากไม่มีข้อขัดข้องใดๆ การลงประชามติ ว่าสมควรแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ จะเกิดขึ้นในห้วงเวลา ระหว่าง 12 มี.ค. ถึง 12 เม.ย. 2556

เป็นเวลาที่เหมาะสม เพราะเป็นหน้าร้อน ปลอดฟ้าฝน การเดินทางสะดวก ง่ายดาย

เอื้ออำนวยให้คนจำนวนมาก ออกมาลงคะแนนเสียง ว่าสมควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550

หรือไม่

เพื่อปูทางไปสู่การมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ

แล้วยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ให้เป็นรัฐธรรม นูญฉบับประชาชน

คล้ายกับรัฐธรรมนูญปี 2518 และรัฐ ธรรมนูญ 2540

ซึ่งมีที่มาจาก "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ" และ "สภาร่างรัฐธรรมนูญ"

อันเป็นสภาที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม จากประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ

ภายใต้บรรยากาศประชาธิปไตย หลังเหตุ การณ์ 14 ต.ค. 2516

และภายใต้รัฐบาลเลือกตั้งจากพรรคชาติไทย เมื่อปี 2539

ส่วนรัฐธรรมนูญ 2550 นั้น มีที่มาอัน แตกต่าง

แม้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีที่มาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ อันมีชื่อคล้ายกับสภาร่างรัฐธรรมนูญของฉบับ 2540 ก็จริง

แต่ก็เป็นสภาร่างที่ผิดแผกแตกต่างอย่างมาก


สภา ร่างฯของปี 2539 ผู้ทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ 2540 มาจากการเลือกตั้งของประชาชนแต่ละจังหวัด แล้วคัดเลือกกันเอง เหลือจังหวัดละ 10 คน

ส่งชื่อให้รัฐสภาเลือก เหลือจังหวัดละ 1 คน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญอีก 23 คน รวมเป็น 99 คน

ขณะที่สภาร่างฯของรัฐธรรมนูญ 2550 เป็น การพิจารณาเลือกตัวบุคคล โดยคณะรัฐประหารปี 2549

เริ่มจากจำนวน 1,982 คน เลือกกันเองให้เหลือ 200 คน

ขั้นตอนสุดท้าย "คณะมนตรีความมั่นคง แห่งชาติ" อันเป็นองค์กรของคณะรัฐประหาร เลือกให้เหลือ 100 คน แล้วยกร่างรัฐธรรมนูญ

ภายใต้บรรยากาศของรัฐบาลแต่งตั้ง ที่มี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ปิดท้ายกรรมวิธีด้วยการ "ลงประชามติ" ที่มีการเรียกร้องว่า "ให้รับๆ กันไปก่อน แล้วไปแก้ทีหลัง"

เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้น ในรัฐธรรมนูญ รสช. เมื่อปี 2535 ที่ให้ใช้ไปก่อน แล้วค่อยไปยกร่าง

ใหม่

จึงเกิดการยกร่างใหม่ ในปี 2539 จนกลายเป็นรัฐธรรมนูญ 2540 และถือเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด

พลันที่มีข่าวออกไปว่า จะมีการลงประชามติ ว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่

พรรคประชาธิปัตย์ ก็ประกาศคัดค้านทันที

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยบนเวที จ.นครปฐม ว่า "ได้ยินการปรึกษาหารือ" กันของ "พวกนั้น"

ว่าจะแก้ไข เพื่อให้พวกตัวเอง ได้แต่งตั้งประธานศาลฎีกา

เพื่อให้ศาลยุติธรรม ได้ "ยึดโยง" กับประชาชน

จะมีการแก้ไขมาตรา 309 เพื่อล้มคดีทั้ง หลายของพี่ชาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

เพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับบ้าน

พร้อมกับเรียกร้องและเชิญชวน "พ่อแม่พี่น้อง" ให้นอนอยู่ที่บ้าน

เพื่อให้การลงประชามติ ล้มคว่ำไป

น่าสังเกตว่า แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง "ข้อเสีย" ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งยังไม่ได้ยกร่าง อย่างคล่องปาก และ รู้แจ้งแทงทะลุ

ทั้งที่กระบวนการของรัฐธรรมนูญ ยังอยู่ในขั้นตอนขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อไขกุญแจไป สู่การเริ่มต้นมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ

ยังไม่มีใครรู้ว่าเนื้อหาของรัฐธรรมนูญจะ ออกมาอย่างไร เพราะจะเป็นเรื่องของสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่จะมีขึ้นภายหลังจากนี้

คล้ายๆ กับเหตุการณ์เมื่อต้นปี 2555 พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการล้มล้างการปกครองประชาธิปไตย

สุดท้าย ศาลยกคำร้องเนื่องจากเห็นว่า เหตุ การณ์ยังไม่เกิดขึ้น

ขณะ เดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้เอ่ยถึงความล้ำเลิศของรัฐธรรมนูญ 2550 ว่ามีความดีเด่น เป็นประชาธิปไตย ควรค่าแก่การรักษาเอาไว้อย่างไร

โดยเฉพาะ "ความเป็นประชาธิปไตย" ของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เป็นเหตุให้นักประชาธิปไตยทั้งหลาย จะต้องร่วมกันยกย่องเชิดชู

การปกป้องมาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญ 2550 พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่า หมายถึงการปกป้องบรรดาคดีที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นจำเลย

แต่เป็นที่รู้กันกว้างขวางว่า มาตราดังกล่าว คือการนิรโทษกรรมให้กับบรรดาผู้ก่อการรัฐประหาร 2549 และผู้ที่ให้ความร่วมมือ

จึงไม่น่าแปลกใจ ที่คนเหล่านี้ มีอาการปวดเมื่อยครั่นเนื้อครั่นตัว

ทุกครั้งที่มีข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เกิดขึ้น
 

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355801536&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น