หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แช่แข็งมาตรา 291?

แช่แข็งมาตรา 291?



"....ให้มันรู้ไปว่านักการเมืองประเทศนี้ ไม่ว่าจะมาจากการรัฐประหาร หรือมาจากการเลือกตั้ง ก็เห็นแก่ตัวและขี้ขลาดพอกัน" - คณิน บุญสุวรรณ


ประชาธิปไตยที่ปลายอุโมงค์ แช่แข็งมาตรา 291 21 12 2012
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=d6rGvukKKsQ#!
  


หนึ่งในข้อเสนอของคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล ศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีนายโภคิน พลกุล เป็นประธาน คือ ในระหว่างที่ยังไม่มีการลงมติวาระสาม ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 หากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราก็สามารถกระทำได้ โดยแก้ไขประเด็นที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันก่อน เช่น มาตรา 237 เป็นต้น

ต่อข้อเสนอข้อนี้ ผมขอสะท้อนความเห็นส่วนตัว 2 ประการ ดังนี้

ประการ ที่หนึ่ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ซึ่งต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 นั้น ทั้งในการพิจารณารับหลักการในวาระที่หนึ่ง การพิจารณาขั้นกรรมาธิการแปรญัตติและพิจารณาเรียงตามลำดับมาตราในวาระที่สอง และการพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญในวาระที่สาม ล้วนอยู่ในอำนาจของรัฐสภาอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยที่ประชาชนไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้เลยไม่ว่าในขั้นตอนใด

ดัง นั้น การที่คิดจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา จึงเป็นการสะท้อนตัวตนของนักการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล หรือแม้แต่สมาชิกวุฒิสภา ที่ยังมองแต่ผลประโยชน์ใกล้ตัว และจะใช้การเจรจาต่อรอง ตกลงกันได้ แบ่งเค้กกันลงตัว ในระหว่างนักการเมืองด้วยกันเท่านั้น โดยไม่ยินยอมที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

นี่ถือเป็นแนวความคิดและการตัดสินใจแบบนักการเมืองธรรมดาๆ มากกว่าที่จะเป็นแนวคิดและการตัดสินใจแบบรัฐบุรุษ อย่างที่ประชาชนต้องการ

ประการ ที่สอง ในขณะที่ทุกฝ่ายต่างก็รู้อยู่เต็มอกว่า การลงมติวาระสามในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 ถือเป็นการเปิดประตูครั้งประวัติศาสตร์ ที่จะให้ประชาชนเจ้าของประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างจัดทำและแสดงความ คิดเห็น ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนตั้งแต่ต้นจนจบเป็นครั้งแรก แต่เนื่องจากฝ่ายที่กุมอำนาจทางการเมืองในระบบรัฐสภาขณะนี้ ไม่กล้าที่จะเดินหน้าต่อเพื่อที่จะเปิดประตูเช่นว่านั้นให้แก่ประชาชน เหตุเพราะกลัวเกรงอิทธิพลของฝ่ายต่อต้าน ที่นอกจากจะไม่ต้องการเปิดประตูให้ประชาชนแล้ว ยังยื้อยุดหวงแหนในสิ่งที่พวกตนได้ใช้ทำมาหากิน หาประโยชน์และรักษาอำนาจมาตลอดโดยไม่ยอมละวางอีกด้วย แต่แทนที่ฝ่ายกุมอำนาจจะใช้ความพยายามในการร้องขอหรือแสวงหาความร่วมมือกับ กลไกในระบบรัฐสภาที่เป็นพลังก้าวหน้า อย่างเช่น ส.ว.เลือกตั้งเพื่อหาทางเปิดประตูให้กับประชาชน กลับไปใช้วิธีละมุนละม่อมและโอนอ่อนให้กับความต้องการและคำขู่ของฝ่ายต่อ ต้านไปเสียอีก

ด้วยเหตุนี้ จึงกลายเป็นว่าฝ่ายกุมอำนาจถ้อยทีถ้อยอาศัยกับฝ่ายต่อต้านร่วมกันปิดประตูใส่หน้าประชาชนไปโดยปริยาย


(อ่านต่อ) 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356416694&grpid&catid=02&subcatid=0207

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น