หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท - แรงงานไทยไม่ใช่แรงงานทาส

ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท - แรงงานไทยไม่ใช่แรงงานทาส





รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์


ในที่สุด มาตรการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ก็เริ่มปฏิบัติเป็นจริงตามมติคณะรัฐมนตรี โดยมีผลบังคับใช้ใน 7 จังหวัด รวมกรุงเทพ จังหวัดโดยรอบ และภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา ส่วนที่เหลืออีก 70 จังหวัด ในเบื้องต้น ให้ขึ้นค่าจ้างตามสัดส่วนเดียวกัน คือเพิ่มร้อยละ 40 จากอัตราเดิม แต่จะต้องปรับเป็น 300 บาทต่อวันเช่นกันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป

เนื่องจากเป็นการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งใหญ่ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเพิ่มเติมให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทไว้เป็นเวลาสองปี ซึ่งก็คือปี 2556 และปี 2557 จะไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีก ยกเว้นในกรณีภาวะเศรษฐกิจผันผวนอย่างรุนแรงจนกระทบต่อการครองชีพของลูกจ้าง เท่านั้น

มาตรการดังกล่าวเป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยใช้หาเสียงมาตั้งแต่แรก และถูกต่อต้านอย่างหนักถึงปัจจุบันจากนายจ้างบางกลุ่ม รวมทั้งจากสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

เสียงคัดค้าน นอกจากจะมาจากนายจ้างที่เดือดร้อนจริงแล้ว ยังมาจากกลุ่มนายจ้างนายทุนใหญ่ที่อิงแอบอยู่กับกลุ่มทุนขุนนางเก่า ทำมาหากินกับระบอบจารีตนิยมของไทยมานานหลายชั่วคน ผูกขาดตัดตอน เอารัดเอาเปรียบแรงงานไทยและผู้บริโภคไทยมานานจนเคยตัว แม้ในระบบการเมืองแบบเลือกตั้ง กลุ่มทุนพวกนี้ ซึ่งรวมศูนย์กันอยู่ในกรุงเทพ ก็มีสายสัมพันธ์ลึกซึ้งกับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งก็เป็นพรรคการเมืองมือเท้าของพวกจารีตนิยมอีกเช่นกัน

ในการเคลื่อนไหวของกลุ่มอันธพาลเสื้อเหลืองข้างถนนที่ขับไล่รัฐบาลไทยรัก ไทยปี 2549 และรัฐบาลพลังประชาชนปี 2551 ก็มีกลุ่มทุนเก่าพวกนี้บางส่วนเข้าไปให้การสนับสนุนทั้งอย่างลับ ๆ และเปิดเผย สอดประสานกับองคาพยพอื่น ๆ ของพวกจารีตนิยม จึงไม่น่าแปลกใจว่า ในทางกลับกัน คนพวกนี้จึงออกมาเชียร์นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงปี 2552-53 แต่กลับแสดงอาการผิดหวังอย่างออกนอกหน้าเมื่อพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งเมื่อ กรกฎาคม 2554 หลังจากนั้น คนพวกนี้ก็พากันเรียงหน้าออกมา “เตือนรัฐบาล” ในแทบทุกเรื่อง ตั้งแต่การต่อสู้กับภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ นโยบายรถคันแรก การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การลอยตัวราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้

ความจริงข้อหนึ่งที่นายจ้างกลุ่มทุนเก่าเหล่านี้ไม่ยอมพูดถึงคือ นับแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมา ค่าจ้างแรงงานไทยมีการปรับขึ้นช้ามากคือไม่ถึงร้อยละ 2 ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยสูงถึงร้อยละ 3-4 ต่อปี ผลก็คือ ค่าจ้างของคนงานไทยล้าหลัง ไล่ตามไม่ทันค่าครองชีพต่อเนื่องมากว่าสิบปีแล้

 สิ่งที่เราสังเกตได้ตลอดหลายปีมานี้คือ คนงานลูกจ้างมีแนวโน้มต้องทำงานเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้รายได้เสริม ทั้งทำงาน “ล่วงเวลา” หรือ “โอที” ในที่ทำงานประจำ ไปจนถึงทำงานรับจ้างที่อื่นหรือค้าขายรายย่อยนอกเวลางานและในวันอาทิตย์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้รายได้ที่ไล่ทันกับค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นทุกปีนั่น เอง

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/04/40083

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น