หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

ปฏิญญาหน้าศาล นัดชุมนุมใหญ่เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรธน. ว่าด้วยนิรโทษกรรม ฉบับนิติราษฏร์

ปฏิญญาหน้าศาล นัดชุมนุมใหญ่เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรธน. ว่าด้วยนิรโทษกรรม ฉบับนิติราษฏร์

 

 
ปฏิญาหน้าศาล นัดรวมตัว 29 ม.ค.56

กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล นัดรวมตัวที่หมุดคณะราษฎร วันที่ 29 ม.ค. 2556 เวลา 8.00 น. เพื่อยื่นข้อเสนอ ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้ง หวังนิรโทษกรรมเกิดขึ้นในสมัยประชุมสภาสมัยนี้


13 ม.ค. 2556 สุดา รังกุพันธ์ นักวิชาการและนักกิจกรรมกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล แถลงนัดรวมตัวเพื่อนำข้อเสนอร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและขจัดความขัด แย้งไปเสนอต่อรัฐสภาประกาศไม่ล่ารายชื่อ เชื่อเป็นกลลวงของรธน. 2550 หลอกประชาชนให้ลงรายชื่อแต่ไม่มีผลทางปฏิบัติ

โดยสุดาระบุว่า เหตุการณ์รุนแรงในปี 2553 ทำให้เห็นภาพชัดเจนถึงการปราบปรามประชาชนด้วยอาวุธสงครามร้ายแรง และมีการกวาดล้างประชาชนอบย่างต่อเนื่อง มีผู้ถูกดำเนินคดี 13,857 คน ในศาล 59 แห่ง โทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิต ขณะที่คดีต่างๆ ที่ตัดสินไปก่อนพรรคเพื่อไทย ในช่วงรัฐบาล อภิสิทธิ์ถูกตัดสินอย่างรวดเร็ว แม้ผู้ถูกกล่าวหาไม่ใช่ตัวการสำคัญ ก็ถูกตัดสินจำคุก บางคนได้รับการประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี ไม่มีเจตนาหลบหนี แต่หลังคำพิพากาษาของศาลชั้นต้นกลับไม่มีการประกันตัวออกมาเลย ตัวอย่างของคนที่ได้รับผลกระทบสูงสุดคือนายวันชัย รักสงวนศิลป์ที่เสียชีวิตไปแล้วระหว่างถูกคุมขัง หลังถูกตัดสินข้อหาวางเพลิงเพราะไปชุมนุมที่ที่ศาลากลาง จ.อุดรธานี

นอกจากนี้ยังมีการออกหมายจับอย่างต่อเนื่อง อัยการยังคงสั่งฟ้องศาลคดีที่เกิดจากมูลเหตุจูงใจทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง

“ความน่าเชื่อถือต่อกระบวนการยุติธรรมติดลบหมดแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะเดินหน้าสู่ความปรองดองโดยยังมีนักโทษการเมืองถูกขังอยู่ เช่นนี้” สุดา กล่าว พร้อมทั้งระบุว่าแนวทางของกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลเห็นว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์ นั้นจะเป็นทางออกที่จะนำสู่ความปรองดองและนำสู่การแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง และเป็นก้าวแรกที่จะคืนควาเมป็นธรรมให้สังคม

“ในนามของกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลได้หารือกับกลุ่มต่างๆ โดยมีเป้าหมายในการนิรโทษกรรมเกิดขึ้นในสมัยประชุมสภาสมัยนี้ให้จงได้ สิ่งที่มุ่งหวังคือรัฐบาลจะได้รับข้อเสนอนี้จากนิติราษฎร์ไปพิจารณาในคณะ รัฐมนตรี นำร่างฯ เข้าสู่รัสภา โดยจะไม่มีการเข้าชื่อ โดยเชื่อว่ารธน. 2550 ได้วางกลลวงไม่ทำให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิตามที่เขียเนรป็นลายลักษณ์ ดังที่ได้เห็นจากที่รัฐสภาจำหน่ายนทิ้งช้อเสนอร่างฯ ครก.112 ออกจากากรพิจารณาในสภา เป็นเหตุผลทรี่ทำให้เห็นว่าการที่ประช่ขนถูกล่อลวงไปเสนอชื่อมากมาย ใช้ทรัพยากรและอุทิศเวลาส่วนตัว เป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ประชาชนจะไม่ใช้การเข้าชื่อตอไป แต่จะไปด้วยตัวเอง จะร่วมกันไปยื่นนร่างฯ ต่อรัฐสภาที่ทำเนียบรัฐบาล โดยจะนัดชุมนุมใหญ่ ในวันที่ 29 มกราคม 2556 เวลา โดยรวมตัวกันที่หมุดคณะราษฎรเวลา 8.00 น. เพื่อเดินไปยังรัฐสภา” สุดากล่าวในที่สุด 

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/01/44643

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น