หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

การเมืองมวลชนกับการปรองดอง

การเมืองมวลชนกับการปรองดอง


โดย อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์
 
หลายปีมาแล้ว ผมเสนอการวิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยว่า ระบบการเมือง(ความสัมพันธ์ทางอำนาจ)ไม่สามารถปรับตัวเอง ให้รองรับการขยายตัวของคนกลุ่มใหม่ซึ่งผมเรียกว่าคนชั้นกลางระดับล่างได้ คนเหล่านี้มีจำนวนมหึมาและจำเป็นต้องมีพื้นที่ต่อรองทางการเมืองในระบบ เพราะชีวิตของเขา โลกทรรศน์ของเขา และผลประโยชน์ของเขาเปลี่ยนไปแล้ว

ตราบเท่าที่ชนชั้นนำในระบบการเมืองไม่ยอมปรับตัว ความขัดแย้งอย่างรุนแรงก็จะดำเนินต่อไป และในหลายปีที่ผ่านมา ผมยังมองไม่เห็นสัญญาณว่าชนชั้นนำสำนึกถึงความจำเป็นในแง่นี้ หรือพร้อมจะหาหนทางต่อรองกับคนกลุ่มใหม่ เพื่อปรับระบบการเมือง

แต่ในช่วงประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา ผมคิดว่าโอกาสดังกล่าวเริ่มปรากฏให้ทุกฝ่ายมองเห็นได้ชัดขึ้น และความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปรับระบบการเมือง จนทุกฝ่ายพอยอมรับได้ และหันมาต่อสู้กันในระบบ (ซึ่งไม่ได้หมายความแต่ที่รัฐสภาอย่างเดียว) โดยไม่เกิดความรุนแรง เริ่มจะมีลู่ทางมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะปราศจากอุปสรรคอีกหลายอย่างที่จะทำให้เส้นทางสู่ความเป็น ระเบียบนั้น อาจมีลักษณะกระโดกกระเดกบ้าง แต่ผมคิดว่าดีกว่าที่ผ่านมา

ฉะนั้น ผมจึงขอพูดถึงนิมิตหมายดีๆ ที่ปรากฏให้เห็นในช่วงนี้

ผมทายไม่ถูกหรอกว่าจะเกิดรัฐประหารขึ้นอีกหรือไม่ แต่รัฐประหารกลายเป็นเครื่องมือที่ไม่มีประสิทธิภาพอย่างเดิมเสียแล้ว อย่างน้อยการรัฐประหารครั้งล่าสุดก็ชี้ให้ชนชั้นนำเดิมเห็นประจักษ์แล้ว ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ แม้บางคนในหมู่ชนชั้นนำเดิม ซึ่งยังอาจมองไม่เห็น (เช่นผู้อยู่เบื้องหลังของการเคลื่อนไหวกลุ่มพิทักษ์สยาม) ก็ไม่อาจใช้การรัฐประหารได้ เพราะกองทัพไม่ยอมเคลื่อนเข้ามาเป็นเครื่องมือของฝ่ายใด อย่างน้อยก็ในระยะเวลาอันสั้นข้างหน้า

ปราศจากเครื่องมือในการยับยั้งหรือชะลอการปรับระบบการเมือง ชนชั้นนำเดิมต้องหันมาใช้เครื่องมืออื่น ซึ่งดูเป็นการเคารพต่อ"ระเบียบสังคม"ทางการเมืองมากกว่า เครื่องมือสำคัญคือที่ได้ออกแบบฝังเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 ได้แก่องค์กรอิสระซึ่งไม่ได้อิสระจริง กระบวนการทางตุลาการนานาชนิดซึ่งไม่มีใครสามารถตรวจสอบยับยั้งได้ นอกจากกลุ่มชนชั้นนำเดิม รวมทั้งวุฒิสภาซึ่งมาจากการสรรหาอีกครึ่งหนึ่งด้วย

นี่คือเหตุผลที่ต้องขัดขวางการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทุกวิถีทางที่จะเป็นไปได้ แม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องให้"คำแนะนำ"ที่ไม่เกี่ยวกับคดี

แต่สิ่งที่น่าสนใจอยู่ที่ว่า  ความขัดแย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญนี้ แม้มีมวลชนเข้ามาร่วมด้วย แต่ไม่นำไปสู่วิกฤตทางการเมืองครั้งใหญ่ ต่างฝ่ายต่างใช้สื่อของตนเองในการโต้เถียงกัน ด้วยเหตุผลบ้าง ด้วยอารมณ์บ้าง แม้กระนั้นก็ไม่ประทุกลายเป็นการยกพวกตีกัน หรือจลาจลกลางเมือง

(อ่านต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น