หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

คนละเรื่องที่สัมพันธ์กันของมาร์กซ์และดาร์วิน

คนละเรื่องที่สัมพันธ์กันของมาร์กซ์และดาร์วิน


 
ทฤษฎีของดาร์วินนั้น ได้เขย่าความเชื่อในเรื่องของอันตวิทยาในแบบเทววิทยา ที่บอกว่ามีพระเจ้าเป็นกำหนดจุดมุ่งหมายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ให้เป็นไปตามแบบแผนที่พระเจ้าสร้างขึ้น ซึ่งในหลักของทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินนั้น ได้โต้แย้งให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์นั้น มีการวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และผลจากการวิวัฒนาการนั้นเอง

โดย ฮิปโปน้อย บรมสุขเกษม 

เป็นที่รู้กันดีว่ามาร์กซ์และเอ็งเกลส์ ให้การยอมรับทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน แม้ว่าเรื่องที่ดาร์วินทำการศึกษานั้นเป็นเรื่องของสัตว์ ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกันกับเรื่องของเศรษฐกิจและการเมืองเลย แต่เพราะเหตุใดมาร์กซ์จึงยอมรับทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน ทั้งที่เป็นเรื่องของสัตว์ล้วนๆ มาเป็นแบบจำลองของการมองภาพสังคมมนุษย์

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าทฤษฎีของดาร์วินนั้น ได้เขย่าความเชื่อในเรื่องของอันตวิทยาในแบบเทววิทยา ที่บอกว่ามีพระเจ้าเป็นกำหนดจุดมุ่งหมายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ให้เป็นไปตามแบบแผนที่พระเจ้าสร้างขึ้น ซึ่งในหลักของทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินนั้น ได้โต้แย้งให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์นั้น มีการวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และผลจากการวิวัฒนาการนั้นเอง ที่เป็นผลลัพธ์ของการเปลี่ยนวานรให้เป็นมนุษย์ เนื่องจากว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะปรับเปลี่ยนสภาพของตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ตัวเองมีสมรรถภาพในการดำรงชีวิตอยู่ต่อไป ผู้ที่แข็งแกร่งและสามารถปรับตัวเองได้ จะเป็นผู้ที่สามารถอยู่รอด แต่ถ้าหากไม่สามารถปรับตัวเองหรือไร้สมรรถภาพ ก็จะต้องสูญพันธ์ไปในที่สุด

ฉะนั้นผู้ที่แข็งแกร่งจึงเป็นผู้ที่เหมาะสมที่จะอยู่รอด เพราะนี่คือกระบวนการคัดสรรทางธรรมชาติ และพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนั้น จะไม่มีที่สิ้นสุดตราบใดที่สัตว์ยังคงได้รับแรงกดดันจากธรรมชาติ ให้ต้องปรับตัวอยู่เสมอ ในส่วนนี้เป็นเพียงการอธิบายความรวมคร่าวๆ ของทฤษฎีดาร์วินในแง่ของการวิวัฒนาการชีวิตสัตว์เท่านั้น


มาถึงในแง่ของมาร์กซ์ ที่ได้นำเอารากฐานทฤษฎีของดาร์วิน มาเป็นแบบอย่างในการมองภาพสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งได้อธิบายความเกี่ยวเนื่องกันไว้ในประเด็นที่ว่า สัตว์อื่นๆ ล้วนต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดเป็นจุดหมาย และมนุษย์เองก็เป็นเช่นเดียวกับสัตว์ แต่ที่ต่างกันคือมนุษย์ต่อสู้ดิ้นรนในการผลิต และสร้างในสิ่งที่ธรรมชาติไม่ได้สร้างขึ้น ไม่เหมือนกับพืชหรือสัตว์ที่ไม่มีการผลิตใดๆ และใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติเท่านั้น ดังนั้นการต่อสู้ดิ้นรนของมนุษย์จึงไม่ใช่ในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับธรรมชาติ แต่เป็นการต่อสู้ดิ้นรนที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง

และข้ออุปมาอุปไมยของมาร์กซ์ อันเกี่ยวเนื่องกับทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินคือ มาร์กซ์ได้ใช้รากฐานการเปลี่ยนแปลงสปีชี่ของสัตว์ มาอธิบายในเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเครื่องมือในการผลิตของมนุษย์ ยกตัวอย่างที่ดาร์วิน กล่าวไว้ว่า หากสัตว์ได้รับความกดดันจากสิ่งแวดล้อมให้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดแล้ว สัตว์จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปอวัยวะใหม่อยู่ตลอดเวลา อวัยวะที่เป็นประโยชน์จะเกิดการพัฒนา และซับซ้อนจนเกิดทักษะมากขึ้น ส่วนอวัยวะส่วนใดที่ไม่ได้ใช้ก็จะสูญพันธ์หรือหยุดเติบโตไป

การเปลี่ยนรูปและพัฒนาอวัยวะของสัตว์ นั้นก็เป็นเพราะสัตว์ใช้อวัยวะของมันเองเป็นเครื่องมือในการหากิน เพื่อให้อยู่รอดตามสภาพธรรมชาติ และเมื่อสัตว์รุ่นแรกเปลี่ยนแปลงรูปแบบอวัยวะ ก็จะส่งให้รุ่นถัดไปเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสปีชี่ใหม่ ที่ก้าวหน้ากว่าสปีชี่รุ่นเก่า

จากประเด็นดังนี้เอง ที่มาร์กซ์นำมาเปรียบเทียบให้เกี่ยวข้องกับกรณีของมนุษย์ โดยอธิบายว่า หากเทียบกันแล้วอวัยวะของสัตว์ก็เปรียบได้กับเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น เพราะนวัตกรรมใหม่ทางเทคโนโลยีที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี่เองที่ เป็นผลให้มนุษย์อยู่รอด และเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการที่มนุษย์ทำงานร่วมกันภาย ใต้ระบบของทุนนิยม โดยมีการแบ่งงานกันทำ มีวิธีการผลิตที่สลับซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ และเนื่องจากมนุษย์หมกหม่นอยู่กับการผลิต จึงเป็นผลทำให้เกิดการชำนาญและสร้างประสิทธิภาพให้กับผลผลิตอันเป็นเครื่อง มือยังชีพของมนุษย์ได้

เหตุเพราะมนุษย์สามารถสร้างในสิ่งที่ธรรมชาติไม่ได้ตระเตรียมไว้ให้ และมนุษย์เองก็ไม่ได้ต่อสู้ตามภาวะแรงกดดันจากธรรมชาติเหมือนสิ่งมีชีวิต อื่น แต่หากเป็นการต่อสู้แข่งขันเพื่ออยู่รอดระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง ฉะนั้นแล้วจะหยิบยกนำทฤษฎีวิวัฒนาการของการดาร์วิน ที่พูดถึงแต่เฉพาะการต่อสู้เพื่ออยู่รอดของสัตว์ มาเชื่อมโยงกับระบบสังคมของมนุษย์ทั้งหมดเห็นคงจะเป็นไปไม่ได้ แต่ในประเด็นหลักๆ ที่มาร์กซ์และเอ็งเกิลส์ ให้การยอมทฤษฎีของดาร์วินก็คือการหักล้างและการท้าทายความเชื่อในเรื่องของ พระเจ้า ทฤษฎีของดาร์วินนั้นเป็นตัวสนับสนุนหลักการพื้นฐานของวัตถุนิยมวิภาษวิธี และเป็นไม้เด็ดที่สามารถเอาชนะความเชื่อแบบประวัติอันศักดิ์สิทธิ์ในความ เชื่อแบบเทวนิยมได้

เอกสารอ้างอิง
วีระ สมบูรณ์ (2524). ลัทธิมาร์กซ์กับทฤษฎีวิวัฒนาการ. วารสารคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 3(2),1-30. 


(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/01/blog-post_5.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น