หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

อียิปต์ต้องการมีการปฏิวัติรอบที่สอง

อียิปต์ต้องการมีการปฏิวัติรอบที่สอง 


การประท้วงเชิงสัญลักษณ์โดยการทำชาประณกิจศพระบบสาธารณสุขอียิปต์ โดยหมอนัดหยุดงานในตอนต้นของเดือนพฤศจิกายนปีนี้ (Pic: MoudBarthez on Flickr)

แผนพัฒนาประเทศของประธานาธิบดีมูซี่นั้น ต้องการใช้นโยบายการการตัดค่าใช้จ่ายของรัฐลง และใช้แนวเสรีนิยมสุดขั้วเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจของอียิปต์ ซึ่งมันหมายความว่าการเผชิญหน้าในอนาคตจะมีความเข้มข้นมากขึ้น 

โดย ซาเมช นากิป
แปลโดย นุ่มนวล  ยัพราช 


การปฏิวัติอียิปต์ยังคงดำเนินต่อไป แต่มันจะเป็นชัยชนะที่แหลมคม ถ้าเราชนะใจมวลชนที่สนับสนุนกลุ่มมุสลิมด้วยการเมืองของการปฏิวัติ

การปฏิวัติในโลกสมัยใหม่ต้องใช้เวลาเป็นปีที่จะเจอจุดสมดุลย์ มันมักจะเริ่มต้นในลักษณะการรวมตัวชั่วคราวและพิเศษระหว่างผู้ต่อต้านอำนาจ เผด็จการเก่า แต่ภายหลังที่อำนาจเก่าถูกล้มไปไม่นาน การรวมตัวเหล่านี้ก็จะมีการแบ่งแยกขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่แต่ละกลุ่ม สังกัด กลุ่มใหม่และเต็มไปด้วยความหลากหลายจะเดินเข้าไปในพื้นที่และโครงสร้างอัน เดิมซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของอำนาจเก่า โดยการเริ่มจัดตั้งเพื่อเตรียมที่จะเผชิญหน้ากับการปฏิวัติซ้อน ซึ่งมันมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างสถาบันของรัฐและลักษณะทางชนชั้นของ สังคม ที่ผลประโยชน์จะถูกตอบสนอง รัฐเก่าไม่เคยออกมาปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนแต่มันได้ปกป้องและขยายผล ประโยชน์ของกลุ่มคนเล็กๆ ที่ควบคุมความมั่งคั่งและมีอำนาจจริง

กองทัพไม่ได้ปกป้องประชาชน แต่พิทักษ์ผลประโยชน์ของกลุ่มทุนใหญ่ การเปลี่ยนหัวนายพลจะไม่ทำให้สถาบันนี้ดีขึ้นแต่อย่างใด ตำรวจและหน่วยงานความมั่นคงไม่ได้รับใช้ประชาชนแต่ให้การบริการสำหรับกรรม สิทธิส่วนบุคคล บทบาทหลักขององค์กรเหล่านี้ คือ ควบคุมกลุ่มคนที่กล้าท้าทายระบบกรรมสิทธิ์ มันเป็นเรื่องเดียวกันเมื่อเอ่ยถึงกลไกการบริหารต่างๆ เพราะมันเป็นตัวแทนของกลุ่มคอรัปชั่น กลุ่มผลประโยชน์และอำนาจรัฐเดิมๆ

รัฐสภาเป็นเพียงสถาบันเดียวที่สมาชิกถูกเลือกตั้งเข้ามาบนหลักการ ประชาธิปไตย แต่ยังขาดอำนาจในนามของเจ้าของประเทศที่มีอำนาจอย่างแท้จริงการปฏิวัติ อียิปต์ได้อนุญาติให้กลุ่มพรรคมุสลิมได้เข้ามามีอำนาจและเปลี่ยนหัวของเผด็จ การเก่าแต่พรรคนี้ไม่ต้องการให้การปฏิวัติประสบความสำเร็จ พรรคนี้ไม่กล้าแตะและท้าทายอำนาจเก่าแต่อย่างใด

ตำรวจ

พรรคมุสลิมได้นำตำรวจกลับเข้าประจำการบนท้องถนน แต่ไม่ใช่เพื่อให้สัญญานไฟจราจร แต่เพื่อให้ทำลายการนัดหยุดงานและการยึดโรงงาน จับกุมผู้นำแรงงาน นำการทรมานกลับมาใช้ ฆ่า และ ข่มขู่

โมฮัมเหม็ด มูซี่ ประธานาธิบดีอียิปต์ เริ่มต้นการปกครองด้วยการไปเยือนซาอุดิอาระเบีย ซึ่งใช้ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชที่เต็มไปด้วยการกดขี่ และเป็นสูญกลางของพวกปฏิกิริยาล้าหลังในภูมิภาคตะวันออกกลาง แทนที่จะไปเยี่ยมตูนีเซียซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของการปฏิวัติในโลกอาหรับ



มูซี่ เลือกที่จะไม่เข้าไปแซกแทรงเพื่อปรับเพิ่มค่าจ้างให้ดีขึ้น แต่เริ่มต้นด้วยการประกาศนโยบายเศรษฐกิจที่เรียกว่า “โครงการแห่งความรุ่งเรือง” โดยเลือกที่จะไปเซ็นสัญญากู้หนี้จากองค์การการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ 2533 ได้บังคับใช้นโยบายทีทำให้คนยากจนลง แช่แข็งชาวอียิปต์ให้อยู่ในความแร้นแค้น

พี่น้องมุสลิมรากหญ้าได้แสดงความเศร้าโศกที่ชาวปาเลสไตน์ที่กาซ่า ทนทุกข์ทรมานจากการถูกยึครองโดยชาวอิสราเอลประธานาธิบดีมูซี่ไม่ได้ยื่นข้อ เสนอที่จะเปิดจุดผ่านด่านราฟาห์

แต่ประธานาธิบดีมูซี่ได้สั่งทำลายทุกช่องอุโมง ที่ถูกอาศัยเป็นช่องทางให้ชาวอียิปต์ส่งอาหารและปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นใน ชีวิตประจำวันไปให้ชาวปาเลสไตน์
ข้อตกลงแค้มเดวิทกับสหรัฐอเมริกาบนพื้นฐานผลประโยชน์ของสหรัฐ ซึ่งเป็นนโยบายเดิมของเผด็จการมูบารัก  ซึ่งประธานาธิบดีมูซี่ได้ประกาศยอมรับทันทีกับข้อเสนอดังกล่าวโดยไม่มีการ ตั้งคำถามอะไรทั้งสิ้น มันมีคณะกรรมการที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่มันเป็นละครตลกเพราะมันไม่ได้ถูกเลือกตั้งมาจากประชาชนโดยตรง

ล้มเหลว

การต่อสู้เพื่อเปิดโปงความล้มเหลวของพวกที่ทรยศการปฏิวัติมันไม่ได้อยู่ที่ ศาล แต่มันอยู่ที่สนามในโลกจริง เช่น โรงงาน และย่านคนจนเมือง พรรคมุสลิม เป็นกลุ่มประชานิยมแบบอนุรักษ์นิยมที่ทั้งต่อต้านและเข้าข้างเผด็จการเก่า ปัจจุบันมันมีความขัดแย้งที่หยั่งลึกลงไประหว่างกลุ่มมุสลิมต่างๆ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นหัวหน้ากับกฎุมฎีพื้นฐาน และชนชั้นกรรมาชีพ, คนจนเมือง คนจำนวนมากเหล่านี้อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่การเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าพรรคมุสลิม จะยังคงเอาอกเอาใจเผด็จการเดิมอยู่ ในห้วงเวลาที่เราไม่ค่อยมีทางเลือกนี้ มวลชนได้ให้ความสำคัญกับพรรคมุสลิมว่าเป็นฝ่ายค้านเดียวที่พวกเรามีอยู่ มันเป็นเรื่องธรรมชาติที่มวลชนจำนวนมหาศาลจะเลือกกลุ่มมุสลิมหลังจากการ ปฏิวัติ เพราะมวลชนไม่ได้ยกระดับและผนึกจิตสำนึกของนักปฏิวัติทันที แต่การที่พี่น้องมุสลิมและพวกสุดขั้ว ซาลาฟิส ถูกเลือกมันไม่ได้หมายว่าเรื่องมันจบแต่อย่างใด

การปฏิวัติรัสเซียไม่ได้นำเลนินและบอลเชวิคเข้าสู่อำนาจทันที แต่มันเป็นการนำตัวแทนฝ่ายค้านปฏิรูปเข้ามามากกว่า ซึ่งพวกเขาไม่ได้มีเป้าหมายที่จะสร้างการปฏิวัติแต่อย่างใด จนกระทั่งฝ่ายบอลเชวิคชนะเป็นเสียงส่วนใหญ่ในสภาคนงาน ชาวนา และทหาร การปฏิวัติจึงประสบความสำเร็จและได้ล้มเศษซากของอำนาจเผด็จการเดิมในการ ปฏิวัติเดือนตุลาคมการปฏิวัติของเราจะประสบความสำเร็จมันเรียกร้องการต่อสู้ ที่เข้มข้นและอดทน และมันเป็นความจำเป็นที่อียิปต์จะต้องมีการปฏิวัติรอบสอง

ความขัดแย้ง

มันเป็นความจำเป็นที่จะชนะใจมวลชนที่สนับสนุนพรรคมุสลิม เราต้องฉวยผลประโยชน์จากความขัดแย้งทางชนชั้น ซึ่งขั้นตอนนี้เราจะหนุนเสริมด้วยนโยบายที่ออกมาจากผู้นำมุสลิม ดังนั้นพวกเราจะเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกสนามการเลือกตั้ง แต่ไม่ใช่เพราะว่าเราเชื่อว่านี่คือที่ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง แท้จริงแต่พวกเราจะใช้ทุกพื้นที่ที่สามารถเปิดโปรงพวกนั้น ไม่เพียงแต่พรรคมุสลิมและซาลาฟิสซ์แต่มันยังรวมถึงซากเดนอำนาจเก่าและพวก เสรีนิยม

ในตอนต้นของการปฏิวัติ มันมีจำนวนคนงานเข้าร่วมในการเดินขบวนแต่เข้าร่วมในลักษณะปัจเจก แต่หลังจากนั้นกรรมาชีพที่ถูกจัดตั้งได้มีบทบาทที่แหลมคมในการล้มมูบารัก ผ่านการนัดหยุดงานอย่างต่อเนื่อง การนัดหยุดงานผ่านไปหลายคลื่นมันได้พัดขยายจิตสำนึกลงลึกไปในทุกส่วน
ต้องระลึกเสมอว่าการปฏิวัติอียิปต์ไม่ได้เริ่ม ต้นขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 แต่อย่างใด การนัดหยุดงานที่สำคัญมีมาก่อนหน้านั้น ซึ่งเริ่มขึ้นใน เมืองมะหะลา ในปี พ.ศ. 2549 จากนั้นขยายไปทั่วประเทศเหมือนไฟลามทุ่ง มีการประท้วงทางการเมืองเพื่อแสดงความสมานฉันท์กับชาวปาเลสติเนียน อินติฟาดะ และต่อต้านสงครามในอิรัก
การปฏิวัติคือการเปลี่ยนแปลงทั้งทางการเมืองและสังคม ไม่ใช่เพียงการปฏิรูประบบประชาธิปไตย คลื่นการนัดหยุดงาน และการยึดโรงงานรอบล่าสุดถือได้ว่าใหญ่ที่สุดตั้งแต่เดือนแรกของการปฏิวัติ มีการนัดหยุดงาน 1,000 กว่าครั้ง ในรอบสองเดือนที่ผ่านมา

หัวหอก

แต่อย่างไรก็ตาม มันมีเส้นทางอีกยาวที่ต้องเดินก่อนที่คนงานจะกลายมาเป็นหัวหอกของการปฏิวัติ ครั้งที่สองของอียิปต์การนัดหยุดงานยังเกิดขึ้นแบบไม่สม่ำเสมอ เต็มไปด้วยการแบ่งแยกระหว่างอุตสาหกรรมและภูมิภาคต่างๆ ถึงแม้ว่ามีความพยายามเชื่อมส่วนต่างๆ และตั้งสหภาพแรงงานอิสระ แต่ลัทธิสหภาพแรงงานยังคงเป็นทั้งอุปสรรคและขีดจำกัด เพราะมันแยกข้อเรียกร้องที่เป็นข้อเรียกร้องปากท้อง “ขนมปัง และ เนย” กับข้อเรียกร้องทางการเมือง

แผนพัฒนาประเทศของประธานาธิบดีมูซี่นั้น ต้องการใช้นโยบายการการตัดค่าใช้จ่ายของรัฐลง และใช้แนวเสรีนิยมสุดขั้วเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจของอียิปต์ ซึ่งมันหมายความว่าการเผชิญหน้าในอนาคตจะมีความเข้มข้นมากขึ้น การนัดหยุดงานและการยึดโรงงานจะดำรงต่อไป แน่นอนตำรวจจะใช้ความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามลำดับ

การปฏิวัติและการเปลี่ยนผ่านหลายส่วนอย่างต่อเนื่อง ได้สร้างบริบททางการเมืองที่เต็มไปด้วยความซับซ้อน พัฒนาการที่อันตรายอันหนึ่งคือ แนวร่วมหลายส่วนได้สร้างขึ้นบนพื้นฐานการแบ่งแยกระหว่างฝ่ายที่ไม่ใช่มุสลิม และฝ่ายมุสลิม มากกว่าที่ผลักดันให้การปฏิวัติดำเนินต่อไปผ่านการมีข้อเสนอนโยบายทางสังคม จากพรรคต่างๆ ซึ่งเราเห็นแนวร่วมระหว่างพวกซากเดนอำนาจเก่าและบางส่วนของพวกเสรีนิยม ภายใต้การนำของ อาเมียร์ เมาซา(AmrMoussa) และ เอียแมน เนาร์(AymanNour) ในชื่อ แนวร่วมแห่งชาติอียิปต์(Alliance of the Egyptian Nation)

ส่วนอื่นๆ ก็เช่น ฮัมดีน ซาบาหิ ซึ่งเป็นแนวชาตินิยมซ้ายนัสเซอริส(Nasserist) ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อเข้าแข่งรับเลือกตั้งในตำแหน่งประธานาธิบดี พรรครัฐธรรมนูญ ซึ่งนำโดย โมฮัมเหม็ด เอลบาราเดีย ซึ่งเคยมีบาทบาทในองค์กรสหประชาชาติ และอีกหลายๆ คนซึ่งยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมกับแนวร่วมไหน

กองกำลังฝ่ายซ้าย

ในซีกซ้ายมีแนวร่วมประชาธิปไตยนักปฏิวัติซึ่งได้รวมพรรคทากามมู(Tagammu Party) พี่น้องมุสลิมซึ่งคุมโดยพรรคเสรีภาพและความยุติธรรม และแนวร่วมของพรรคนี้คือพวกซาลาฟิส(Salafist) 

เราไม่สามารถแยกตัวเองออกมาจากสนามการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ เพราะมันเป็นโอกาสที่เราจะดึงประเด็นข้อเรียกร้องที่เป็นรูปธรรมรวมทั้งข้อ เรียกร้องทางการเมือง พวกเราได้เดินเข้าสู่การสร้างแนวร่วม ซึ่งถูกกำหนดโดยด้วยยุทธศาสตร์ การสร้างแนวร่วมภายในชนชั้น ซึ่งเราทำงานร่วมกันเป็นบางครั้งบางคราวบนเงื่อนไขและเป้าหมายที่เฉพาะ เจาะจง แต่จะไม่ประณีประนอมกับความเป็นอิสระของเรา
ในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงนี้พวกเราจะเห็น การกลับมาของซากเดนเผด็จการ หรือพวกที่เป็นตัวแทนของมัน ภายใต้ป้ายชื่อว่า “กองกำลังพลเรือน” และในแนวร่วมฝ่ายขวาเสรีนิยม 
มันเป็นการต่อสู้ระหว่างพรรคของชนชั้นปกครอง พวกเราจะต้องไม่สับสนไปกับฝ่ายที่ต้องการที่จะรื้อฟื้นอำนาจเก่าภายใต้ข้อ อ้างว่าจะสร้างความเข้มแข็งให้กับฝ่ายที่ไม่ใช่มุสลิม เราจะต้องดึงฝ่ายที่ไม่ใช้การเมืองที่อิงศาสนาจากซีกขวาจัดมาสู่อ้อมอกของ ฝ่ายซ้าย

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปฏิวัติจนถึงปัจจุบันคือ การเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมือง แม้ว่าสัญลักษณ์ของอำนาจเก่าได้เปลี่ยนไปแต่ตัวตนของรัฐและสถาบันกองทัพไม่ ได้เปลี่ยนตามไปด้วย คนที่รวยที่สุดในอียิปต์ยังเป็นคนกลุ่มเดิม เป็นกลุ่มที่ปล้นเอาความมั่งคั่งจากเลือดเนื้อประชาชนชาวอียิปต์

เป้าหมายของเรา

พวกเราต้องการชนะใจมวลชนกรรมาชีพและผู้นำของพวกเขาภายใต้เป้าหมายการปฏิวัติ ที่ต้องการรื้อถอนระบบเดิมของรัฐเผด็จการอย่างถอนรากถอนโคน และสร้างรัฐของกรรมาชีพและชาวนาขึ้นมาแทน วันนี้คนส่วนใหญ่ยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกฝ่ายขวาและพวกแนวปฏิรูป ในฐานะที่เป็นองค์กรปฏิวัติที่มีวัฒนธรรมการจัดตั้ง การจัดตั้งซึ่งถือเป็นอาวุธที่สำคัญที่สุดของพวกเรา แม้ว่าเราเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ในภาพรวมกว้างๆ คนส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมการจัดตั้งแบบองค์กรปฏิวัติ เราต้องใช้ความพยายามที่จะทำให้มวลชนเหล่านั้นเข้าใจ เรียนรู้ และฝึกฝนในทางปฏิบัติ เราต้องสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงสังคม

พวกเราจะผลักดันสงครามทางความคิดอย่างไม่ประนีประนอมเพื่อสู้กับแนวความคิด ฝ่ายขวา ไม่ว่ามันจะมาในรูปของเสรีนิยมหรือแนวความคิดแบบอิสลาม ระบบทุนนิยมทั่วโลกและในอียิปต์อยู่ในอาการที่ร่อแร่เต็มที และกรรมาชีพชาวอียิปต์อยู่ในสภาพกบฏอย่างต่อเนื่องเหตุการณ์ทางประวัติ ศาสตร์แบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก ไม่ว่าอย่างไรพวกเราก็จะก้าวไปข้างหน้า เดินหน้าสู่การปฏิวัติรอบที่สอง หรือไม่เช่นนั้นชะตากรรมของเราก็จะตกไปอยู่ในกำมือของพวกปฏิวัติซ้อน

ซาเมท นากิบ คือ แกนนำ ของกลุ่มสังคมนิยมปฏิวัติในอียิปต์
 
(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/01/blog-post_1996.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น