หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

รัฐสวัสดิการกับเรื่องผู้หญิง

รัฐสวัสดิการกับเรื่องผู้หญิง

 

แถลงการณ์ “วันสตรีสากล”
เชิดชูบทบาทสตรี รวมพลังทุกชนชั้น 
ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย  เสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรม 

วันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ 

ใน ปี ค.ศ.1907 กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก 

จึงมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คืนมา และมี "คลาร่า เซทคิน"นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน เป็นผู้นำสำคัญในการเคลื่อนไหว 

บทบาท ของ"คลาร่า เซทคิน" นั้น เป็นแกนนำสำคัญในการต่อต้านอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งพรรคนาซี และต่อต้านการใช้อำนาจเผด็จการ โดยเธอได้กล่าวสุนทรพจน์โจมตีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์อย่างรุนแรง จนถึงปี ค.ศ.1933 พรรคนาซีเยอรมันเข้ารวบอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จ 

เมื่อ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์มีอำนาจในการปกครองอย่างเด็ดขาด ทำให้คลาร่า เซทคิน ต้องยุติบทบาทนักการเมืองสายแนวคิดสังคมนิยม ก่อนถูกรัฐบาลตามล่ากวาดล้างจนต้องลี้ภัยไปใช้ชีวิตที่ประเทศรัสเซียแทน และถึงแก่กรรมในปีเดียวกัน

คลาร่า เซทคิน มีบทบาทสำคัญในการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคให้กับสตรี อีกทั้งยังทำงานเพื่อสตรีมาโดยตลอด ทำให้คลาร่า ได้รับการขนานนามจากกลุ่มองค์กรสตรีนานาชาติว่าเป็น "มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล"

ในการเคลื่อนไหวของคนงานหญิง ได้มีการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

อย่างไรก็ตามแม้การเรียก ร้องครั้งนี้ จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ "คลาร่า เซทคิน" และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น 

ต่อ มาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1908 มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ค เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง

จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 

คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน 

พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย 

ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของ "คลาร่า เซทคิน" ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล 

ย้อน มองสังคมไทย ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานในสังคมไทย ซึ่งมีผู้หญิงจำนวนมากในโลกทุนนิยม ก็หาได้ยอมจำนนต่อระบบทุนนิยมที่เอารัดเอาปรียบผู้ใช้แรงงาน ซึ่งทำให้แรงงานกลายเป็นเพียงสินค้า เป็นเพียงปัจจัยการผลิตเสมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่งในสายพานการผลิต ผู้ใช้แรงงานก็ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมเสมอมา ทั้งเรื่องการปรับปรุงสภาพการจ้าง การคุ้มครองหลักประกันสังคม ความปลอดภัยในการทำงาน ฯลฯ และมีผู้ใช้แรงงานจำนวนไม่น้อยที่ก้าวสู่การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยเช่น กัน

การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานนั้น เป็นการต่อสู้ทั้งระดับชีวิตประจำวัน และปัญหาทางโครงสร้างนโยบายกฎหมาย โดยมีทั้งระดับปัจเจกชน ระดับกลุ่ม ทั้งรูปแบบสหภาพแรงงาน และรูปแบบอื่นๆ เช่น กลุ่มย่านต่างๆ 


เช่น เดียวกัน การต่อสู้กับระบอบอำมาตยาธิปไตย เพื่อประชาธิปไตย ในสังคมไทยห้วงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีผู้หญิงจำนวนมากหลากหลายฐานะ อาชีพ ชนชั้น ตลอดทั้งผู้ใช้แรงงาน

โดยมีเป้าหมายเดียวกัน “อำนาจอธิปไตยต้องเป็นของประชาชน” มีความเชื่อว่า “ทุกคนเท่ากัน” “ไพร่ก็มีหัวใจ” ได้ต่อสู้อย่างอดทน เผชิญกับความยากลำบาก อย่างไม่ท้อถอยในนาม “คนเสื้อแดง”

“วันสตรีสากล”  จึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ให้ความทรงจำกับผู้หญิงผู้ถูกกดขี่ทั่วโลกได้ตระหนักการต่อสู้เพื่อชีวิตที่ ดีกว่า เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อสิทธิเสรีภาพ เพื่อความเสมอภาคและเพื่อประชาธิปไตย

สำหรับสังคมไทยแล้ว วันสตรีสากลในปีนี้ ย่อมทำให้ต้องตระหนักว่า สิทธิของผู้ใช้แรงงาน และระบอบประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้

เฉก เช่นการต่อสู้ของ"คลาร่า เซทคิน" มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล ผู้ได้ต่อสู้เพื่อสิทธิผู้ใช้แรงงาน และคัดค้านอำนาจนิยมเผด็จการฮิตเลอร์เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย 

กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ
สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน(สสร.)
โดย ฮิปโปน้อย 
องค์กรเลี้ยวซ้าย


การกดขี่ผู้หญิงมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะในรูปแบบของภาระหน้าที่ที่ ต้องเผชิญ ทัศนคติทางวัฒนธรรมความไม่เท่าเทียมในสิทธิระหว่างหญิงชาย หลายปีที่ผ่านมากลุ่ม องค์กรพัฒนาสังคมต่างๆพยายามหาแนวทางการแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่ดูเหมือนแนวทางในการสร้างรัฐสวัสดิการ เพื่อลดการกดขี่ผู้หญิงจะไม่ถูกหยิบยกมาพูดถึงเลย

ถามว่าการมีรัฐสวัสดิการจะช่วยลดการกดขี่ผู้หญิงอย่างไร?

คำตอบคือการมีรัฐเข้ามาแบ่งเบาภาระของผู้หญิง โดยการเข้ามาดูแลตั้งแต่เรื่องการตั้งครรภ์ การคลอด การเลี้ยงดูเด็กที่เกิดมาจะเอื้อให้ผู้หญิงมีโอกาสในการทำงานนอกบ้านมากขึ้น และการมีอำนาจในทางเศรษฐกิจจะทำให้ผู้หญิงดูแลตนเองได้ และเพิ่มอำนาจการต่อรองแทนการพึ่งพา  รูปธรรมที่ชัดเจนที่บอกว่า รัฐสวัสดิการช่วยลดการกดขี่ผู้หญิงได้จริง ตัวอย่างเช่นประเทศสวีเดนที่มีระบบรัฐสวัสดิการครบวงจรตั้งแต่เกิดจนตาย สวีเดนช่วยลดการกดขี่ผู้หญิงโดยการนำเอางานบ้านและการเลี้ยงดูลูกมาเป็นภาระ ของรัฐด้วยนโยบายสวัสดิการสำหรับแม่และเด็กในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด รัฐออกกฎหมายให้นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างหญิงเหล่านี้หยุดงานหรือเปลี่ยนงาน ได้ ในสภาวะที่ตัวงานไม่เอื้ออำนวยต่อสภาพร่างกายและจิตใจ โดยการแจ้งนายจ้างล่วงหน้า 1 เดือน  นายจ้างจะต้องหางานที่เหมาะสมให้ หากไม่สามารถหาได้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าช่วยเหลือเป็นเงิน 50 วัน นอกจากนี้ลูกจ้างหญิงที่ตั้งครรภ์ยังได้เงินช่วยเหลือเป็นเงิน 80 % ของรายได้ต่อปี ตัวเลขคูณด้วย 0.989 แล้วหารด้วย  365 วัน ต่อปี เมื่อคลอดลูกแล้วก็สามารถลางานหรือหยุดงานไปเลี้ยงลูกได้เป็นเวลาถึง 1 ปี 3 เดือน ซึ่งการลางานในก็จะได้เงินค่าช่วยเหลือในรูปเงินทดแทนจากการขาดรายได้ และยังมีเงินช่วยเหลือเด็กอีก เด็กที่ไม่มีพ่อแม่หรือพ่อแม่เด็กเกษียณแล้ว ก็จะได้เงินช่วยเหลือจนกว่าเด็กจะอายุครบ 16 ปี หรือ 19 ปีในกรณีที่เด็กต้องเรียนต่อ เด็กสามารถได้รับค่าเลี้ยงดูจากรัฐเท่าๆกันหมดโดยที่ไม่สำคัญว่าเด็กคนนั้น จะต้องเป็นคนยากจนที่สุดหรือไม่

เมื่อเด็กคนหนึ่งเข้าสู่วัยเรียน รัฐสวัสดิการสวีเดนจัดให้มีการเรียนฟรี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนถึงมหาวิทยาลัย ที่น่าสนใจคือมีสถานรับเลี้ยงเด็กอ่อนให้กับผู้พ่อแม่ที่ต้องออกไปทำงานฟรี ซึ่งจุดนี้ทำให้ผู้หญิงสามารถทำงานนอกบ้านได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องลูก ดังนั้นผู้หญิงจึงมีอำนาจการต่อรองอย่างท่าเทียม โดยไม่ตกเป็นเบี้ยล่างหรือผู้รับภาระเพียงผู้เดียวในการเลี้ยงดูบุตร สถานที่เลี้ยงเด็ก โรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่รัฐตั้งขึ้นนั้น ก็มีคุณภาพเท่าเทียมกันหมด แม้แต่โรงเรียนเอกชนก็ยังให้เรียนฟรี โดยรับการอุดหนุนงบประมาณจากรัฐ เด็กทุกคนจึงสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกันอีกด้วย เมื่อมีงานกิจกรรมที่โรงเรียนพ่อแม่เด็กสามารถลางานไปร่วมกิจกรรมของสมาคม ผู้ปกครองได้ สิ่งนี้สะท้อนการเข้าใจต่อคุณภาพชีวิต และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่รัฐพึงมีต่อพลเมืองของตน

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ การทำแท้งเป็นเรื่องของสิทธิผู้หญิง ผู้หญิงสามารถเลือกที่จะเลี้ยงดูเด็กที่จะเกิดมา หรือไม่ก็ได้ตามสิทธิในร่างกายและเนื้อตัวของตนเอง แม้แต่หญิงที่อายุต่ำกว่า 15  ปี ต้องการทำแท้งแล้วไม่ต้องการให้พ่อแม่รู้ เรื่องการทำแท้ง เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดูแลเรื่องนี้ก็จะเก็บเป็นความลับ ในประเทศสวีเดนการทำแท้งถือเป็นเรื่องถูกกฎหมาย และสถานบริการทำแท้ง เป็นสถานบริการที่ปลอดภัยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา เท่านั้นยังไม่พอยังมีการแนะนำการคุมกำเนิด และแจกจ่ายยาคุมกำเนิดฟรี ยังรวมไปถึงการทำหมันฟรีทั้งหญิงชายอีกด้วย
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างประเด็นเดียว เกี่ยวกับเรื่องผู้หญิงและเด็ก และรัฐสวัสดิการครบวงจรในประเทศสวีเดน  การสร้างรัฐสวัสดิการนั้น นอกจากเป็นการช่วยแก้ปัญหาความเลื่อมล้ำในระบบทุนนิยมที่ก้าวหน้าที่สุด แล้วยังช่วยทำให้ผู้หญิงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  การกดขี่ทางเพศลดลง การต่อสู้เรียกร้องสิทธิของผู้หญิงจึงไม่ควรแยกจากการเรียกร้องรัฐสวัสดิการ ที่เป็นรูปธรรม  สิทธิความเท่าเทียมกับระหว่างหญิงกับชายที่พวกนักสตรีนิยมพูดซ้ำซากถึงต้น ต่อปัญหา ว่าเกิดจากชายเป็นใหญ่ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย เพราะผู้ถูกกดขี่ไม่ใช่มีเพียงแต่ผู้หญิงเท่านั้น ผู้ชายเองก็ถูกกดขี่ในระบบทุนนิยมด้วย ดังนั้นการรณรงค์เรื่องสิทธิผู้หญิง เราจึงไม่ควรแบ่งเพศ ผู้ชายก็สามารถเข้าร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้หญิงได้ การต่อสู้เรื่องสิทธิเสรีภาพ เราต้องรู้ว่าศัตรูคือใคร และต้องหลุดจากวาทกรรมลวงๆที่ชนชั้นปกครองใช้เป็นเครื่องมือในการสลายพลัง สามัคคีระหว่างเพศสักที

(ที่มา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น