หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

ฉายเงา สังคม ขัดแย้ง และแตกแยก ทาง "ความคิด"

ฉายเงา สังคม ขัดแย้ง และแตกแยก ทาง "ความคิด"

 




การออกโรงของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ประสานกับ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล และ นายสมชัย จิตสุธน ดับเครื่องชนรัฐบาลในเรื่อง "ประชานิยม"



มิได้เป็นเรื่องแปลก

เช่น เดียวกับ การค้านทุกเรื่องของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ว่าจะเป็นในกรณีประสาทพระวิหาร หรือการหาหนทางทำความตกลงในสันติภาพกับบีอาร์เอ็น

ก็มิได้เป็นเรื่องแปลก
หาก ใครติดตามอ่านบทความพิเศษของ วิรัตน์ แสงทองคำ ในนิตยสาร "มติชนสุดสัปดาห์" อันเกี่ยวกับการก่อตั้งบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย เมื่อปี 2456

ก็จะประจักษ์ในความเป็นจริง
ด้าน 1 มีความพยายามผลักดันโดย เจ้าพระยายมราช และพระยาอรรถการประสิทธิ์ ด้าน 1 มีการต้านจาก พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระเทววงศ์วโรปการ


กระนั้น ด้วยสายพระเนตรและวิสัยทัศน์อันยาวไกลของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จึงได้วางเสาเข็มสำเร็จ

ปี 2556 เป็นเช่นนี้ เมื่อปี 2456 ก็เป็นเช่นนี้



คล้ายกับกำเนิดแห่งบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย คือการประสานระหว่างทุนแห่งพระคลังข้างที่กับทุนแห่งกลุ่มเดนมาร์ก อันมีพื้นฐานทางวิศวกรรม

แต่ก็ต้องยอมรับใน "วิสัยทัศน์" ของขุนนางรุ่นใหม่

ขณะเดียวกัน หากศึกษาบทความของ วิรัตน์ แสงทองคำ อย่างลงลึกในรายละเอียดก็จะสัมผัสได้ถึงความขัดแย้ง

การไม่เห็นด้วยจากบางส่วนในพระบรมวงศานุวงศ์

การไม่เห็นด้วยจากบางส่วนของตัวแทนกลุ่มทุนจากต่างประเทศ ซึ่งหากบริษัท ปูนซิเมนต์ไทยก่อตั้งสำเร็จฝ่ายตนจะสูญเสียประโยชน์

เหล่านี้สะท้อนปฏิมาในทางความคิด ปฏิมาในทางผลประโยชน์

ร่อง รอยแห่งความขัดแย้งมิได้ปรากฏให้เห็นในเบื้องต้น เพราะหากปรากฏอย่างน้อยเมื่อ อรัญ พรหมชมพู เขียน "ไทยกึ่งเมืองขึ้น" ก็ย่อมได้รับการอ้างอิง

ต่อเมื่อ วิรัตน์ แสงทองคำ นำมาแผ่แบผ่าน "มติชนสุดสัปดาห์" จึงต้องร้องฮ้อ

แท้ จริงแล้วการเข้ามาของปัจจัยทุนอันประเมินกันว่ามีการสะสมเบื้องต้นในยุคต้น กรุงรัตนโกสินทร์ และเริ่มเติบใหญ่เป็นลำดับภายหลังจากการลงนามในสนธิสัญญาเบาริ่งในปี 2389 ใช่ว่าจะดำเนินไปด้วยความราบรื่น


แม้จะนำร่องโดย "ราชสำนัก" ก็ตาม


จากยุคแห่งการก่อตั้งบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย เมื่อปี 2456 มาถึงยุคแห่งการทวงคืนปตท.ในปี 2556 ริ้วรอยแห่งความ

ขัดแย้งแตกแยก ได้ขยายใหญ่ขึ้น

ทั้งในทางความคิด ทั้งในทางผลประโยชน์

มี การปะทะอย่างแหลมคมระหว่างโครงการประกันราคาข้าวกับโครงการจำนำข้าวของ รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ฝ่ายต่อต้านรวมศูนย์ปัญญาชน

นักวิชาการเข้ามาดับเครื่องชนอย่างคึกคัก

ไม่ เพียงแต่จะดำเนินการวิพากษ์รายวัน หากแต่รุกคืบเข้าไปใช้กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ผ่านศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านศาลปกครอง ผ่านคณะกรรมการ ป.ป.ช.

ยิ่งโครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยิ่งมากด้วยความแหลมคม

ขณะที่โครงการ 3 แสนล้านบาท เพื่อบริหารทรัพยากรน้ำ ยิ่งเป็นอาหารอันโอชะให้อีกฝ่ายติดตามวิพากษ์

ไม่เว้นแม้กระทั่งความพยายามหารือเพื่อสร้างบรรยากาศสันติภาพในภาคใต้

ด้วยการร่วมมือกับรัฐบาลมาเลเซียโน้มน้าวให้กลุ่มอาร์บีเอ็น โคออดิเนต ยินยอมนั่งลงเพื่อพูดคุยกับตัวแทนฝ่ายไทย

ความเห็น "แย้ง" ปรากฏขึ้นอย่างเด่นชัด โต้กันทุกเม็ด ทุกประเด็น


ทั้งวาทกรรม ทั้งการเคลื่อนไหว

ไม่ว่าสถานการณ์เมื่อปี 2456 ที่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ไม่ว่าสถานการณ์ในปี 2556 ของรัฐบาลและฝ่ายค้าน

เป็นการปะทะทางความคิดอันมองต่างมุม เป็นการปะทะทางผลประโยชน์อันมีรากฐานและเป้าหมายไม่เหมือนกัน

เป็นไปตามกฎ นั่นคือ ใหม่ย่อมแทนที่เก่า 

 
(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363402098&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น