Measuring National Wellbeing ความอยู่ดีมีสุขมวลรวมประชาชาติ
โดย ประกาย ธีระวัฒนากุล
ดูรายละเอียดได้ใน >> National Wellbeing.pdfเหตุผลสำคัญก็คือ การมุ่งเน้นที่การผลิตหรือการบริโภคหรือรายได้เพียงอย่างเดียว ที่แต่ละประเทศมุ่งหวังจะให้ประเทศมีเศรษฐกิจขยายตัว มี GDP สูงนั้น ในบางครั้ง ผลิตภัณฑ์มวลรวมได้สร้างความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ให้เกิดขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความแตกแยกทางสังคม GDP มักไม่ได้รวมต้นทุนทางสังคมและต้นทุนทางธรรมชาติเข้าไปในการคำนวณ การที่เหล้าบุหรี่ขายได้มากขึ้นช่วยให้ GDP เพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้หมายความว่าประเทศจะดีขึ้น การที่ผู้คนในประเทศตัดไม้ทำลายป่านำออกขายก็ช่วยให้ GDP เพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าประเทศจะมีสิ่งแวดล้อมที่ดีได้ อีกทั้งการที่ GDP เพิ่มก็ไม่ได้หมายความว่าประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศจะมีรายได้ที่ดีขึ้น หรือการที่คนส่วนใหญ่มีรายได้ดีขึ้นก็ไม่ได้หมายความว่าคนส่วนใหญ่จะมีความ สุขมากขึ้น ตัวอย่างต่างๆ ข้างต้นเป็นที่มาที่ทำให้หลายๆ ประเทศเริ่มหันมาสนใจการสร้างความอยู่ดีมีสุขให้เกิดขึ้นแทนที่จะพัฒนาแต่ การเพิ่ม GDP เพียงด้านเดียว
จากการทบทวนเอกสารต่างๆ จะพบว่าในปัจจุบันรัฐบาลและสถาบันต่างๆ ทั่วโลกให้ได้ให้ความสนใจกับการติดตามและประเมินความอยู่ดีมีสุข (Wellbeing) กันมากขึ้น ทั้งความอยู่ดีมีสุขในระดับบุคคล ระดับสังคม และระดับประเทศ โดยความอยู่ดีมีสุข หรือ Wellbeing ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญของวาระการประชุมเชิงนโยบายหลากหลายวาระ ตั้งแต่เรื่องการผนึกรวมทางสังคมไปจนถึงเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม การวัดความอยู่ดีมีสุขประชาชาติ (National wellbeing) กำลังจะกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับผู้ตัดสินใจเชิงนโยบาย (policymakers) และพลเมืองในการวัดความก้าวหน้าของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ อาจจะเสริมหรือทดแทน GDP
สำหรับมาตรวัดความอยู่ดีมีสุขนี้จะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะ เปลี่ยนจากการมุ่งเน้น GDP ตามบัญชีประชาชาติ มาให้ความสำคัญกับการพิจารณาคุณภาพชีวิตของประชาชนเข้าไปด้วย ประเด็นคำถามที่สำคัญ คือ เราจะวัดความอยู่ดีมีสุขของประเทศได้อย่างไร และเราจะนำผลจากการประเมินความอยู่ดีมีสุขนั้นมาออกแบบและประยุกต์ใช้ใน นโยบายสาธารณะได้อย่างไร
ความอยู่ดีมีสุข หรือ Wellbeing มีการให้คำนิยามที่แตกต่างกันไปโดยมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ใช้ รวมทั้งคุณภาพชีวิต สวัสดิภาพแต่ละบุคคล สุขภาพที่ดี ความสุข การมีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือ ความพึงพอใจในชีวิต
Timeline of Recent Key Events in Measuring Wellbeing
1994 United Nations publishes first Human Development Index.
2000 First issue of the Journal of Happiness Studies is published.
2002 UK Cabinet Office Strategy Unit Report, Life Satisfaction: the State of Knowledge and Implication for Government.
2007 European Commission initiates the ‘Beyond GDP’ project.
2008 President Sarkozy establishes the Commission on the Measurement of Economic Performance and Social Progress.
2009 OECD starts Better Life Initiative and Work programme on measuring wellbeing and progress.
2010 The US government establishes a Commission on Key National Indicators, allocating $70 million to the project.
2010 The UK Office for National Statistics begins a programme to develop statistics to measure national wellbeing.
2011 US National Research
Council, the National Institute on Aging and the UK Economic and Social
Research Council jointly support an expert panel on subjective wellbeing
and public policy.
2011 UN General Assembly Resolution on Happiness 65/309.
2012 UN High-Level meeting on happiness and wellbeing. Release of the UN World Happiness Report.
|
คณะกรรมการการวัดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคม (the Commission on the Measurement of Economic Performance and Social Progress หรือ the Stiglitz Commision) เป็นคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดีซาร์โกซี แห่งฝรั่งเศสในปีค.ศ. 2008 ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่สำคัญ เช่น Josept Stiglitz และ Amartya Sen นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ได้แนะนำว่า ความอยู่ดีมีสุขของประเทศควรเป็นการวัดผลที่ครอบคลุม 8 องค์ประกอบหลัก ได้แก่
1. มาตรฐานการดำรงชีวิตของประชากร (รายได้ รายจ่ายและความมั่งคั่ง)
2. สุขภาพ
3. การศึกษา
4. กิจกรรมส่วนบุคคล (รวมถึงการทำงาน)
5. การมีส่วนร่วมทางการเมืองและธรรมาภิบาล
6. ความสัมพันธ์และการเชื่อมต่อทางสังคม
7. สิ่งแวดล้อม (ทั้งเงื่อนไขปัจจุบันและอนาคต)
8. ประเด็นด้านความเปราะบางทั้งทางเศรษฐกิจและทางกายภาพ
การที่หลายประเทศเริ่มพัฒนาสถิติทางสังคมและมีการพัฒนาชุดของตัวชี้วัด ที่สำคัญหรือ แดชบอร์ดของความอยู่ดีมีสุขของชาติ (Dashboards of national wellbeing) อาจกล่าวได้ว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแนวคิดของคณะกรรมการสติกลิตซ์นี้ โดยการพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของระดับชาติและการจัดทำส่วนประกอบ ของดัชนีทั้งหมดเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน ความท้าทายที่สำคัญ คือการค้นหาว่าความอยู่ดีมีสุขหรือการมีชีวิตที่ดี มีอะไรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและควรให้น้ำหนักความสำคัญกับองค์ประกอบของ ดัชนีชี้วัดอย่างไร สำหรับกระบวนการในส่วนนี้ บางประเทศได้อาศัยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเพื่อระบุตัวชี้วัดสำคัญ ในขณะที่บางประเทศเปิดโอกาสให้นักการเมืองและประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น
กรณีศึกษาประเทศอังกฤษ
การวัดความอยู่ดีมีสุขประชาชาติ หรือ National Wellbeing ของประเทศอังกฤษได้เริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 เพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องจากรัฐบาล โดย UK’s Office for National Statistics (ONS) หรือสำนักงานสถิติแห่งชาติประเทศอังกฤษได้เริ่มพัฒนาตัวชี้วัดความอยู่ดีมี สุขประชาชาติ ในกระบวนการดังกล่าวได้รับข้อคิดเห็น คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีส่วนได้เสีย ที่ปรึกษา และประชาชน ทั้งนี้ ประเทศอังกฤษถือเป็นประเทศผู้นำในการพัฒนาตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขประชา ชาติ ในแง่ของการรวมความอยู่ดีมีสุขส่วนบุคคลเชิงอัตวิสัย (subjective wellbeing) เข้าสู่การประเมินความอยู่ดีมีสุขประชาชาติ
สำนักงานสถิติแห่งชาติประเทศอังกฤษ ได้ถามคำถามเกี่ยวกับ “ความอยู่ดีมีสุขส่วนบุคคล” โดยบรรจุคำถามให้เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจประชากรแห่งชาติประจำปี และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลสำรวจครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 ผลการสำรวจพบว่า “สามในสี่” ของประชาชนได้จัดอันดับพึงพอใจในชีวิตของพวกเขาให้คะแนนเท่ากับ 7 หรือมากกว่าจากระดับคะแนนเต็ม 10 และมีประชาชนร้อยละ 80 ให้คะแนนอย่างน้อย 7 เมื่อถามว่าพวกเขารู้สึกว่าชีวิตของพวกเขาคุ้มค่า อย่างไรก็ตาม เกือบครึ่งหนึ่งของคนว่างงานให้คะแนนน้อยกว่า 7 เป็นต้น
องค์ประกอบของมาตรวัดความอยู่ดีมีสุขของประเทศอังกฤษ
สำนักงานสถิติแห่งชาติประเทศอังกฤษ ได้ปรึกษาทั้งผู้เชี่ยวชาญสาธารณะและนานาชาติเพื่อพัฒนาองค์ประกอบของมาตร วัดความอยู่ดีมีสุขประชาชาติ (national wellbeing measures) ในการระบุชี้วัดนี้ประกอบด้วยกลุ่มการวัดปัจจัยที่มีอิทธิพล 2 กลุ่ม ได้แก่
> กลุ่มปัจจัยอิทธิพลโดยตรงที่กระทบต่อความอยู่ดีมีสุขส่วนบุคคลเชิงอัตวิสัย (subjective wellbeing) ได้แก่ ความสัมพันธ์ สุขภาพ สิ่งที่เราทำ สถานที่เราอยู่ การเงินส่วนบุคคล การศึกษาและทักษะ
> กลุ่มปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพล ได้แก่ ธรรมาภิบาล ระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
สำนักงานสถิติแห่งชาติประเทศอังกฤษ ยังระบุถึงปัญหาของความเสมอภาค ความเป็นธรรม และการนำไปใช้กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การสำรวจประชากรครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติประเทศอังกฤษแบบ บูรณาการประจำปีของกลุ่มตัวอย่างประชากรขนาดใหญ่ (ผู้ใหญ่ (อายุ 16 ขึ้นไป) จำนวน 165,000 คน โดยการสำรวจจะสอบถามความคิดเห็น 4 คำถาม แล้วให้ผู้ตอบแบบสอบถามตอบโดยให้ระดับคะแนน 0-10 ระดับคะแนน 0 คือไม่อย่างสิ้นเชิง และระดับคะแนน 10 สมบูรณ์แบบ: คำถามมีดังนี้
>โดยรวมแล้ว คุณพอใจกับชีวิตของคุณในปัจจุบัน?
>โดยรวมแล้ว คุณรู้สึกว่าสิ่งที่คุณทำในชีวิตของคุณคุ้มค่า?
>โดยรวมแล้ว เมื่อวานนี้ คุณรู้สึกว่ามีความสุข?
>โดยรวมแล้ว เมื่อวานนี้ คุณรู้สึกกังวล?
คำถามของสำนักงานสถิติแห่งชาติประเทศอังกฤษได้สอบถามข้อมูลในมิติที่ยอม รับกันโดยทั่วไปได้แก่ ประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของอารมณ์เชิงบวกและลบ ความพึงพอใจกับชีวิตโดยรวม และชีวิตที่มีความหมายหรือมีเป้าหมายอย่างไรก็ตาม นักจิตวิทยาบางคนโต้แย้งว่าคำถาม 4 ข้อที่ได้ สอบถามความคิดเห็นประชาชนนั้นไม่เพียงพอที่จะนำมาจับภาพทุกด้านที่สำคัญอื่น ๆ ของชีวิตที่ดีนอกเหนือจากอารมณ์ได้ โดยนักวิจัยได้มีความพยายามเชื่อมโยงความอยู่ดีมีสุขส่วนบุคคลเชิงอัตวิสัย (subjective wellbeing) กับข้อมูลชุดอื่นๆ ที่จะระบุความสอดคล้องกับคุณลักษณะส่วนบุคคลและทักษะ ชีววิทยา ปัจจัยสถานการณ์ ปัจจัยสถาบัน ลักษณะทางประชากรศาสตร์ และการจ้างงานทางเศรษฐกิจ และปัจจัยแวดล้อม
การใช้มาตรวัดความอยู่ดีมีสุขส่วนบุคคลเชิงอัตวิสัย เพื่อเสนอเป็นนโยบายสาธารณะมีประโยชน์ในแง่ที่ว่าจะช่วยให้ประเทศกำหนดเป้า หมายทั้งพื้นที่หรือกลุ่มทางสังคม ทำให้การประเมินผลได้และต้นทุน (cost-benefit analysis) ครอบคลุมมิติที่สำคัญกับชีวิตมากไปกว่าประเด็นด้านเศรษฐกิจแบบเดิมๆ
โดยสรุป จากตัวอย่างของประเทศอังกฤษแสดงให้เห็นว่าการสร้างมาตรวัดความอยู่ดีมีสุข ประชาชาติเป็นการเปิดยุคใหม่ของการปรึกษาหารือของประชาชนและการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของชีวิตให้เกิดขึ้นได้
นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่สามารถนำมาซึ่งการวางแผนพัฒนา กำหนดนโยบายสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่เอื้ออำนวยให้ประชาชนในชาติ มีความกินดีอยู่ดีมีสุขได้นอกเหนือไปจาก GDP ที่มีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน
เท่าที่ผู้เขียนทราบ ประเทศไทย มีการพัฒนาดัชนีความอยู่ดีมีสุขขึ้นมาบ้าง เช่น งานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่ยังไม่มีความต่อเนื่องและเผยแพร่ในวงกว้างมากนัก ประเทศไทยยังคงใช้ดัชนีชี้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก การตื่นตัวเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีมากขึ้นช่วยเร่งให้เกิดความจำเป็นในการพัฒนา ตัวชี้วัดใหม่ๆ ในอนาคตข้างหน้า เราจะต้องร่วมมือกันในการพัฒนาตัวชี้วัดความอยู่มีสุขประชาชาติขึ้นมาให้สอด คล้องกับบริบทของประเทศไทย โดยมุ่งเป้าที่จะเป็นดัชนีชี้วัดที่เคียงคู่และต่อสู้กับ GDP ให้ได้ เพื่อสร้างประเทศที่น่าอยู่และประชาชนมีความสุขได้อย่างแท้จริง
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/03/45676
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น