หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

ชำแหละวาทกรรม “ฮิตเลอร์มาจากการเลือกตั้ง” กับ วรเจตน์-โสรัจจ์

ชำแหละวาทกรรม “ฮิตเลอร์มาจากการเลือกตั้ง” กับ วรเจตน์-โสรัจจ์ 

 

 
ชำแหละวาทกรรม "ฮิตเลอร์มาจากการเลือกตั้ง"
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=eBZAHxu1NOs

การขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ รัฐธรรมนูญ เจตจำนง ความชอบธรรม Part 2
http://www.youtube.com/watch?v=z9vlBAgLAiA 
  

The Reading Room จัดเสวนา “การขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ : รัฐธรรมนูญ เจตจำนง ความชอบธรรม” โดยวิทยากรหลักคือ  รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และ รศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ดำเนินรายการโดย จิตติพร ฉายแสงมงคล  เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา

งานนี้ได้รับความสนใจจนล้นห้องสมุดในซอยสีลม 19 โดยเฉพาะจากบรรดาคนรุ่นใหม่ ‘ประชาไท’ เก็บความการบรรยายเกือบ 3 ชั่วโมงโดยสรุป โดยขอแบ่งเนื้อหาเป็น 5 ส่วนหลัก

1.เกริ่น นำภาพรวมพื้นฐานของสาธารัฐไวมาร์ / time line ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงการขึ้นสู่อำนาจอย่างเต็มตัวของฮิตเลอร์ (จิตติพร)

2.อธิบาย รายละเอียดการเมืองเยอรมันตาม time line ดังกล่าว เพื่อให้เห็นการก่อกำเนิดของสาธารณรัฐไวมาร์ ดุลยภาพและโครงสร้างอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ฮิตเลอร์ก้าวขึ้นสู่อำนาจเบ็ดเสร็จ โดยเฉพาะบทบาทของศาล  รวมถึง ‘โชคชะตา’ ที่ทำให้ฮิตเลอร์ได้เก็บเกี่ยวดอกผลกลายเป็นที่นิยม (วรเจตน์)

3. ปัญหาเศรษฐกิจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของก้าวย่างของฮิตเลอร์ เป็นปัญหาซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อความนิยมในแนวคิดขวาจัด รวมทั้งการแตกกันเองของพรรคฝ่ายซ้าย (โสรัจจ์)
4.ปรากฏการณ์สำคัญหลังการขึ้นครองอำนาจของฮิตเลอร์ (วรเจตน์)

5.การ เปรียบเทียบเส้นทางฮิตเลอร์สู่การตั้งศาลรัฐธรรมนูญคุมอำนาจนักการเมืองใน เยอรมัน ไม่สามารถเปรียบเทียบกับไทยได้ดังที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญให้ความเห็นไว้ (วรเจตน์)



Time Line การขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ ดราม่าการเมืองของช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจ

โดย จิตติพร ฉายแสงมงคล



 
หัวข้อเสวนาในวันนี้ตรงกับครบรอบ 80 ปีของการขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ ในปี ค.ศ. 1933 ที่มาของการเสวนาในครั้งนี้ก็คือ วาทกรรมได้รับการกล่าวอ้างและเผยแพร่ในสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวางในช่วงหลายปี ที่ผ่านมาว่า "ฮิตเลอร์มาจากการเลือกตั้ง" และ "ฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจโดยเจตจำนงประชาชนผ่านการลงประชามติในระบอบ ประชาธิปไตย" เราอยากจะมาคุยกันว่าชุดความคิดดังกล่าวมีความถูกต้องหรือไม่ หรือเป็นการตีความบิดเบือนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากน้อยเพียงไร

ก่อนอื่นขอเท้าความถึงบริบททางประวัติศาสตร์คร่าวๆ
 



หลังจากพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1918-1919 เยอรมนีเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐที่เรียกกันว่า สาธารณรัฐไวมาร์ (Weimarer Republik) สังคมช่วงนั้นเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างฝ่ายซ้ายจัด ที่อยากให้เยอรมันเป็นแบบโซเวียตรัสเซียกับฝ่ายขวาจัดที่อยากกลับไปปกครอง แบบเดิม ไหนจะต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร  และเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอีก ถึงกระนั้นรัฐบาลผสมนำโดยฝ่ายสังคมนิยมประชาธิปไตยก็ประคับประคองตัวมาได้


การขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์จะถือเริ่มเมื่อใด ในที่นี้ขอกำหนดจุดเริ่มต้นที่วิกฤตเศรษฐกิจโลก (Great Depression) เมื่อปลายปี 1929 ที่ทำให้ปัญหาต่างๆ ในสาธารณรัฐไวมาร์เพิ่มมากขึ้น รัฐบาลผสมตอนนั้นนำโดยพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยแห่งเยอรมนี (SPD) มีเสียงข้างมากในสภาเจอวิกฤตจนต้องยุบสภาเลือกตั้งใหม่ พรรคนาซีของฮิตเลอร์มีคะแนนเสียงในสภานี้แค่ 2.6% เท่านั้น หลังจากการเลือกตั้งสภาเยอรมันเดือนกันยายน 1930 พรรคนาซีได้คะแนนมากขึ้น เป็น 18.3% แต่ SPD ตั้งสามารถรัฐบาลเสียงข้างน้อยได้
 



กราฟแสดงสัดส่วนเสียงของพรรคต่างๆในเยอรมัน 1920 - 1933
(ที่มา http://www.educationforum.co.uk/weimarrebellions.htm)

2 ปีต่อมาฮิตเลอร์ลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนเมษายน 1932 ได้คะแนนมามากพอสมควรแต่ยังแพ้ฮินเดนบวร์ก (Paul von Hindenburg) ผู้สมัครอิสระ ช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีนี้กองกำลัง SA (Sturmabteilung) และ SS (Schutzstaffel) ของฮิตเลอร์ไปก่อกวนการเลือกตั้งไว้มากจึงถูกสั่งห้ามหลังจากการเลือกตั้ง สิ้นสุดลงดูเหมือนครานี้สาธารณรัฐไวมาร์จะรอดพ้นจากเงื้อมมือฮิตเลอร์ไปได้ แต่ไม่วายเคราะห์ซ้ำกรรมซัดเพราะเกิดวิกฤติรัฐบาลอีก 2 เดือนต่อมาประธานาธิบดีฮินเดนบวร์กได้ตั้งนายกคนใหม่ที่ยอมให้ SS และ SA กลับมาปฏิบัติการอีกครั้งพร้อมทั้งให้ยุบสภาและสั่งเลือกตั้งใหม่ ในเดือนมิถุนาปีเดียวกัน ที่นี้พรรคนาซีได้คะแนนเพิ่มเป็น 37.3% แต่หลังการเลือกตั้งดูเหมือนว่าพรรคทั้งหลายจะตกลงกันไม่ได้ว่าจะตั้งรัฐบาล อย่างไร เพราะไม่มีใครกล้าจะไปยุ่งทั้งกับพรรคนาซีและพรรคคอมมิวนิสต์ มีการเลือกตั้งอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน คราวนี้คะแนนของพรรคนาซีลดลงเล็กน้อยแทนที่จะได้เสียงข้างมากเด็ดขาดอย่าง ที่หวังกันไว้ ทำให้การตั้งรัฐบาลเป็นไปด้วยความยากลำบากเหมือนเดิม


Franz von Papen นายกในตอนนั้นเสนอให้เลือกตั้งใหม่อีกเป็นรอบที่สามโดยให้เขาบริหารประเทศ โดยไม่มีสภาไปพลางๆ ก่อน Kurt von Schleicher รมต.กลาโหมในขณะนั้นเกรงว่าจะเกิดสงครามกลางเมืองจึงได้เสนอประธานาธิบดีฮิ นเดนบวร์ก ว่า เขาจะรับเป็นคนช่วยจัดตั้งรัฐบาลเองซึ่งฮินเดนบวร์กก็เห็นด้วยกับแผนของ Schleicher คือการทำให้พรรคนาซีแตกแยกกันโดย Schleicher จะไปคุยกับ Strasser คู่แข่งคนสำคัญของฮิตเลอร์ในพรรคนาซี แต่ Strasser โดนริบอำนาจเสียก่อน แผนทั้งหมดของ Schleicher จึงต้องเป็นอันพับไป ซ้ำร้าย Papen ก็แอบไปคุยกับฮิตเลอร์ลับหลัง Schleicher เสียอีก ฮิตเลอร์ที่ตอนแรกอยากได้อำนาจทั้งหมดถ้าให้พรรคนาซีเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เริ่มกลัวว่าถ้าเล่นตัวมากไปคงไม่ได้ขึ้นมามีอำนาจสักทีก็เริ่มโอนอ่อนมาก ขึ้น ฮิตเลอร์ยอมรับข้อเสนอของ Papen ที่ตนเองเคยปฏิเสธไปโดยมีเงื่อนไขว่าฮิตเลอร์จะต้องได้เป็นนายก รัฐบาล Hitler-Papen จึงได้เกิดขึ้นโดยประธานาธิบดีฮินเดนบวร์ก แต่งตั้งให้ ฮิตเลอร์ขึ้นเป็นนานกรัฐมนตรี (Kanzler) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 โดยมี Papen เป็นรองนายก พรรคนาซีได้ที่นั่งรัฐมนตรีไปเพียงสามที่นั่ง

เมื่อฮิตเลอร์ได้เป็นนายกแล้วเกิดอะไรขึ้น? มีเลือกตั้งใหม่! ฮินเดนบวร์กสั่งยุบสภาวันที่ 1 กุมภาพันธ์และมีการเลือกตั้งใหม่ต้นเดือนมีนาคม ชะรอยโชคชะตาจะเข้าข้างฮิตเลอร์และพรรคนาซีเพราะในวันที่ 27กุมภาพันธ์เกิดเหตุเพลิงไหม้รัฐสภาเยอรมันเสียราบคาบฮิตเลอร์ฉวยโอกาส กล่าวโทษฝ่ายคอมมิวนิสต์ว่าเป็นผู้วางเพลิง และได้ประกาศใช้กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรช์สทักในวันถัดมา เป็นกฎที่มีเนื้อหาสาระเป็นการจำกัดสิทธิส่วนบุคคลของพลเมืองเยอรมันอย่าง มากและใช้กำลังนั้นปราบปรามจับกุมผู้นำและนักการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์โดย มีผลบังคับใช้มาตลอดถึงปี 1945 หลังจากเลือกตั้งในวันที่ 5 มีนาคม 1933 พรรคนาซีได้คะแนนเสียงมากที่สุดแต่ไม่ก็ยังเกินครึ่ง จึงต้องตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคฝ่ายขวาเล็กๆ จนได้คะแนนเสียงเกินครึ่งมาหน่อยหนึ่ง ที่เด็ดก็คือ รัฐบาลผสมนำโดยพรรคนาซีประกาศถอนสิทธิ์สส.จากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี จำนวน 81 คนออกจากสภาไรช์สทักในวันถัดมา

ต่อมาในวัน ที่ 23 มีนาคม 1933 รัฐสภาเยอรมนีก็ลงมติสองในสามผ่านกฎหมายที่ให้อำนาจเต็มแก่ฮิตเลอร์พร้อม ทั้งอนุญาตให้คณะรัฐมนตรีสามารถผ่านกฎหมายได้โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภาเป็นเวลา 4 ปี (Ermächtigungsgesetz) โดยพรรคฝ่ายค้านสายกลางๆ ร่วมลงมติเห็นชอบด้วยจะมีก็แต่สมาชิกพรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งเยอรมนีและ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนีที่ยังไม่ถูกอุ้มไปเท่านั้นที่ลงคะแนนเสียงคัด ค้าน ผลงานของพรรคนาซีหลังจากนั้นก็มีมากมายทั้งการคว่ำบาตรนักธุรกิจชาวยิวงาน เผาหนังสือ การสั่งห้ามพรรคการเมืองต่างๆ รวมถึงออกกฎหมายห้ามตั้งพรรคใหม่นอกจากนั้นก็มีการเลือกตั้งในเดือน พฤศจิกายน 1933 โดยมีพรรคนาซีเพียงพรรคเดียวอยู่บนบัตรเลือกตั้งแน่นอนพวกเขาชนะด้วยคะแนน เสียงล้นหลามและมีการลงประชามติว่าจะรับรองหรือไม่รับรองการตัดสินใจของ รัฐบาลเยอรมันในการถอนตัวออกจากความผูกพันตามสนธิสัญญาแวร์ซายส์ที่จำกัด กำลังทหารของเยอรมันโดยได้รับคะแนนรับรองหรือเห็นชอบด้วยคะแนนสูงถึงร้อยละ 95

หลังจากที่ ฮิตเลอร์ได้คิดบัญชีกับศัตรูเก่าๆหลายคนในเดือนมิถุนายน 1934 ด้วยเหตุการณ์กบฏ Röhm แล้ว โอกาสของเขาก็ได้เข้ามาอีกครั้งเมื่อประธานาธิบดีฮินเดนบวร์กเสียชีวิตลง ด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 รัฐบาลของฮิตเลอร์เสนอให้มีการลงประชามติเห็นชอบกับการเข้าสู่อำนาจของฮิต เลอร์อันมีผลรับรองให้เขามีฐานะเป็นผู้นำสูงสุดตามกฎหมายในทุกฐานะตั้งแต่ ฐานะนายกรัฐมนตรีและฐานะประธานาธิบดีพร้อมกันไป ในวันที่ 19 สิงหาคม 1934 โดยมีผู้มาออกเสียงทั้งหมดร้อยละ 95 และมีผู้รับรองข้อเสนอดังกล่าวร่วมร้อยละ 89 นับจากนี้ถือว่าฮิตเลอร์เป็น Führer และได้ขึ้นมามีอำนาจอย่างเสร็จสรรพสมบูรณ์



เจาะลึกสาธาณรัฐไวมาร์ และบันไดแต่ละขั้นของฮิตเลอร์

โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์
 


ความเชื่อในบ้านเราว่าฮิตเลอร์ชนะการเลือก ตั้งแล้วนำเยอรมันไปสู่รัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ ในด้านหนึ่งก็เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย เพราะเป็นการพยายามจะบอกว่าเสียงข้างมากอาจจะหลงผิดจนนำไปสู่หายนะของประเทศ เพราะฉะนั้นประชาธิปไตยอาจไม่ดีเสมอไป แต่คำถามก็คือ หากประชาธิปไตยใช้ไม่ได้จริง เหตุใดเยอรมันยังคงใช้ระบอบประชาธิปไตย หลังจากแพ้สงคราม ดังนั้นต้องศึกษาประวัติศาสตร์ให้ดีจึงจะพบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้ฮิตเลอร์ ขึ้นครองอำนาจได้

ค.ศ.1918 เป็นปีสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนระบอบ ซึ่งมีปัญหาแต่แรกเพราะจักรพรรดิไม่เต็มใจสละราชสมบัติ ทหารก็ยังคงเชื่อในระบอบกษัตริย์ แต่มีการช่วงชิงการประกาศความเป็นสาธารณรัฐ หลังจากนั้นมีการทำรัฐธรรมนูญขึ้นในเมืองไวมาร์ คือ รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิเยอรมัน ค.ศ.1919 เหตุที่ต้องร่างรัฐธรรมนูญที่เมืองไวมาร์เพราะขณะนั้นในเบอร์ลินเกิดความไม่ สงบ มีการเดินขบวนต่อต้าน

รัฐธรรมนูญไวมาร์เป็นรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยฉบับแรกของประวัติ ศาสตร์เยอรมัน เป็นรัฐธรรมนูญที่ผสมกันระหว่างระบอบรัฐสภากับประธานาธิบดีและมีความก้าว หน้ามาก จัดโครงสร้างการปกครองเยอรมันเป็นสหพันธรัฐ มีรัฐเล็กๆ หลายรัฐรวมกันเป็นสหพันธรัฐหรือจักรวรรดิเยอรมัน ในบรรดามลรัฐเหล่านี้ มลรัฐปรัสเซียมีขนาดใหญ่ที่สุด มีประชากรมากถึง 30 กว่าล้านคน มีอาณาเขตราว 2 ใน 3 ของเยอรมันทั้งหมด จึงมีการแบ่งอำนาจระหว่างมลรัฐใหญ่กับสหพันธ์ รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้มีประธานาธิบดีซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของ ประชาชน มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยและมีอำนาจสูง คือ สามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีได้ เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ นอกจากนี้ยังสามารถออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและออกรัฐกำหนดในสถานการณ์ฉุก เฉิน แต่ประธานาธิบดีไม่ได้บริหารประเทศโดยตรง หากแต่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้บริหาร ซึ่งประกอบด้วยคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งของ ประธานาธิบดีเอง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีก็ต้องบริหารประเทศโดยได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรที่ มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ตามที่มีพรรคการเมืองให้ประชาชนเลือกได้โดยตรง

การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีของประธานาธิบดีนั้น โดยปกติจะเลือกคนที่มีเสียงข้างมากในสภา เพื่อไม่ให้ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจจนรัฐบาลล้มในภายหลัง จึงสามารถแต่งตั้งใครก็ได้ที่ได้เสียงสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎร ส่วนในการออกกฎหมายก็เป็นอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรกับสภาผู้แทนมลรัฐในสหพันธ์

หากรัฐธรรมนูญไวมาร์จะมีปัญหาก็อยู่ที่ระบบการเลือกตั้งเป็นระบบเดียว คือ แบ่งประเทศเยอรมันออกเป็น 35 เขต ผู้สมัครเลือกตั้งต้องลงสมัครแบบบัญชีรายชื่อ หากพรรคไหนได้คะแนนมากก็ได้เก้าอี้ในสภามาก ระบบนี้ทำให้เยอรมันมีพรรคการเมืองจำนวนมาก บางคราวมากถึง 16 พรรค ทำให้เกิดรัฐบาลผสม ไม่เคยมีรัฐบาลเดียวที่ได้เสียงข้างมากอย่างเด็ดขาด การผสมจึงต้องรวมพรรคการเมืองที่มีแนวคิดทางการเมืองคล้ายกัน แม้ว่าตั้งแต่กำเนิดสาธารณรัฐจะมีความขัดแย้งสูงมาก เช่น ความขัดแย้งเรื่องธงชาติ ระหว่าง ดำ-แดง-ทอง กับ ดำ-แดง-ขาว และยังมีแดงล้วน  สีดำแดงทองไม่เป็นที่พอใจของกลุ่มนิยมกษัตริย์ แต่อยากได้แบบเดิมคือสีดำแดงขาว ในขณะที่กลุ่มคอมมิวนิสต์ก็ต้องการสีแดงล้วน จนถึงกับมีการฟ้องร้องห้ามติดธงในบางหน่วยงาน

นั่นจึงหมายความว่าความรู้สึกต่อการปกครอง ของคนเยอรมันในขณะนั้นค่อนข้างแตกแยก มีคนศรัทธาระบอบใหม่ คือ รีพับบลิกไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น จำนวนหนึ่งอยากเป็นแบบรัสเซีย อีกฝ่ายหนึ่งก็ยืนยันจะตั้งสาธารณรัฐแบบมีสภา สภาพการณ์ของไวมาร์จึงมีปัญหามาแต่ต้น

ในช่วงเวลาดังกล่าว ฮิตเลอร์เป็นคนหนึ่งที่มีความพยายามทำรัฐประหาร ในปีค.ศ.1923 เรียกว่า กบฏโรงเบียร์ แต่ไม่สำเร็จ ฮิตเลอร์ถูกจับและลงโทษสถานเบา ต่อมาใน ค.ศ.1924 จนถึง ค.ศ.1929 สถานการณ์จึงเริ่มคลี่คลาย ไวมาร์ในเวลานั้นมีผลงานศิลปะชั้นยอดออกมามากจนเรียกได้ว่าเป็นศตวรรษทองของ เยอรมัน กระทั่งเกิดเหตุการณ์ตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เศรษฐกิจล้ม ส่งผลกระทบต่อเยอรมันอย่างรุนแรง ไวมาร์ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมาก ทั้งที่ก่อหน้านั้นคนเยอรมันถูกทำให้เชื่อว่าไม่ได้แพ้สงครามโดยแท้จริง พวกนักการเมืองผู้ฝักใฝ่ประชาธิปไตยต่างหากที่ทำให้เยอรมันแพ้สงคราม คนกลุ่มที่มีความเชื่อดังนี้จึงกลายเป็นฝ่ายขวาจัดที่เห็นชอบกับรีพับบลิค

ปี ค.ศ.1928 ฮิตเลอร์ได้ออกมาฟื้นฟูพรรคนาซี ช่วงแรกยังมีคนสนับสนุนน้อยมาก ได้เสียงสนับสนุนเพียง 2-3 % และเพิ่มขึ้นเป็น 17 % ในปีต่อมา อย่างไรก็ตาม ฮิตเลอร์ได้คะแนนเลือกตั้งสูงสุด 44 % ในบรรยากาศที่การเลือกตั้งเป็นไปอย่างไม่บริสุทธิ์ พวก SS (Schutzstaffel หรือหน่วยพายุ) และ SA (Sturmabteilung ) เป็นกองกำลังของนาซีทั้งคู่ได้ก่อความวุ่นวาย ข่มขู่ศัตรูทางการเมือง จนพรรค SPD ไม่สามารถหาเสียงได้อย่างที่ควรจะเป็น แต่กล่าวได้ว่าตลอดเวลาที่มีการเลือกตั้ง ไม่เคยมีครั้งใดที่พรรคนาซีจะได้คะแนนเสียงข้างมากเกิน 50% เลย การที่พรรคนาซีได้รับคะแนนประชามติถึง 90% ให้เป็นผู้นำนั้น ก็ไม่สามารถนำมานับรวมได้เพราะเป็นการเลือกตั้งหลังยึดอำนาจแล้ว

การที่ฮิตเลอร์ขึ้นมาครองอำนาจได้เพราะในปีค.ศ.1930 เกิดปัญหาความขัดแย้งเรื่องการจัดการเศรษฐกิจ นายยกรัฐมนตรีจากพรรค SPD ต้องออกจากอำนาจไป  หลังจากนั้นประธานาธิบดีฮินเดนบวร์กก็เริ่มตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยไม่ สนใจสภา หากสภาไม่พอใจก็ออกรัฐกำหนดหรือยุบสภา ทำให้มีเวลาอย่างน้อย 3 เดือนที่มีนายกซึ่งไม่ผูกพันกับสภาผู้แทนราษฎร กระทั่งในปีค.ศ.1933 ฮิตเลอร์ขึ้นครองอำนาจได้จากการชนะเลือกตั้งกว่าร้อยละ30 แม้ว่าจะไมใช่เสียงข้างมากโดยแท้จริงแท้ แต่ก็มีบทบาทสำคัญให้ฮิตเลอร์ขึ้นครองอำนาจได้

อย่างไรก็ตาม ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการสนับสนุนของชนชั้นนำที่ล้อมรอบตัวประธานาธิบดีฮิ นเดนบวร์กทำให้ฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจได้ โดยเฉพาะลูกชายของเขา กลุ่มเจ้าผู้ถือครองที่ดิน คนเหล่านี้เห็นว่ารัฐธรรมมนูญไวมาร์ไม่เหมาะกับเยอรมัน จึงพยายามหาวิธีทำลายรีพับบลิก ในขณะเดียวกันคนกลุ่มนี้ก็ไม่ชอบฮิตเลอร์ แต่ต้องการใช้ฮิตเลอร์เป็นเครื่องมือ คนเหล่านี้โน้มน้าวจนฮินเดนบวร์กเห็นด้วยที่จะให้ฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งแน่นอนว่าฮินเดนบวร์กเองก็คิดฝันถึงระบอบกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่อยู่ตลอด เวลาเช่นกัน เขาจึงเป็นประธานาธิบดีที่ไม่รักระบอบที่ตัวเองเป็นใหญ่อยู่เลย เมื่อเห็นฮิตเลอร์ต้องการตำแหน่งรัฐมนตรีพียง 2 ตำแหน่ง พวกเขาก็คิดว่าฮิตเลอร์ย่อมไม่ใช่ปัญหาในภายหลัง แต่ในเวลาต่อมา เหตุการณ์ไฟไหม้รัฐสภากลับกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้คนกลัว คอมมิวนิสต์ รัฐสภาออกกฎหมายให้กดข่มคอมมิวนิสต์ให้ได้ ฮิตเลอร์จึงเพิ่มอำนาจให้ตัวเองมากขึ้นในที่สุด ดังนั้นการขึ้นครองอำนาจของฮิตเลอร์จึงเป็นผลมาจากการสนับสนุนของชนชั้นนำ ฮิตเลอร์จึงอาศัยช่องทางการเสียดุลอำนาจเพื่อกุมอำนาจเบ็ดเสร็จให้ตัวเอง และเมื่อหลังขึ้นครองอำนาจแล้วฝ่ายศาลเองมีส่วนสำคัญเพราะได้ตีความกฎหมาย เพื่อสนับสนุนความคิดแบบนาซีด้วย

ความผิดพลาดของ ‘ตุลาการ’ ตั้งแต่ก่อนฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจ

เวลาเราพูดถึงประวัติศาสตร์ เราอาจคิดว่าถ้าเกิดแบบนั้นขึ้น แบบนี้จะไม่เกิด ถ้าเหตุการณ์ไม่เป็นอย่างนั้น ฮิตเลอร์ก็อาจขึ้นสู่อำนาจไม่ได้

มีสองสามเรื่องอยากจะแลกเปลี่ยนและเล่าให้ฟัง อันแรกคือ กรณีการทำรัฐประหารที่เรียกว่า กบฏโรงเบียร์ของฮิตเลอร์ ในปลายปี 1923 ฮิตเลอร์ตอนนั้นมีบทบาทในพรรคนาซีแล้ว มีความพยายามยึดอำนาจโดยเดินระยะไกลจากบาวาเรียถึงไปถึงเบอร์ลินเลียนแบบมุ สโสลินี แต่ความพยายามนั้นไม่สำเร็จเพราะทหารไม่เอาด้วยและแพ้ไปในที่สุด

ว่ากันว่าวันที่ฮิตเลอร์หลบหนีไปนั้นมีการยิงต่อสู้กัน และกระสุนพลาดฮิตเลอร์ไปไม่กี่องศา ถ้ากระสุนนัดนั้นตรงไปที่เขา ก็คงสิ้นชื่อฮิตเลอร์ไปตั้งแต่ปี 1923 แล้ว การที่กระสุนนัดนั้นไม่ถูกฮิตเลอร์ก็นับเป็นกระสุนเปลี่ยนประวัติศาสตร์ เหมือนกับบ้านเรา กระสุนนัดหนึ่งก็เปลี่ยนประวัติศาสตร์เหมือนกันในปีพ.ศ.2489  

เวลาต่อมาฮิตเลอร์ก็ถูกจับ คดีกบฏฮิตเลอร์นี้ เป็นคดีสำคัญอีกคดีหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าบทบาทของนักกฎหมาย ผู้พิพากษา มีส่วนสำคัญในการกำหนดโชคชะตาของรัฐ ตอนทำกบฏฮิตเลอร์ยังเป็นคนออสเตรีย ตามกฎหมายเวลานั้นเขาอาจถูกเนรเทศได้ แต่ผู้พิพากษาในคดีนี้ค่อนข้างขวา เขาปล่อยให้การพิจารณาคดีในศาลกลายเป็นที่โชว์ ideology ของฮิตเลอร์ และสุดท้ายตัดสินว่า แม้จะผิดตามกฎหมายและฮิตเลอร์ไม่ใช่คนเยอรมันแต่ก็มีจิตใจแบบคนเยอรมัน เคยร่วมรบในสงคราม และทำไปด้วยอุดมการณ์รักชาติรักแผ่นดิน จึงควรลงโทษสถานเบา จำคุกเพียง 5 ปีและกำหนดเงื่อนไขว่าหากประพฤติตัวดีก็ปล่อยได้ก่อน ฮิตเลอร์ถูกขังในปราสาทแห่งหนึ่ง บางคนพูดว่านี่เป็นเพียง ‘การเปลี่ยนที่นอน’ ของฮิตเลอร์ ราวกับไปนอนในโรงแรม เวลาต่อมาเมื่อฮิตเลอร์ครองอำนาจ ผู้พิพากษาคนนี้ได้รับการโปรโมตให้เป็นประธานศาลสูงในบาวาเรีย

การที่ฮิตเลอร์พ่ายแพ้หรือล้มเหลวในการทำรัฐประหาร ทำให้เขาเกิดความคิดหนึ่งขึ้นมาซึ่งสื่อแสดงในหลายวาระ นั่นก็คือ เขาเห็นว่าการได้มาซึ่งอำนาจรัฐไม่สามารถใช้วิธีเข้ายึดอำนาจได้ แต่ต้องใช้วิธีการให้เป็นไปตามกฎหมายมากที่สุด พยายามสร้างความชอบธรรมให้มากที่สุดในการยึดอำนาจ

(อ่านต่อ) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น