พ.ร.บ.นิรโทษฉบับญาติวีรชน บนความขัดแย้งสับสน
ใบตองแห้ง Baitonghaeng
พลันที่ญาติวีรชนพฤษภา 53 อันมีแม่น้องเกด กับพ่อน้องเฌอ
เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ออกมาเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับญาติวีรชน
ก็เกิดความขัดแย้งตอบโต้กับวรชัย เหมะ อ.ธิดา และหมอเหวง โตจิราการ
ทั้งในเฟซบุคและในหน้าสื่อ ซึ่งได้โอกาส “เสี้ยม” อย่างสนุกสนาน
กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์ ยังออกมา “สนับสนุน” ร่างของญาติวีรชน
(แต่ไม่สนับสนุนจริงเพราะละเลยสาระสำคัญ)
การตอบโต้กันด้วยท่าทีที่รุนแรง และมีกองเชียร์ทั้งสองฝ่ายนี้ ไม่เป็นผลดีเลยต่อการผลักดันให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมืองโดยเร็ว
กรณีนี้มีหลายประเด็นที่ควรแยกแยะทำความเข้าใจ
1.ความไม่ไว้ใจนักการเมือง
การนิรโทษกรรมมวลชนเสื้อแดงที่ถูกจับกุมคุมขัง
จำเป็นต้องอาศัยจังหวะทางการเมือง ไม่ใช่มีอำนาจแล้วทำได้ทันที
ฉะนั้นการที่บอกว่ารัฐบาลต้องทำเรื่องอื่นก่อน
หรือต้องคำนึงถึงเสถียรภาพรัฐบาลด้วย แรกๆ ก็มีเหตุผล
แต่เมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี รอแล้วรอเล่า
มีจังหวะที่น่าจะทำหลายครั้งแต่ไม่ทำ
มวลชนก็รู้สึกว่ารัฐบาลและพรรคเพื่อไทยไม่ให้ความสำคัญ
หนำซ้ำยังมีความพยายามจะสอดแทรก พ.ร.บ.ปรองดอง นิรโทษเหมาเข่ง
ทั้งทักษิณและผู้รับผิดชอบการปราบปรามประชาชนเมื่อปี 53 อยู่เสมอ
เมื่อปี 55 พรรคเพื่อไทยประกาศผลักดันแก้ไขมาตรา 291
แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ก่อนนิรโทษกรรม ซึ่งไม่ว่ากัน
แต่แล้วก็ถูกคว่ำทั้งกระดาน เพราะดันร่าง
พ.ร.บ.ปรองดองเข้ามาแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย (และยังคาอยู่ในสภาจนบัดนี้)
หลังจากนั้นจึงเกิดกระแสผลักดันให้นิรโทษกรรมมวลชนก่อน จนเกิดร่าง
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับวรชัย เหมะ ผ่านมติพรรค ให้เข้าสภาเป็นวาระแรก
หลังเปิดสภาเดือนสิงหาคม
(อ่านต่อ)
http://www.voicetv.co.th/blog/1570.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น