หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ศปช.แถลง นิรโทษกรรมแก้ไขความผิดพลาดปฎิบัติการของรัฐ คืนความยุติธรรมให้กับประชาชน

ศปช.แถลง นิรโทษกรรมแก้ไขความผิดพลาดปฎิบัติการของรัฐ คืนความยุติธรรมให้กับประชาชน

 

Photo: July 18, 2013

ท่านที่กรุณาติดตามงานเขียนและพูดของผมมาชั่วระยะหนึ่ง คงสังเกตได้เองว่าผมไม่ค่อยออมความเห็น หรือยับยั้งชั่งใจอะไรนัก จุดยืนทุกๆ เรื่องของผมต้องชัดเจนเสมอ ไม่ว่าจะ “ถูกใจตลาด” หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ก็มิใช่เห่อเหิมหรือโอหัง แต่เป็นเพราะผมรู้สึกเคารพและให้เกียรติอย่างสูงต่อมวลชนผู้รับสาร ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศไทยตัวจริง และสมควรที่จะได้รับข้อเสนอที่ชัดเจนที่สุดจากเพื่อนร่วมชาติอย่างไม่มีอะไรเคลือบแฝงหรือถูกดูถูกว่าเป็นเด็ก เรื่องใดที่ผมยังนั่งอยู่บนรั้ว และตัดสินใจไม่ได้ว่าจะกระโดดลงมาข้างไหน ผมมักงดเว้นการแสดงความเห็นในเรื่องนั้นๆ ออกตัวมาอย่างนี้ในวันนี้ เพื่อจะบอกท่านว่า ผมอาจจะละเมิดกฎของตัวเองสักครั้ง ด้วยการแสดงความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งกำลังเป็นประเด็นสำคัญในบ้านเมือง และเป็นเงื่อนไขอันจำเป็นที่เราทั้งสองฝ่าย (หรือหลายฝ่าย) ต้องหาทางก้าวข้ามไปให้ได้ ถ้าหากเราอยากเป็นชาติเดียวกันต่อไปหรือลดความเสี่ยงที่จะเกิดนองเลือดกันอีกในอนาคตอันใกล้ 

แต่ความเห็นในวันนี้ ไม่ใช่การฟันธง ผมเพียงตั้งใจที่จะช่วยสางปมปัญหาที่มีความละเอียดอ่อน ให้เราแลเห็นทางกันมากขึ้น เหมือนแกะปมผ้าออกทีละนิดหรือใช้หวีสางเส้นผมที่เกาะติดกันเป็นสังกะตัง เหตุผลที่ถอยออกมาก้าวหนึ่งและไม่ฟันธง ทั้งๆ ที่ผมก็มีความเห็นอันเป็นข้อสรุปอยู่ในใจ เพราะผมไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุร้ายเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ถึงจะติดตามเหตุการณ์ด้วยกรรมวิธีต่างๆ จนรู้รายละเอียดอย่างสมบูรณ์ ผมรู้สึกว่าเรื่องนี้พี่น้องมวลชนและแกนนำในที่เกิดเหตุ และได้เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายมา ควรเป็นผู้นำในการแสดงความคิดเห็นและสรุปว่าจะก้าวไปทางใดต่อ ผมขอทำหน้าที่เพียงผู้ร่วมให้ความเห็นคนหนึ่งต่อท่าน ทั้งในฐานะแนวร่วมที่ใกล้ชิด และในฐานะพลเมืองไทยผู้มิใช่ทาส แต่พร้อมเสมอที่จะร่วมผลักดันให้ข้อสรุปและแผนคืนความเป็นธรรมเหล่านี้ให้ปฏิบัติได้จริง ถึงจะต้องประสบกับแรงต้านทานของอำนาจเก่า และความไม่เข้าใจของฝ่ายเดียวกันขนาดไหนก็ตาม 

ขณะนี้เกิดร่างกฎหมายนิรโทษกรรมจากหลายแหล่งและหลายที่มา มีความแตกต่างกันในรายละเอียดที่สำคัญมากบ้างน้อยบ้าง ผมขอไม่แสดงความเห็นเจาะจงลงไปถึงระดับถ้อยคำสำนวน แต่จะชวนเชิญให้เราท่านพิจารณาในภาพรวม อันดับแรกสุด การเน้นว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้ คือการ “นิรโทษกรรม” และไม่ใช่การ “อภัยโทษ” นั้น เป็นหลักการที่ถูกต้อง และต้องรักษาไว้ให้สุดกำลัง คำว่า “นิร” ซึ่งอ่านว่า นิ-ระ มีความหมายว่า ไม่ หรือ ไม่มี การนิรโทษกรรมคือไม่มีกรรมนั้นๆ เกิดขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องต่อสิ่งที่เราจะแก้ผิดให้เป็นถูก เพราะมวลชนทุกคนที่อยู่กักขังด้วยข้อกล่าวหาทางการเมืองตั้งแต่วันรัฐประหารเป็นต้นมานั้น รัฐต้องถือว่าเป็นผู้ไม่มีความผิดเลย จะบังคับหรือเกี่ยงให้เขายอมรับผิด แล้วจึงหลอกล่อ จะให้ “อภัยโทษ” นั้นไม่ได้ ถือว่าเสียหลักการขั้นพื้นฐานเลยทีเดียว แต่นี่เป็นคนละเรื่องกับผู้ถูกกล่าวหาจะใช้สิทธิของแต่ละคนนะครับ ถ้าเจ้าตัวเขาอยากยอมรับความผิดเพื่อแลกกับอิสรภาพเราก็ห้ามเขาไม่ได้ แต่เมื่อเราตั้งเรื่องขึ้นใหม่สำหรับมวลชนทั้งหมด เราเสนอได้เลยว่าทุกคนไม่มีความผิด ทุกคนที่ช่วยเหลือผลักดันในเรื่องนี้ต้องเชื่อเสียก่อนว่ามวลชนเหล่านี้คือผู้บริสุทธิ์ มิฉะนั้นจะกลายเป็นตัวอย่างที่เลวร้ายมากสำหรับอนาคต เพราะประชาชนยังต้องลุกขึ้นสู้อีกหลายครั้งเพื่อให้บ้านเมืองนี้เป็นของเขามากขึ้น ผู้เจรจาจะไปยอมรับความผิดแม้เพียงบางส่วนก็ไม่ได้ ถ้าเช่นนั้นเราลุกออกจากโต๊ะเจรจาเสียเลยจะมีประโยชน์กว่าในเชิงบรรทัดฐาน

อันดับสองคือการแยกแยะตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ “ฐานความผิด” ในเรื่องนี้ออกเป็นกลุ่ม ประสบการณ์ของผมที่ได้เข้าร่วมต่อสู้กับพี่น้องมวลชนมาตั้งแต่แรกก็พอมีอยู่ ผมเสนอให้แยกคนทั้งหมดออกเป็น ๓ กลุ่มหรือ ๓ ประเภทของความเกี่ยวข้อง (involvement / engagement) ได้แก่

1. ผู้วางแผนและผู้สั่งการ
2. ผู้บริหารกิจกรรมและผู้ตัดสินใจภาคสนาม 
3. มวลชนและแนวร่วม 

เรื่องนี้เปรียบกับการแข่งขันฟุตบอลอาจจะทำให้มองง่ายขึ้น ในการแข่งขันแต่ละนัดจะต้องมีผู้คนสามกลุ่มอยู่เสมอในแต่ละทีม นั่นคือ ผู้ฝึกสอน (โค้ช) ผู้เล่น (นักบอล) และผู้ชมในสนาม สามประเภทนี้ยกมาเปรียบเทียบกันได้กับสามประเภทที่ผมเสนอไว้เป็น แนวพิจารณา โค้ชเป็นผู้วางแผนและสั่งการ นักบอลเป็นผู้ตัดสินใจภาคสนาม และผู้ชมเป็นแฟนและผู้สนับสนุน ที่มาเชียร์โดยไม่รู้เบื้องหลังของแต่ละนัดว่าเขาวางแผนการเล่นมาอย่างไร คราวนี้ใส่สถานการณ์เข้าไปในสมการนั้น เอาเป็นว่าเกิด “ความผิดพลาด” ขึ้นในเกม เราก็ต้องเพ่งความสนใจไปที่ผู้วางแผนและผู้เล่นในสนามนั้นก่อน เพราะเป็นผู้ที่รู้แผนหรือมีความรับผิดชอบในภารกิจที่สำคัญคือทำให้ได้รับชัยชนะ แฟนบอลที่มาเชียร์นั้นไม่เกี่ยวข้องเลย ถึงจะตะโกนด่าอะไรลงมาหรือถึงขนาดฝ่าด่านวิ่งเข้ามาในสนาม ก็ต้องถือว่าไม่ใช่ผู้รับผิดชอบเกม นั้น และเป็นเพียงผู้รับผิดชอบในพฤติกรรมเฉพาะตัวที่กระทำลงไปเท่านั้น บุคคลในสองประเภทแรกจึงควรถือว่าเป็นผู้รับผิดชอบหลัก จะมีความผิดหรือไม่ต้องพิจารณากันอีกระดับหนึ่งและด้วยหลักฐานอีกแบบหนึ่ง 

เช่นเดียวกับการการชุมนุมทางการเมือง ที่แกนนำและผู้วางแผน (หากพิสูจน์ได้ว่ามี) ถือเป็นผู้รับผิดชอบหลัก และจะต้องแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง การตั้งเงื่อนไขว่า ไม่ผิด (นิร) ไว้ก่อน น่าจะกลายเป็นปมปัญหาใหม่ที่ทำให้เรื่องไม่จบง่ายและลุกลามไปได้ พูดอย่างนี้ก็มิใช่ว่าต้องผิด เพียงแต่มีหลักพิจารณาความผิด (หรือไม่ผิด) ที่แยกต่างหากไป ส่วนมวลชนหรือผู้ชมนั้น ไม่ควรมีความผิดเลย และควรเป็นเป้าหมายหลักของการชำระล้างมลทิน อันเนื่องมาจากการกล่าวหาทางการเมืองด้วย มวลชนเหล่านี้ต้องได้รับอิสรภาพโดยเร็ว ไม่มีประวัติอาชญากรติดตัว และได้รับการชดเชยในรูปใดรูปหนึ่งจากภาครัฐ

อันดับสามหรืออันดับสุดท้ายเป็นเรื่องของพื้นที่สีเทา แปลว่าก้ำกึ่งระหว่างผิดหรือไม่ผิด ซึ่งบางกรณีก็เป็นเพียงคำกล่าวหาที่ยังไม่อาจพิสูจน์ได้ การเขียนกฎหมายให้ครอบคลุมหรือเกี่ยวข้องกับพื้นที่สีเทาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนยิ่งกว่าสองประเด็นแรกที่กล่าวมา เมื่อคิดพิจารณาแล้ว ผมก็เห็นพื้นที่สีเทาอยู่อย่างน้อย ๓ ประเด็น ได้แก่

1. การเริ่มต้นกระทำและปฏิกิริยาตอบโต้ (action & reaction)
2. สิทธิในการป้องกันระบอบประชาธิปไตยและในการป้องกันตนเอง จนถึงสิทธิในการติดอาวุธ
3. กรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 

ผมขออธิบายความคละไปทั้งสาม ประเด็นว่า การฆาตกรรมประชาชนเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ และระหว่างนั้นทั้งก่อนและหลัง ต้องตั้งประเด็นไว้ให้ชัดเจนว่าเป็นการเริ่มต้นกระทำ (action) ของรัฐบาล และ/หรือ กองทัพในขณะนั้น โดยมีผู้กุมอำนาจรัฐเป็นผู้วางแผนและสั่งการ (อาจต้องพิสูจน์โดยใช้หลักฐานแวดล้อม หากหาหลักฐานตรงไม่ได้)  และสิ่งที่มวลชนผู้ชุมนุมกระทำต่อมาทั้งหมดทั้งมวลเป็นปฏิกิริยา (reaction) ต่อการกระทำนั้น สิ่งสำคัญคือการสร้างหลักการในกฎหมายว่ามวลชนประชาธิปไตยมิใช่ผู้เริ่มก่อเหตุ โยงถึงประเด็นที่สองว่ามวลชนที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธสงคราม ย่อมมีเหตุผลในความเป็นมนุษย์ที่จะป้องกันตนเองให้รอดจากการกระทำของฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่า (self-defence) การแสวงหาสิ่งที่เขาจะมาใช้เป็นเครื่องป้องกันตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน ท่อนไม้ หรือแม้กระทั่งอาวุธประจำกายที่เขามีไว้ก่อนแล้ว ต้องถือว่าเป็นสิทธิโดยชอบธรรมที่เขาจะนำมาใช้ได้ แม้แต่ในกฎบัตรสหประชาชาติก็ยังระบุสิทธินั้นไว้ ข้อกล่าวหาในเรื่องอาวุธจึงต้องพิจารณาคู่ขนานไปกับประเด็นหลักฐานและหลักการในการป้องกันตนเองด้วย มิใช่ว่าเอาข้อกล่าวหาลอยๆ มาเป็นโจทย์ตั้งต้น และบิดเบือนคดีฆาตกรรมหมู่และเป็นสาธารณะครั้งนี้ให้เหลือเพียง “ปฏิกิริยา” จากฝ่ายรัฐและกองทัพในขณะนั้น ส่วนข้อสุดท้ายนั้น เราต้องถือว่าคดีหมิ่นฯ ที่เกิดขึ้นมากมายตามกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ เป็นคดีการเมืองด้วย จู่ๆ มวลชนไม่ได้มีพฤติกรรมใหม่เช่นนี้ขึ้นมาลอยๆ แต่เป็นปฏิกิริยาต่อผู้ที่เขาเชื่อว่าเป็นเหตุปัจจัยในวิกฤติด้วยเช่นกัน.
    
*******************************************
TPNews : บริการข่าวสั้นผ่านมือถือ SMS สำหรับคนรักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ไม่ใส่ร้าย บิดเบือน ส่งตรงถึงมือถือของท่านทุกวัน ควบคุมงานข่าวโดย "จักรภพ เพ็ญแข"
สมัครง่ายๆ ระบบ AIS เพียงกด *455240415 แล้วโทรออก
ระบบ DTAC และ TRUE เข้าเมนูเขียนข้อความในมือถือของท่าน พิมพ์ pn แล้วกดส่งมาที่เบอร์ 4552146
ราคา 29 บาท / เดือน พิเศษ สมัครวันนี้ใช้ฟรี 14 วัน 
ย้ำการประกาศกฎหมายความมั่นคงขาดความชอบธรรม ระบุยังมีข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีด้วย กม.ที่ไม่เป็นธรรมที่ไม่เป็นที่เปิดเผย อีกมาก ย้ำหลักการนิรโทษกรรมต้องเป็นการแก้ไขความผิดพลาดของฝ่ายรัฐ และคืนความยุติธรรมให้กับประชาชน ไม่ใช่เหมาเข่งอ้างปรองดอง ต้องปฏิรูประบบยุติธรรมทั้งระบบ


วันที่ 26 ก.ค. 2556 ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 2553 (ศปช.) จัดเสวนาหัวข้อ 108 เหตุผลทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง

โดย กฤตยา อาชวณิชกุล ประธาน ศปช. กล่าวถึงเหตุผลที่จัดการเสวนาขึ้นว่า แม้ ศปช. จะจัดตั้งขึ้นมาเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย.–พ.ค. 2553 จะได้จัดทำรายงานเผยแพร่แล้ว ศปช. ก็ยังไม่ปิดตัว เพราะพบว่ายังมีประชาชนจำนวนมากที่ประสบชะตากรรมเรื่องคดีความ ศปช.จึงยังคงทำงานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เพื่อติดตามคดีความต่างๆที่ประชาชนทั้งผู้เข้าร่วมชุมนุมและไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมถูกจับกุม อันมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ เมษา – พฤษภา 2553 สรุปได้ว่า มีการจับกุมตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2555 รวม 1,763 คน เป็นจำนวนคดีรวม 1,381 คดี และเมื่อรวมตัวเลขผู้ถูกจับกุมภายหลังด้วย ทำให้มี จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีรวม 1,833 คน (1,451 คดี) ในจำนวนนี้ เป็นผู้ถูกดำเนินคดีคดีสิ้นสุดแล้ว 1,644 คน อยู่ระหว่างจำคุก 5 คน และ คดีที่คดียังไม่สิ้นสุดประมาณ 150 คน  ได้ประกันตัว 137 คน (คดีก่อการร้าย 24 คน) ไม่ได้ประกันตัว ยังอยู่ในเรือนจำต่างๆ 13 คน นอกจากนี้ ศปช. พบว่ายังมีจำนวนหมายจับที่ยังจับกุมไม่ได้อีกหลายร้อย ในหลายจังหวัด ได้แก่ จ.มุกดาหาร อุดรฯ จ.อุบลฯ จ.ขอนแก่น และเชียงใหม่

ถ้านับจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ อันเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทาง การเมืองหลังรัฐประหาร พบว่า มีผู้ถูกดำเนินคดี เท่าที่รวบรวมได้ 55 ราย เป็นคดีที่คดีสิ้นสุดแล้ว 23 ราย ยังไม่สิ้นสุด 23 ราย และไม่ทราบสถานะคดี 9 ราย

ดังนั้นถ้ารวมตัวเลขทั้งหมด คือ 1,833 และ 55 ราย สรุปได้ว่ามีประชาชนถูกดำเนินคดีเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร รวม 1,888 คน

ดร. กฤตยา กล่าวว่า ศปช. มีข้อสังเกตและข้อเสนอจากการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 2553 ของ ศปช. ว่า  ข้อมูลของ ศปช.จึงอาจยังไม่ครอบคลุมจำนวนผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง โดยเฉพาะจำนวนและรายชื่อของผู้ที่ถูกออกหมายจับแต่ยังไม่มีการจับกุม และผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ เนื่องจาก ศปช.ไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลเหล่านี้ได้ ดังนั้น หน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ที่มีสถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญจึงควรต้องใช้กลไก ของตนในการแสวงหาข้อมูล ผ่านทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด   ศาลยุติธรรม  หรือเปิดรับข้อมูลจากผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47871 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น