หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

นักวิชาการไทยวิเคราะห์อียิปต์บกพร่อง

นักวิชาการไทยวิเคราะห์อียิปต์บกพร่อง!!??
 

 
โดย นุ่มนวล ยัพราช

การวิเคราะห์เรื่องอียิปต์ ไม่ว่าจะเป็น เกษียร เตชะพีระ หรือ ‘จรัญ มะลูลีม ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ประวิตร โรจนพฤกษ์ จรัล ดิษฐาอภิชัย’ มีจุดร่วมคือ ลดรูปเรื่องการปฏิวัติให้เป็นเพียงแค่การเรียกร้องประชาธิปไตยในกรอบเสรีนิยม

ความขัดแย้งในอียิปต์กลายเป็นเรื่องของความขัดแย้งข้างบนล้วนๆ ไม่มองว่า Arab Spring คือ การปฏิวัติของมวลชน , ไม่พูดถึงการทรยศของพรรคมุสลิมบราเธอฮูดที่จับมือกับทหารเพื่อทำลายการ ปฏิวัติ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่มวลชนไม่พอใจ มูรซี่, ไม่พูดถึงการที่พรรคมุสลิมฯ ปลุกระดมความเกลียดชังทางศาสนาต่อชาวคริสต์และปราบปรามสหภาพแรงงานที่นัด หยุดงาน, ไม่พูดถึงการเน้นนโยบายแบบกลไกตลาดเสรีนิยมใหม่ของพรรคที่เดินตามรอยมูบารัค

ไม่มีการพูดถึงบทบาทมวลชนที่ออกมา 17 ล้านคนในวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่าน มองไม่เห็นการนัดหยุดงานที่เกิดขึ้นสมัยบูบารักถูกล้ม และหลังจากที่มูรซี่ขึ้นมา ไม่ตั้งคำถามว่าทำไมทหารจึงทำรัฐประหาร แล้วขึ้นมาปราบมวลชนอย่างเป็นระบบ แค่มองว่าเป็นรัฐทรราช ไม่มองว่าฝ่ายอำนาจเก่า ทหาร-มูบารัก กำลังดิ้นเฮือกสุดท้ายเพื่อทำลายการปฏิวัติอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ที่ละเลยประเด็นหลักๆแบบนี้ ก็ออกป่าออกเขาไปเรื่อยเปื่อย ไม่น่าจะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิวัติอียิปต์ แล้วเราจะเรียนบทเรียนจากเขาอย่างไร?

นักวิชาการและนักเขียนจำนวนมากเวลาพูดถึงอียิปต์ มีแค่ความสามารถที่จะเข้าใจอะไรแบบพื้นฐานง่ายๆ เท่านั้น คือมองว่ามีแค่ทางเลือกสองทางระหว่าง

(1) “ประชาธิปไตยรัฐสภา” ซึ่งหมายความว่าต้องยอมรับพรรคมุสลิมบราเธอฮูดของประธานาธิบดีมูรซี่ หรือหาทางปรองดองของฝ่ายปกครองเพื่อเลือกตั้งใหม่

(2) “เผด็จการทหาร”
ซึ่งทั้งสองทางเลือกข้างบนเป็นทางเลือกของชนชั้นนำอียิปต์ที่จะทำลายการปฏิวัติ Arab Springและปกป้องผลประโยชน์ตนเอง

แต่ทางเลือกที่สาม คือการต่อยอดและขยายกระบวนการปฏิวัติ โดยอาศัยพลังมวลชน คนหนุ่มสาว และกรรมาชีพ พวกนี้มองไม่เห็น เพราะอยู่นอกกรอบความคิดแคบๆ ของเขาที่เห็นแต่ชนชั้นบนและกรอบทุนนิยมกระแสหลัก

(ที่มา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น