จีนเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจ
พอล์ ครุกแมน
Hitting China’s Wall
พอล์ ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์สาย “เคนส์” ในสหรัฐ
เขียนถึงวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศจีน ที่ทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนช้าลง
ในอดีตจีนอาศัยนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นค่าแรงต่ำ
และสามารถกดค่าแรงได้เพราะมีคนจนในชนบทมากมายที่เป็น “กองทัพแรงงานสำรอง”
มูลค่าที่ถูกผลิตขึ้นในจีนจากการทำงานของกรรมาชีพ
ส่วนใหญ่ถูกนำไปลงทุนต่อโดยรัฐวิสาหกิจ
และมีส่วนหนึ่งที่เข้ากระเป๋าพวกนายทุนลูกหลานแกนนำพรรคคอมมิวนิสต์
คนธรรมดาไม่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจที่ปูมหลายปี มันสร้างความไม่สมดุลย์ระหว่าง “การบริโภคของประชาชน”
กับ “การลงทุน” ซึ่งจีนมีสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมที่นำไปลงทุนต่อสูงมาก เกือบ 50
เปอร์เซนต์ มันเป็น “การลงทุน เพื่อสร้างกำไร เพื่อลงทุนต่อ”
ซึ่งเราชาวเลี้ยวซ้ายคงเข้าใจดีว่าเป็นหัวใจของระบบทุนนิยมที่ คาร์ล มาร์คซ์
เคยพูดถึง และแสดงให้เห็นว่าจีนเป็นทุนนิยมไปนานแล้ว... ครุกแมน อธิบายต่อว่า
ตอนนี้จีนเริ่มขาดแรงงาน กรรมาชีพเลยมีอำนาจต่อรองสูง มีการเพิ่มค่าจ้างและการบริโภค
แต่ปรากฏการณ์นี้ทำให้อัตรากำไรลดลง
รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาด้วยการกดค่าเงินและการชักชวนให้มีการกู้เงินด้วยดอกเบี้ยต่ำ
แต่นโยบายแบบนั้นเพียงแต่ยืดเวลาของการเกิดวิกฤต
เพราะเมื่อฟองสบู่แตกก็จะมีปัญหาใหญ่ จีนมีเศรษฐกิจที่ใหญ่พอสมควร
แต่เล็กกว่าสหรัฐ และอียู ในยามปกติส่วนอื่นของโลกคงเอาตัวรอดท่ามกลางวิกฤตจีนได้
แต่ในปัจจุบันทุกส่วนของโลกมีวิกฤตร้ายแรง และเรามองว่าประเทศที่พึ่งพาการส่งออกไปจีน
ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ เช่นลาตินอเมริกา อัฟริกา ออสเตรเลีย หรือประเทศที่ส่งชิ้นส่วนย่อยไปประกอบที่จีนอย่างไทย
คงมีปัญหา
ครุกแมนพูดครึ่งเดียว
เพราะนักเศรษฐศาสตร์แนวเคนส์อย่างเขาหลงเชื่อว่าถ้าการบริโภคสมดุลย์กับการ
ลงทุนเศรษฐกิจจะไปได้สวย
และเขาเชื่อว่าการบริโภคกระตุ้นเศรษฐกิจและแก้ปัญหาวิกฤตได้
แต่วิกฤตจีนไม่ต่างจากวิกฤตทุนนิยมทั่วโลก
คือต้นเหตุพื้นฐานมาจากการลดลงของอัตรากำไร
ที่เกิดจากการลงทุนในเครื่องจักรมากขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะจ้างงาน
การเพิ่มอัตราการบริโภคไม่สามารถฟื้นอัตรากำไรได้
และอาจตัดกำไรนายทุนถ้ามาจากการเพิ่มค่าจ้าง ทุนนิยมมันซ่อมไม่ได้
ต้องยกเลิก
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น