หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เมื่อจิ๋มฉันดำและขนดก, แล้วไง? นี่คือจุดกำเนิดของมวลมนุษยชาติ

เมื่อจิ๋มฉันดำและขนดก, แล้วไง? นี่คือจุดกำเนิดของมวลมนุษยชาติ

 

 
Are vulvas so obscene that we have to censor them?
http://www.theguardian.com/commentisfree/2013/aug/22/honi-soit-vulvas-censorship 

งานศิลปะ The great wall of vagina
http://www.greatwallofvagina.co.uk/images

BananamaxTV - มันคือศิลปะ!!!
http://www.youtube.com/watch?v=abQ9M72sMXk#t=257 
 

Honi Soit เป็นนิตยสารเก่าแก่เกือบร้อยปีของนักศึกษามหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney) เล่มล่าสุดถูกสั่งเก็บครับเพราะมีหน้าปกอย่างที่เห็น เป็นภาพโยนีของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยแห่งนี้ 18 คน ตอนแรกไม่มีการคาดดำโยนีเหล่านี้ (ดูได้จากภาพในลิงก์ข่าว) หลังการเจรจากับทางมหาวิทยาลัยนศ.จึงยอมคาดดำ แต่พอพิมพ์ออกมาทางมหาวิทยาลัยอ้างว่ามันยัง “ดำ” ไม่พอ ทำให้เห็นอะไรที่อยู่ข้างหลังนั่น จึงห้ามวางจำหน่าย

เหตุที่เขาเอาภาพสดของอวัยวะเพศหญิงมาโชว์ใด้ดู ไม่ใช่เรื่องทางเพศ แต่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการณรงค์เพื่อประกาศต่อสังคมว่า เราถูกหนังโป๊และสื่อโฆษณาต่าง ๆ หลอกลวงว่า ซอกลับตรงนั้น ต้องเป็นกลีบนุ่ม ต้องขาว ต้องชมพู ไร้ขน “แต่ในความเป็นจริงมันไม่เป็นอย่างนั้น อวัยวะเพศของดิฉันทั้งดำและขนดก ทั้งไม่เป็นสีชมพู และแถมยังสาก ๆ” ผู้เข้าร่วมโครงการรณรงค์ครั้งนี้กล่าว

พวกเธอเห็นว่าเป็นอาการร้ายแรงของสังคมออสเตรเลียที่ผู้หญิงมากถึง 1,200 คนต่อปีเข้ารับการผ่าตัดตกแต่งทางนรีเวช (labiaplasty)

ในเดอะการ์เดี้ยนได้พูดถึงไว้คือ สถานะของจู๋และจิ๋มในงานที่สื่อสารกับสาธารณะนั้นไม่เท่ากัน ในปี 1993 Honi Soit เคยตีพิมพ์ภาพจู๋(ที่ยังไม่แข็งตัว)บนหน้าปก ตอนนั้นก็ไม่ได้รับการร้องเรียนอะไร รูปวาดแบบหวัดๆของจู๋ก็มีให้เห็นกันเกลื่อนทั่วโลก แต่เรากลับรับไม่ได้กับรูปของจิ๋มอย่างนั้นหรอ?

เมื่อย้อนกลับมามองในไทย สถานการณ์เราอาจจะไม่ได้เดินไปไกลถึงจุดที่สาวๆ ต้องไปรับการศัลยกรรมตกแต่งจิ๋มของตนเอง(หรือมีเทรนด์นี้กันบ้างแล้ว?) แต่จริงๆ แล้วเรื่องการ stigmatize อวัยวะเพศของผู้หญิงก็มีมานานแล้ว ไม่เฉพาะจิ๋ม แต่รวมไปถึงมายาคติเรื่องหัวนมว่าต้องชมพู ต้องมีขนาดเล็กพอเหมาะ(ของใครคล้ำหรือใหญ่ก็อาจจะโดนเมาท์ได้ว่า เอ...โดนxxxบ่อยสินะ เป็นต้น) จนทำให้ผลิตภัณฑ์ประเภทครีมทาหัวนมชมพูก็เป็นที่ขายได้ในตลาด(แม้จะไม่ใช่ใน วงกว้าง) ถึงเวลาแล้วรึยังที่เราอาจจะต้องเปลี่ยนทัศนคติของตัวเราเอง และของสังคม เปลี่ยนทัศนคติของทั้งผู้หญิงและผู้ชายให้มองอวัยวะเพศอย่างเป็นอวัยวะชิ้น หนึ่งในร่างกายที่แต่ละคนอาจมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าของใครก็ล้วนเป็นหน้าตาปกติของมัน ไม่สร้างความรังเกียจด้วยเพียงว่าสิ่งที่เห็นนั้นแตกต่างภาพในอุดมคติที่ สังคมหรือสื่อสร้างให้เรา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น