อั้ม เนโกะ ชุดนักศึกษา และSex
โดย ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน
ข้อแรกเลย เพราะเขาและเธอถูกมองว่าเป็น "เด็ก" แต่กลับมาพูดจาแสดงความเห็นต่อต้านสังคมของผู้ใหญ่ วิจารณ์ผู้ใหญ่อย่างตรงไปตรงมา พวกเขาไม่ได้ใช้จริตตามวัย เช่นการใช้สรรพนามของทั้งสอง ใช้คำว่า "ดิฉัน" "ผม" "คุณ" พวกเขาแสดงความเป็นผู้ใหญ่ เป็นคนที่สมบูรณ์ ไม่ได้แตกต่างจากพวกผู้ใหญ่ และท้าทายผู้ใหญ่โดยไม่เกรงกลัวอำนาจของผู้ใหญ่ หรือวิธีที่พวกเขาแสดงออก เขาใช้หลักเหตุผล ไม่ได้หน่อมแน้มง๊องแง๊งเหมือนเด็กๆ ที่สังคมไทยมองแล้วเอ็นดู
ข้อที่ต่อเนื่องกันคือ เขาและเธอท้าทายสังคมอำนาจนิยม สังคมที่เน้นอาวุโส สังคมที่ให้ความสำคัญกับการมีสัมมาคารวะเหนือเหตุผล เหนือความกล้าแสดงออก เหนือความเท่าเทียมกัน ในอดีต "เด็กๆ" ก็เคยแสงดบทบาทเช่นเดียวกันนี้ และผู้ใหญ่ทุกวันนี้ก็เคยเป็นแบบพวกเขาและเธอมาก่อน แต่กลับลืมไปแล้วว่าตนก็เคยต่อต้านผู้ใหญ่ ต่อต้านสังคมในภาวะที่ตนเป็นเด็กมากก่อนเช่นกัน และกลับใช้ความเป็นผู้ใหญ่ข่มพวกเขาเพราะตอนนี้ขึ้นมามีอำนาจแล้ว และอำนาจพวกตนกำลังถูกท้าทาย
ข้อสาม เขาและเธอไม่ได้เป็นอีลีท ไม่ได้ใช้ความเป็น "ชนชั้นสูง" ที่อาศัยหน้ากากความหมดจด ผิวพรรณผ่องใส ตีหน้าซื่อบ้องแบ๊ว พูดจาอ่อนหวาน แสดงความเห็นแบบนุ่มนวล เขาและเธอไม่ได้ใช้จริต "เรียบร้อย" "สุภาพ" ในการแสดงออก หากแต่พูดจาโผงผาง ตรงไปตรงมา กระทั่งคร่อมเส้นศีลธรรม ใช้หลักการเหนือวาทศิลป์ ใช้การกระชากอารมณ์เหนือความแยบยล เขาและเธอจึงถูกปฏิกิริยาต้านกลับจากสังคมไทยอย่างแรง
ข้อสี่ สังคม "โซเชียลมีเดีย" ได้สร้าง "พื้นที่สาธารณะ" อย่างใหม่ขึ้นมา ปัจจุบันสังคมโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลสูง กระจายข่าวสารได้รวดเร็ว ทำให้กิจกรรมของพวกเขาเป็นที่รับรู้กว้างขวาง ในอดีต ไม่ใช่ว่าไม่มีกิจกรรมในลักษณะนี้ แต่ไม่เป็นกระแส เพราะคนรับรู้น้อย แต่ทุกวันนี้ แม้แต่ใครฉี่ราด ใครโกนขนจักแร้ ก็เป็นที่ล่วงรู้กระจายกันอย่างกว้างขวางรวดเร็ว และมีพลังทั้งในด้านการครอบงำและการต่อต้าน
ข้อสุดท้าย สังคมไทยปัจจุบันนี้ไม่ได้มีด้านเดียว ไม่ได้เป็นสังคมปิด ไม่ได้เป็นสังคมที่คิดอะไรตามๆ กัน ไม่ได้มีแต่เฉพาะสังคมที่นิยมอำนาจนิยมเท่านั้นอีกต่อไป บรรยากาศของสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นนี้ จึงมีคนที่เห็นด้วยกับที่เขาและเธอเสนออยู่ไม่น้อย และจึงมีคนร่วมขยายประเด็นที่พวกเขานำเสนอไปต่อเนื่อง ซึ่งก็ยิ่งเป็นการเติมเชื้อความชิงชังต่อเขาและเธอมากยิ่งขึ้น
จะโต้จะต้านเขาและเธอย่างไรก็ตาม ตราบใดที่การถกเถียงยังอยู่ในกรอบของการใช้เหตุผล การใช้วาทกรรม ไม่ว่าจะล้อเลียน เสียดสี ถากถาง หรือแม้แต่จะมีการด่าทอกันอย่างรุนแรงบ้าง ก็ยังดีเสียกว่าสังคมไทยในอดีต ที่เงื่อนไขของสังคมปิดกั้น ทำให้ความเห็นของ "เด็กๆ" กลายเป็นอาชญากรรม และพวกเขาจึงต้องสังเวยชีวิตตนเองให้กับศีลธรรมดีงามของพวกผู้ใหญ่"
ข้อแรกเลย เพราะเขาและเธอถูกมองว่าเป็น "เด็ก" แต่กลับมาพูดจาแสดงความเห็นต่อต้านสังคมของผู้ใหญ่ วิจารณ์ผู้ใหญ่อย่างตรงไปตรงมา พวกเขาไม่ได้ใช้จริตตามวัย เช่นการใช้สรรพนามของทั้งสอง ใช้คำว่า "ดิฉัน" "ผม" "คุณ" พวกเขาแสดงความเป็นผู้ใหญ่ เป็นคนที่สมบูรณ์ ไม่ได้แตกต่างจากพวกผู้ใหญ่ และท้าทายผู้ใหญ่โดยไม่เกรงกลัวอำนาจของผู้ใหญ่ หรือวิธีที่พวกเขาแสดงออก เขาใช้หลักเหตุผล ไม่ได้หน่อมแน้มง๊องแง๊งเหมือนเด็กๆ ที่สังคมไทยมองแล้วเอ็นดู
ข้อที่ต่อเนื่องกันคือ เขาและเธอท้าทายสังคมอำนาจนิยม สังคมที่เน้นอาวุโส สังคมที่ให้ความสำคัญกับการมีสัมมาคารวะเหนือเหตุผล เหนือความกล้าแสดงออก เหนือความเท่าเทียมกัน ในอดีต "เด็กๆ" ก็เคยแสงดบทบาทเช่นเดียวกันนี้ และผู้ใหญ่ทุกวันนี้ก็เคยเป็นแบบพวกเขาและเธอมาก่อน แต่กลับลืมไปแล้วว่าตนก็เคยต่อต้านผู้ใหญ่ ต่อต้านสังคมในภาวะที่ตนเป็นเด็กมากก่อนเช่นกัน และกลับใช้ความเป็นผู้ใหญ่ข่มพวกเขาเพราะตอนนี้ขึ้นมามีอำนาจแล้ว และอำนาจพวกตนกำลังถูกท้าทาย
ข้อสาม เขาและเธอไม่ได้เป็นอีลีท ไม่ได้ใช้ความเป็น "ชนชั้นสูง" ที่อาศัยหน้ากากความหมดจด ผิวพรรณผ่องใส ตีหน้าซื่อบ้องแบ๊ว พูดจาอ่อนหวาน แสดงความเห็นแบบนุ่มนวล เขาและเธอไม่ได้ใช้จริต "เรียบร้อย" "สุภาพ" ในการแสดงออก หากแต่พูดจาโผงผาง ตรงไปตรงมา กระทั่งคร่อมเส้นศีลธรรม ใช้หลักการเหนือวาทศิลป์ ใช้การกระชากอารมณ์เหนือความแยบยล เขาและเธอจึงถูกปฏิกิริยาต้านกลับจากสังคมไทยอย่างแรง
ข้อสี่ สังคม "โซเชียลมีเดีย" ได้สร้าง "พื้นที่สาธารณะ" อย่างใหม่ขึ้นมา ปัจจุบันสังคมโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลสูง กระจายข่าวสารได้รวดเร็ว ทำให้กิจกรรมของพวกเขาเป็นที่รับรู้กว้างขวาง ในอดีต ไม่ใช่ว่าไม่มีกิจกรรมในลักษณะนี้ แต่ไม่เป็นกระแส เพราะคนรับรู้น้อย แต่ทุกวันนี้ แม้แต่ใครฉี่ราด ใครโกนขนจักแร้ ก็เป็นที่ล่วงรู้กระจายกันอย่างกว้างขวางรวดเร็ว และมีพลังทั้งในด้านการครอบงำและการต่อต้าน
ข้อสุดท้าย สังคมไทยปัจจุบันนี้ไม่ได้มีด้านเดียว ไม่ได้เป็นสังคมปิด ไม่ได้เป็นสังคมที่คิดอะไรตามๆ กัน ไม่ได้มีแต่เฉพาะสังคมที่นิยมอำนาจนิยมเท่านั้นอีกต่อไป บรรยากาศของสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นนี้ จึงมีคนที่เห็นด้วยกับที่เขาและเธอเสนออยู่ไม่น้อย และจึงมีคนร่วมขยายประเด็นที่พวกเขานำเสนอไปต่อเนื่อง ซึ่งก็ยิ่งเป็นการเติมเชื้อความชิงชังต่อเขาและเธอมากยิ่งขึ้น
จะโต้จะต้านเขาและเธอย่างไรก็ตาม ตราบใดที่การถกเถียงยังอยู่ในกรอบของการใช้เหตุผล การใช้วาทกรรม ไม่ว่าจะล้อเลียน เสียดสี ถากถาง หรือแม้แต่จะมีการด่าทอกันอย่างรุนแรงบ้าง ก็ยังดีเสียกว่าสังคมไทยในอดีต ที่เงื่อนไขของสังคมปิดกั้น ทำให้ความเห็นของ "เด็กๆ" กลายเป็นอาชญากรรม และพวกเขาจึงต้องสังเวยชีวิตตนเองให้กับศีลธรรมดีงามของพวกผู้ใหญ่"
(ที่มา)
ยุกติ มุกดาวิจิตร: ทำไมสังคมไทยดิ้นพล่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น