23 ตุลาคม "วันทาสไม่ยอมถูกปล่อย"
เบื้องหลังการเลิกทาสเลิกไพร่ของรัชกาลที่๕
"วันที่ไทยแสดงความเป็นทาส ไหว้ผู้นำเผด็จการเบ็ดเสร็จ ที่มีเมียเป็นร้อย และเมียคนหนึ่งจมน้ำตายเพรา ะไม่มีใครไปกล้ากู้ชีพเมื่อ เรือร่ม เพราะเขาห้ามผู้ชายแตะเมีย"
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
การพัฒนาของระบบทุนนิยมทั่วโลก บวกกับการขยายตัวของระบบการค้าเสรี
สร้างทั้งปัญหาและโอกาสให้กับกษัตริย์ไทย
ซึ่งเป็นผู้ที่เคยได้ประโยชน์จากการพยายามผูกขาดการควบคุมระบบแรงงานบังคับ
และการค้าขาย
ปัญหาคือรายได้ที่เคยได้จากการควบคุมการค้าอย่างผูกขาดลดลงหรือหายไป
แต่ในขณะเดียวกันการเปิดเศรษฐกิจเชื่อมกับตลาดโลกที่กำลังขยายตัวอย่างรวด
เร็ว มีผลในการสร้างโอกาสมหาศาลสำหรับนายทุนที่สามารถลงทุนในการผลิตสินค้า
แต่โอกาสนั้นจะใช้ไม่ได้ ถ้าไม่รีบพัฒนาแรงงาน
การผลิตข้าวในไทยเป็นตัวอย่างที่ดี ระหว่างปี ค.ศ. 1870-1880
การผลิตข้าวเพื่อส่งออกไปขายในตลาดโลกเพิ่มขึ้น 93%
ในสภาพเช่นนี้ระบบศักดินาที่เคยอาศัยการเกณฑ์แรงงาน
เป็นอุปสรรค์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่
ถ้าจะมีการลงทุนในการผลิตข้าวเพื่อขายในตลาดโลก
จะต้องใช้กำลังแรงงานในการขุดคลองชลประทานและการปลูกข้าวมากขึ้น
และแรงงานนั้นจะต้องมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม
แรงงานเกณฑ์ที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นเครื่องจูงใจ
มักจะไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
ถ้าจะแก้ปัญหานี้ได้ผู้ปกครองต้องเปลี่ยนระบบแรงงานไปเป็นแรงงานรับจ้าง
เพื่อขยายกำลังงานที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
และต้องนำแรงงานรับจ้างเข้ามาจากประเทศจีนอีกด้วย
ซึ่งมีผลทำให้อัตราการค่าจ้างลดลงเมื่อกำลังงานเพิ่มขึ้น ในไทยค่าแรงลดลง
64% ระหว่างปี ค.ศ. 1847 กับ 1907
ในขณะเดียวกันต้องมีการสร้างชนชั้นชาวนาแบบใหม่ขึ้นด้วย
ซึ่งมีลักษณะเป็นผู้ประกอบการรายย่อยอิสระที่มีเวลาและแรงบันดาลใจในการผลิต
ข้าวมากกว่าไพร่ในอดีต
ใครที่คุ้นเคยกับเขตรังสิตจะทราบดีว่าที่นี่มีคลองชลประทานที่ตัดเป็นระบบ
อุตสาหกรรมการเกษตรอย่างชัดเจน คลองชลประทานที่ขุดขึ้นที่รังสิต
ขุดโดยแรงงานรับจ้าง
และการลงทุนในการสร้างที่นาเหล่านี้เป็นการลงทุนโดยบริษัทหุ้นส่วนของระบบ
ทุนนิยมเพื่อการผลิตส่งออก ผู้ที่ลงทุนคือญาติใกล้ชิดของกษัตริย์กรุงเทพฯ
และนายทุนต่างชาติ
หลังจากที่มีการขุดคลองก็มีการแจกจ่ายกรรมสิทธ์ที่ดินบริเวณริมฝั่งคลอง
และชาวนาที่ปลูกข้าวในพื้นที่นี้เป็นชาวนาอิสระที่มาเช่าที่นา
นอกจากนี้ในการแข่งขันระหว่างรัฐต่างๆ รัฐที่ยกเลิกแรงงานบังคับไปแล้ว
เช่นอังกฤษ
อาจใช้ข้ออ้างเกี่ยวกับการปลดปล่อยทาสเพื่อโจมตีรัฐคู่แข่งที่ยังมีระบบนี้
อยู่ อันนี้เป็นประเด็นหนึ่งในการยกเลิกระบบแรงงานบังคับในไทย
ในประเด็นการเมือง การที่รัชกาลที่ ๕ ยกเลิกระบบเกณฑ์แรงงานบังคับ
ซึ่งต้องอาศัยเจ้าขุนมูลนาย
ถือว่าเป็นการตัดอำนาจเศรษฐกิจและการเมืองของเจ้าขุนมูลนายเหล่านั้นไป
เพื่อสร้างระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
และรวมศูนย์รัฐแบบทุนนิยมเป็นครั้งแรกในไทย
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/10/49372
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/10/49372
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น