นักศึกษา มช. ค้านเซ็ตซีโร่ เรียกร้องวุฒิสภาใช้อำนาจยับยั้ง
5 พ.ย. 2556 - วันนี้ที่คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักศึกษากลุ่ม "นักศึกษา มช. คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม" ได้ออกแถลงการณ์ "นักศึกษา มช. คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง-สุดซอย" โดยมีรายละเอียดของแถลงการณ์มีใจความดังนี้
"ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราช
บัญญัตินิรโทษกรรมฯ และได้ลงมติผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ วาระที่ 3
จากจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 314 คน ลงคะแนนเสียงเห็นชอบ 310 เสียง
งดออกเสียง 4 เสียง เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 แล้วนั้น
ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ มีสาระสำคัญอยู่ว่า
ให้นิรโทษกรรมแก่บุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดที่
เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง
หรือความขัดแย้งทางการเมือง
ซึ่งเป็นเหตุการณ์สืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง
หรือการแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
รวมตลอดถึงองค์กรหรือหน่วยงาน
ที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2547
ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2556 ทั้งที่กระทำในฐานะตัวการ ผู้ใช้
ผู้สนับสนุน หรือผู้ถูกใช้
ไม่เป็นความผิดต่อไปและให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและ
ความรับผิดโดยสิ้นเชิง
แต่ไม่นิรโทษกรรมให้แก่บุคคลที่กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
ซึ่งการผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯใน
วาระที่ 3 นี้ กลุ่มนักศึกษา มช. คัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรม
ได้จัดให้มีการประชุมลงมติ และได้ออกแถลงการณ์ในเรื่องดังกล่าวดังต่อไปนี้
1. ขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ
ที่ผ่านการลงมติของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 3 ที่ยกเว้นความผิดในทุกกรณี
เนื่องจากทางกลุ่มมีความเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ นี้
ทำให้กลุ่มผู้ได้รับประโยชน์จากร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ
ครอบคลุมไปถึงผู้สั่งการ (ผู้ใช้ให้กระทำ) และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(ผู้ถูกใช้) จนนำไปสู่ความสูญเสียทางชีวิตและทรัพย์สิน
รวมถึงการขยายระยะเวลาของการนิรโทษกรรมออกไปจนทำให้นักการเมืองที่สมควรถูก
พิจารณาภายใต้กระบวนการยุติธรรมในข้อหาทุจริตคอรัปชั่นได้รับประโยชน์
จากร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯฉบับดังกล่าว
ดังนั้นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ
ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งที่อาจทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในสังคม
2. สนับสนุนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ
วาระที่ 1 ของนายวรชัย เหมะ เมื่อพิจารณาจากร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ
ของนายวรชัย เหมะ ที่เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติในวาระที่ 1 นั้น
จากบทบัญญัติในมาตรา 3 ที่กล่าวว่า
“บุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง
หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง
แต่การกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการ
เมือง
โดยการกล่าวด้วยวาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีการใดเพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อ
ต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือการชุมนุม การประท้วง หรือการแสดงออกด้วยวิธีการใด ๆ
อันอาจเป็นการกระทบต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย
ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลอื่น”
จะเห็นได้ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับหลักการโดยมุ่งนิรโทษกรรมเฉพาะ
ประชาชน ผู้กระทำการตามที่กล่าวข้างต้นนั้น
โดยมิได้นิรโทษกรรมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม
และทั้งไม่นิรโทษกรรมให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำ
ความผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่
19 กันยายน พ.ศ. 2549 แต่อย่างใด
3.ไม่สนับสนุนการนิรโทษกรรมให้แก่เจ้า
หน้าที่ของรัฐระดับสั่งการ แกนนำผู้ชุมนุมทางการเมืองทุกกลุ่ม
และผู้สั่งการ ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ยุยง หรือสั่งการ
ในเหตุการณ์ทางการเมืองที่นำมาซึ่งความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของ
ประชาชนเกินกว่าเหตุ โดยต้องมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตามกระบวนการยุติธรรม
หากปล่อยให้ผู้สั่งการและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสั่งการกระทำการละเมิดสิทธิ
ในชีวิตและร่างกายรวมถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนที่
พึงมีตามรัฐธรรมนูญนั้น รอดพ้นจากความรับผิดดังเช่นที่เคยปฏิบัติมาในอดีต
นอกจากจะเป็นการตอกย้ำบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้อง แล้วยังขัดต่อหลักนิติรัฐ
นิติธรรม นอกจากนี้ในส่วนของแกนนำผู้ชุมนุมทางการเมือง มีส่วนยุยง ส่งเสริม
สนับสนุน และปลุกระดม ให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองในเบื้องต้น
อันนำไปสู่ความสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน
ควรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงเช่นกัน
4.
ไม่นิรโทษกรรมกรณีคดีความผิดที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริตคอรัปชั่นของนักการ
เมือง และการปฏิบัติหน้าที่อันมิชอบในระหว่างการดำรงตำแหน่งทางการเมือง
จากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ วาระ3
ที่ได้แก้ไขและเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนของมาตรา 3 โดยขยายการนิรโทษกรรม
ครอบคลุมไปถึง
“บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการ
ชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง ความขัดแย้งทางการเมือง
หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้น
ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวสืบเนื่องต่อมา
ที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ
หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย
ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”
ซึ่งร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ
นั้นมุ่งหมายนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง
การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง
ในร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ วาระ3นั้น
อาจมีการบิดเบือนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของการนิรโทษกรรมโดยการแก้ไขเพิ่มเติม
เนื้อหาดังกล่าว ที่สามารถตีความไปในทางมิชอบได้
5. ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ
ที่ผ่านการพิจารณาในวาระที่ 3 นั้น
ซึ่งนิรโทษกรรมให้แก่บุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการ
เมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง
ดังที่บัญญัติตามมาตรา 3 วรรคแรกนั้น
ได้มีการกำหนดยกเว้นไม่นิรโทษกรรมให้แก่บุคคลซึ่งกระทำความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา112 ในมาตรา 3 วรรค 2
ถึงแม้ว่าการกระทำความผิดของบุคคลนั้นจะเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการ
ชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง
หรือความขัดแย้งทางการเมืองก็ตาม
การบัญญัติกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ย่อมขัดหรือแย้งกับหลักแห่งความเสมอภาคที่
รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 30
ดังนั้นควรนิรโทษกรรมให้แก่บุคคลซึ่งกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา
112 เช่นเดียวกับบุคคลหรือประชาชนทั่วไปด้วย
กลุ่มนักศึกษา มช.คัดค้านพรบ.นิรโทษกรรม
ขอเรียกร้องให้วุฒิสภา
ซึ่งต้องเป็นผู้พิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรมได้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ
ยับยั้งร่างกฎหมาย
ลงมติไม่ให้ความเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมดังกล่าว
และส่งร่างกฎหมายนิรโทษกรรมคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาทบทวนใหม่
ทั้งนี้ทางกลุ่มนักศึกษา มช. คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
ยังคงเชื่อมั่นต่อกระบวนการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน
หวังว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา
จะไม่ทำลายความหวังและศรัทธาของประชาชนที่มีต่อระบอบประชาธิปไตย
สุดท้ายนี้ทางกลุ่มจะติดตามสถานการณ์และขอสนับสนุนการดำเนินการพิจารณา
พรบ.นี้อย่างถี่ถ้วนในระบบรัฐสภาต่อไป
กลุ่มนักศึกษา มช.คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
5 พฤศจิกายน 2556"
5 พฤศจิกายน 2556"
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/11/49611
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น