หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

"ยุบสภาแล้วจะมีขบวนการสร้างเงื่อนไข "ห้ามเลือกตั้ง"")

"ยุบสภาแล้วจะมีขบวนการสร้างเงื่อนไข "ห้ามเลือกตั้ง"")


 
ทปอ.แนะยุบสภา-หาคนกลางเจรจาคลายปม-นิรโทษผู้ชุมนุมปัจจุบัน
http://www.prachatai.com/journal/2013/11/50058

โดย Phuttipong Ponganekgul
  
จากท่าทีของเหล่าเอลีทในช่วงนี้ และบรรดาข้อเสนอเพี้ยนๆ ที่กระหน่ำกันออกมาเหมือนก่อนสมัยรัฐประหาร ๒๕๔๙ หากพิจารณาในทางที่ "รัฐบาลไม่ยุบสภา" เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อ "เหตุการณ์นอกระบบกฎหมาย" (ถ้าพิจารณาในระบบกฎหมาย มันจะไม่มีปัญหาเลย) แต่มีความพยายามที่จะล้มกระดานเพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้งอีกต่อไป และบรรดาบุคคลที่ออกมานั้นก็ล้วนแต่เป็นพวกสุนัขรับใช้คณะรัฐประหารทั้งสิ้น (เช่นบรรดาอธิการบดีต่างๆ) สะท้อนว่า 

การล้มกระดานคงจะกระทำผ่านการชี้มูลความผิดโดย ป.ป.ช. ในระหว่างที่ยุบสภาไปแล้ว (คุณวิชา มหาคุณ แจ้งว่า จะใช้เวลาชี้มูลประมาณเป็นเดือน ซึ่งจะอยู่ในช่วงที่หากยุบสภาพอดี ก็จะโดนล็อคได้ทันที) และเป็นการชี้มูลในระหว่างที่คุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ เป็นเหตุให้คุณยิ่งลักษณ์ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีรักษาการ

แม้ว่าโดยระบบกฎหมาย รองนายกรัฐมนตรีรักษาการอันดับที่ ๑.จะต้องปฏิบัติหน้าที่แทนคุณยิ่งลักษณ์ได้ก็ตาม แต่หากเกิดการสร้างกระแสการเมืองแบบสนธิลิ้มฯ (ต้นปี ๒๕๔๙) อ้าง "หลักโคมลอย" บีบให้คุณยิ่งลักษณ์ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรักษาการ แบบสมัยทักษิณ ชินวัตร โดนกระทำเมื่อปี ๒๕๔๙ เช่นนี้จะส่งผลให้คณะรัฐมนตรีรักษาการต้องพ้นจากตำแหน่งไปทั้งคณะ และเกิดสุญญากาศขึ้น แล้วเรียกร้องมาตรา ๗

หากวิถีทางยุบสภาเป็นเรื่องที่ยังไม่พึงปรารถนาในสถานการณ์เช่นนี้ (ประกอบกับ แถลงการณ์แผนการอุบาทว์ที่หลุดออกมา ทปอ. ต่างๆ ล่าสุดนี้ ซึ่งสะท้อนสภาวะไม่ปรารถนาจะให้มีการเลือกตั้งขึ้นเลยผ่านข้อเสนอที่แฝงนัยะถึงอุดมคติของพวกเขาที่จะให้เป็นเช่นนั้น คือ "ยุบสภาแล้วจะมีขบวนการสร้างเงื่อนไข "ห้ามเลือกตั้ง"")

เห็นว่า สิ่งที่รัฐบาลควรทำ ณ ตอนนี้ (ท่ามกลางสถานการณ์ที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยม กำลังขยับเบาๆ แต่สุดลิ่มทิ่มประตูในวันนี้) รัฐบาลควรควบคุม agenda ของตนเองให้หนักแน่นอย่างยิ่ง เรียกประชุมสภา(วิสามัญ) เพื่อ

(๑.)ลงมติ "ไม่รับความผูกพันตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" และ  

(๒.)รีบลงมติวาระ ๓ ร่างรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๒๙๑ ที่ค้างอยู่ในสภา อันเป็นการเดินหมากเดิมพันสุดท้ายในระบบครับ ส่วนจะโดนศาลรัฐธรรมนูญเล่นงานตามมาตรา ๖๘ รัฐสภาก็ต้อง "สู้ชน" โดยไม่ยอมรับความผูกพันเช่นที่จะต้องทำในข้อ (๑.)

แต่หากจะใช้วิธีของ อ.นิธิ คือ ให้ลงประชามติ แล้วยุบสภา ก็อาจพอไหว แต่ยัง "เสี่ยง" ที่จะโดน ป.ป.ช. ชี้มูลในระหว่างนายกรัฐมนตรีรักษาการ (และช่วง "รักษาการ" บรรดาข้าราชการประจำจะไม่ฟังคำสั่ง --- สมัยทักษิณ เคยเดินเกมตามระบบกฎหมายคือให้เลือกตั้งเร็ว ซึ่งโดนศาลรัฐธรรมนูญ เพ่งโทษต่างๆนานา จนกระทั่งอาจเป็นช่องทางให้ศาลรัฐธรรมนูญไปเล่นงานประเด็นเลือกตั้งโมฆะได้) แต่คำถามที่จะใช้ลงประชามติ ก็ต้องตั้งให้ดีครับ การตั้งคำถามในการลงประชามติ จะส่งผลว่า เป็นการตั้งคำถามที่ให้ใครได้ประโยชน์ กล่าวคือ



หากถามว่า "ท่านเห็นด้วยกับการร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับตามร่างรัฐธรรมนูญที่ค้างวาระ ๓ อยู่หรือไม่" ถ้าอย่างนี้รัฐบาลเพื่อไทยได้ประโยชน์


แต่ถ้าถามว่า "ท่านเห็นว่าควรยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อปฏิรูปการเมืองไทยหรือไม่" ถ้าถามอย่างนี้จะต้องมีเถียงกันอีกว่า ใครจะมาร่างรัฐธรรมนูญ (สภาพระราชทาน, สสร.เลือกตั้ง ฯลฯ).     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น