หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ส่งท้ายปี ข่าวย่ำอยู่กับที่

ส่งท้ายปี ข่าวย่ำอยู่กับที่




ส่งท้ายปี ข่าวย่ำอยู่กับที่ ตอนที่ 1: การคว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งที่ 3 ของพรรคประชาธิปัตย์
 
"พฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ นำมาสู่คำถามว่า การเมืองไทยถอยหลัง หรือพรรคประชาธิปัตย์ต่างหากที่ไม่เดินหน้า จึงทำให้เกิดการตัดสินใจที่วนลูป ประชาไทคุยกับ ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงการตัดสินใจครั้งนี้ของพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นเช่นไร พรรคประชาธิปัตย์จะตายจากการเมืองไทยไปหรือไม่ และอะไรทำให้พรรคประชาธิปัตย์เดินเกมสุดโต่งเช่นนี้"

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50767 


ส่งท้ายปี ข่าวย่ำอยู่กับที่ตอน 2: นักโทษการเมือง-112 ฉลองปีใหม่ในเรือนจำ..ปีที่เท่าไร
 
รวมคดีนักโทษการเมืองหลังสลายการชุมนุม พ.ค.53 ที่พลาดหวังจากพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และรายละเอียดคดีมาตรา 112 ในรอบปี 2556

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ปกติจะมีการจัดอันดับสุดยอดด้านต่างๆ โดยสื่อหลากสำนัก และประชาไทได้พยายามหาประเด็นมานำเสนอทุกๆ ปี อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ กองบรรณาธิการเห็นว่า ในรอบหลายปีที่ผ่านมา หลายสิ่งหลายอย่างในประเทศไทยมีเพียงประเด็นวนเวียนและย่ำเท้าอยู่กับที่ จึงได้ทำการคัดเลือกประเด็นย่ำอยู่กับที่-วนลูป ของชาติมานำเสนอทดแทนการจัดอันดับพิเศษ

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50825 


ส่งท้ายปี ข่าวย่ำอยู่กับที่ ตอน 3: การต่อสู้ภาคประชาชน กับข้อเสนอการปฏิรูป... เหล้าเก่าในขวดใหม่?!?

"ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ปฏิรูประบบรัฐสภา ปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น ปฏิรูประบบการเงินการคลังของประเทศ ปฏิรูปการจัดการและการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูประบบสุขภาพ ปฏิรูปอำนาจตุลาการและกระบวนการยุติธรรม ปฏิรูปกฎหมายต้านคอรัปชั่น ฯลฯ หลากหลายข้อเสนอการปฏิรูประรอกล่าสุดของภาคประชาสังคม ซึ่งไม่ใช่ไม่เคยเกิดขึ้น

ในสายตาคนนอก ประเด็นของภาคประชาสังคมดูเหมือนไม่ขยับขับเคลื่อนไปมากนัก จากข้อเรียกร้องหลายกรณีที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กับปัญหาเดิมๆ ที่แก้ไขไม่ได้หากไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างอย่างแท้จริง ตามที่เป็นข่าวรายวันรายปีให้เห็นจนชินตา เพียงแต่หนักหนาสาหัสมากน้อยแล้วแต่กรณี ดูเหมือนวิกฤติการณ์การเมืองจะกลายเป็นจังหวะให้ภาคประชาสังคมได้ฉกฉวยมา เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง แต่ขณะเดียวกันข้อเสนอ ‘ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง’ ก็กลายมาเป็นเงื่อนล็อกทางการเมือง"

(อ่านต่อ)
http://prachatai.com/journal/2013/12/50837

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น