การเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยเป็นอย่างไร
โดย ชำนาญ จันทร์เรือง
แม้ว่าเราจะมีการเลือกตั้งก็มิได้หมายความว่าเราจะเป็นประชาธิปไตยแล้ว
แต่หากประเทศจะเป็นประชาธิปไตยจำเป็นที่จะต้องมีการเลือกตั้ง
เพราะการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตยแบบมีตัว
แทน(representative
democracy)ซึ่งเป็นกระบวนการคัดสรรตัวบุคคลที่จะไปทำหน้าที่แทนบุคคลทั่ว
ประเทศในสถาบันนิติบัญญัติ และบริหารรวมถึงตุลาการด้วยในบางประเทศ เช่น
สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
และการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยจะต้องประกอบไปด้วยหลักการ ดังต่อไปนี้
1.เป็นการทั่วไป(in general)
บุคคล ที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจะต้องเป็นบุคคลที่อายุเข้าเกณฑ์ตามที่กฎหมาย กำหนดด้วยเหตุวุฒิภาวะ เช่น 16,18 หรือ 20 ปี เป็นต้น โดยต้องไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นคนชนชั้นใด ไพร่หรือผู้ดี ไม่ว่าจะจบการศึกษาในระดับใด เพศใด หรือมีฐานะทางการเงินหรือไม่ ทั้งนี้ เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นของคนทุกคน ไม่เพียงแต่เฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น
2.เป็นอิสระ(free voting)
ใน การเลือกตั้งนั้นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะเลือก ตัวแทนของตนโดยไม่ได้ถูกบังคับขู่เข็ญ กดดัน ชักจูงหรือได้รับอิทธิพลใดๆทั้งสิ้น เพื่อที่จะได้เจตจำนงที่แท้จริงของประชาชนแต่ละคน ประเภทที่เข้าแถวแล้วเขียนเบอร์ใส่ฝ่ามือนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นอิสระในการออก เสียงเลือกตั้งแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีการเขียนเบอร์ใส่ฝ่า มือแล้ว แต่คำสั่งจากที่บ้านให้เลือกฝั่งตรงกันข้ามก็ยังมีอิทธิพลเหนือกว่าอยู่นั่น เอง
1.เป็นการทั่วไป(in general)
บุคคล ที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจะต้องเป็นบุคคลที่อายุเข้าเกณฑ์ตามที่กฎหมาย กำหนดด้วยเหตุวุฒิภาวะ เช่น 16,18 หรือ 20 ปี เป็นต้น โดยต้องไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นคนชนชั้นใด ไพร่หรือผู้ดี ไม่ว่าจะจบการศึกษาในระดับใด เพศใด หรือมีฐานะทางการเงินหรือไม่ ทั้งนี้ เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นของคนทุกคน ไม่เพียงแต่เฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น
2.เป็นอิสระ(free voting)
ใน การเลือกตั้งนั้นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะเลือก ตัวแทนของตนโดยไม่ได้ถูกบังคับขู่เข็ญ กดดัน ชักจูงหรือได้รับอิทธิพลใดๆทั้งสิ้น เพื่อที่จะได้เจตจำนงที่แท้จริงของประชาชนแต่ละคน ประเภทที่เข้าแถวแล้วเขียนเบอร์ใส่ฝ่ามือนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นอิสระในการออก เสียงเลือกตั้งแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีการเขียนเบอร์ใส่ฝ่า มือแล้ว แต่คำสั่งจากที่บ้านให้เลือกฝั่งตรงกันข้ามก็ยังมีอิทธิพลเหนือกว่าอยู่นั่น เอง
3.มีระยะเวลา(periodic election)
การเลือก ตั้งจะต้องมีการกำหนดว่าการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะกำหนดระยะเวลาไว้เท่าใด โดยกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศเป็นการแน่นอน เช่น ส.ส. 4 ปี(อเมริกา 2 ปี,อังกฤษ 5 ปี) ส.ว. 6 ปี เป็นต้น
4.การลงคะแนนลับ (secret voting)
เพื่อ ให้ผู้ที่เลือกตั้งสามารถเลือกบุคคลที่ต้องการเข้าไปเป็นตัวแทนของตนได้ อย่างเป็นอิสระ ไม่ต้องเกรงใจใครหรือไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของใคร ในการเลือกตั้งทุกครั้งจึงกำหนดให้แต่ละคนสามารถเข้าไปในคูหาเลือกตั้งได้ เพียงครั้งละ 1 คน ยกเว้นบางประเทศที่กฎหมายอนุญาตไว้เป็นข้อยกเว้นเช่น คนพิการหรือคนแก่ เป็นต้น และไม่จำเป็นจะต้องบอกให้คนอื่นทราบว่าตัวเองเลือกใคร หลักการลงคะแนนลับนี้ถือว่าสำคัญมากเพราะแม้แต่ศาลเองก็ไม่สามารถจะสั่งให้ เราให้การว่าในการเลือกตั้งนั้นเราลงคะแนนให้แก่ผู้ใด
5.หนึ่งคนหนึ่งเสียง(one man one vote)
ใน บริษัทมหาชนผู้ที่ถือหุ้นมากกว่าอาจจะมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงมากกว่า แต่ในการเลือกตั้งที่เป็นใช้สิทธิทางการเมืองนั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนมีสิทธิในการออกเสียงได้เพียง 1 เสียงเท่ากัน ไม่ว่าจะมีฐานะอะไร หรือมีบทบาทสำคัญทางการเมืองอย่างไร ก็มีสิทธิได้เพียง 1 เสียงเท่านั้น ที่สำคัญก็คือประเด็นความมีคุณภาพหรือไม่มีคุณภาพของประชากรก็ไม่สามารถนำมา เป็นเหตุในการที่จะให้จำนวนเสียงของแต่ละคนต่างกัน
ในระยะหลังนี้มี ตลกร้ายว่าผู้ที่มีคุณภาพมากกว่าควรจะมีสิทธิมีเสียงมากกว่า ตัวอย่างเช่น ปริญญาเอก 10 เสียง ปริญญาโท 5 เสียง ปริญญาตรี 2 เสียงคนทั่วไป 1 เสียง ฯลฯ หรือ “วาทกรรมอัปลักษณ์(ugly speech)”ที่ว่าสามแสนเสียงในกรุงเทพเป็นเสียงที่มีคุณภาพย่อมดีกว่า 15 ล้านเสียงในต่างจังหวัดนั้นก็ได้รับการตอบโต้กลับว่าคนทั่วไปมีสองเท้าที่ ก้าวเข้าสู่คูหาเท่ากันและสองเท้านี้ก็พร้อมที่กระทืบคนที่มาขัดขวางการใช้ สิทธิเลือกตั้งอันเป็นสิทธิพื้นฐานนี้ได้เช่นกัน
6.บริสุทธิ์ยุติธรรม(fair election)
หลัก การนี้อาจถือได้ว่าเป็นหลักที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะในหลัก 5 ข้อข้างต้นอาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในบริบทของแต่ละประเทศ แต่ถึงแม้ว่าจะมีครบทั้ง 5 หลักข้างต้นแล้วหากขาดเสียซึ่งหลักแห่งความบริสุทธิ์ยุติธรรมแล้วการเลือก ตั้งนั้นก็จะเสียไป เพราะการเลือกตั้งที่ดีจะต้องมีการดูแลการเลือกตั้งไม่ให้มีการทุจริต ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสิทธิขายเสียง การติดสินบนเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้ง หรือวิธีการใดๆที่จะทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปอย่างบริสุทธิยุติธรรม
อย่า ลืมว่าในประเทศเผด็จการทั้งหลายแม้จะใช้ชื่อว่าประชาธิปไตยก็ตาม เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยเกาหลี(เกาหลีเหนือ) ฯลฯ ต่างก็มีการเลือกตั้งเช่นกันเพราะเหตุที่ว่าการเลือกตั้งเป็นหัวใจของ ประชาธิปไตยนั่นเอง แต่การเลือกตั้งในประเทศเผด็จการทั้งหลายนั้นเป็น “การบังคับเลือก” (จะเอาหรือไม่เอา) ที่เรียกได้ว่าเป็นการเลือกตั้งแต่เพียงรูปแบบเท่านั้น
ประเทศไทยเรา ก้าวมาไกลแล้วในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ถึงแม้ว่าในบางครั้งอาจมีการสะดุดหยุดอยู่ หรือถอยหลังไปในบางคราวที่เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร ความแตกต่างทางความคิดเป็นเรื่องธรรมดา เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย การเดินขบวน การคัดค้านผู้ที่ครองอำนาจรัฐเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย ตราบใดที่ไม่ใช้ความรุนแรงเข้าห้ำหั่นกัน และผู้ที่ละเมิดกฎหมายก็ต้องพร้อมรับผลแห่งการละเมิดนั้น
จะ ช้าหรือหรือเร็วก็ต้องมีการเลือกตั้งอย่างแน่นอนและการเลือกตั้งของไทยเรา ที่จะมีขึ้นไม่ว่าจะก่อนปฏิรูปหรือหลังปฏิรูปก็ตามจะต้องประกอบไปด้วยหลัก ที่ว่า เป็นการทั่วไป เป็นอิสระ มีระยะเวลา เป็นการลงคะแนนลับ หนึ่งคนหนึ่งเสียงและบริสุทธิยุติธรรม จึงจะเป็นการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น